โพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยของ "พ่อ"
ศูนย์เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง

ติดต่อเรา

มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ
เลขที่ ๑๑๔ ซอย บี ๑๒ หมู่บ้านสัมมากร สะพานสูง กรุงเทพฯ ๑๐๒๔๐
สำนักงาน ๐๒-๗๒๙๔๔๕๖ (แผนที่)
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง 038-198643 (แผนที่)


User login

โพธิวิชชาลัย

  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_handler_argument::init() should be compatible with views_handler::init(&$view, $options) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_argument.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter::options_validate() should be compatible with views_handler::options_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter::options_submit() should be compatible with views_handler::options_submit($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter_term_node_tid::value_validate() should be compatible with views_handler_filter::value_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/modules/taxonomy/views_handler_filter_term_node_tid.inc on line 0.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_style_default::options() should be compatible with views_object::options() in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_style_default.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_row::options_validate() should be compatible with views_plugin::options_validate(&$form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_row.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_row::options_submit() should be compatible with views_plugin::options_submit(&$form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_row.inc on line 0.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter_boolean_operator::value_validate() should be compatible with views_handler_filter::value_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter_boolean_operator.inc on line 0.

จังหวัดสระแก้ว ปราจีนบุรี  นครนายก ฉะเชิงเทรา และชลบุรี มีลักษณะทางภูมิศาสตร์เป็นเทือกเขา ที่ประกอบไปด้วยป่าไม้ที่มีความอุดมสมบูรณ์อย่างมาก เทือกเขาเหล่านี้เชื่อมต่อกันไปตามจังหวัดต่างๆ และด้วยความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าธรรมชาติ บริเวณดังกล่าวจึงกลายเป็นบริเวณลุ่มน้ำ (พื้นที่สมบูรณ์)เหมาะแก่การเพาะปลูกเพราะเป็นแหล่งสะสมของแร่ธาตุต่างๆ มากมาย นอกจากนั้นยังอุดมไปด้วยสัตว์น้ำอันเป็นแหล่งอาหารตามธรรมชาติของประชาชนโดยรอบ และยังเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญหลายสายที่หล่อเลี้ยงผู้คนทั้งภูมิภาคเช่น แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำมูล แม่น้ำบางปะกง รวมทั้งสาขาของแม่น้ำต่างๆ นอกจากนี้ความขัดแย้งในตัวเองด้านของการพัฒนานโยบายกับการจัดการ ทรัพยากร ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับบทบาทการพัฒนาจังหวัด ในระดับภูมิภาค ศักยภาพของชุมชนท้องถิ่นในการจัดการใน ระดับลุ่มน้ำ มีการรวมตัวกันเพื่อการจัดการในรูปแบบที่หลากหลายและมีความไม่ลงรอยกับการจัดการ ในเชิงขอบเขตการปกครอง ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการตามแผนและงบประมาณ ขาดความเชื่อมโยงที่ใกล้ชิด ล้วนเป็นมูลเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดวิกฤตของการบุกรุกทำลายทรัพยากร ดิน น้ำและป่าอย่างไร้ขีดจำกัด ทั้งที่เป็นพื้นที่อนุรักษ์ของคนทั้งประเทศ  โดยขณะนี้จังหวัดสระแก้วในฐานะพื้นป่าต้นน้ำบางปะกง ปราจีนและโตนเลสาบ จึงได้ประสบปัญหาสิ่งแวดล้อม ป่าต้นน้ำถูกทำลาย กลุ่มธุรกิจเอกชนรุกที่ดินเพื่อปลูกพืชเชิงเดี่ยว ดินเสื่อมโทรม ปัญหาความแห้งแล้ง และมีการใช้สารเคมีในพื้นที่ต้นน้ำในปริมาณสูงผลขอการบุกรุกทำลายป่าและปลูกพืชเชิงเดี่ยวเป็นจำนวนมหาศาลส่งผลกับสุขภาวะของประชากรที่ต้องเกี่ยวข้องกับลุ่มน้ำในภูมิภาคกว่า ๔๐ ล้านคน ดังนี้

๑. เมื่อป่าถูกทำลาย ไม่มีไม้คลุมดินจึงเกิดภัยพิบัติดินถล่มทำความเสียหายให้กับทรัพย์สินและชีวิตของประชาชน     

๒. นอกจากดินถล่มแล้ว เวลาที่ฝนตกหนักเมื่อไม่มีป่าซับน้ำก็เกิดวิกฤตน้ำท่วมทำความเสียหายอย่างใหญ่หลวงให้กับประชาชนในพื้นที่จังหวัดใกล้เคียง

๓. เมื่อเกิดภาวะน้ำท่วมย่อมเกิดโรคระบาดตามมา

๔. เมื่อประชาชนสูญเสียทรัพย์สินรวมทั้งบุคคลในครอบครัว ย่อมส่งผลกระทบด้านจิตใจและสุขภาพอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

๕. การสูญเสียผลผลิตทำให้ไม่มีรายได้เกิดภาวะหนี้สิน ซึ่งส่งผลต่อสุขภาวะในที่สุด นอกจากนี้การปลูกพืชเชิงเดี่ยวที่มีการใช้สารเคมีเป็นจำนวนมากส่งผลต่อสุขภาวะของประชากรคือ

        ๕.๑. สารเคมีส่งผลในเรื่องสุขภาพโดยตรงต่อเกษตรกรผู้ใช้สารเคมี รวมทั้งประชาชนที่อยู่ใกล้เคียง                           

        ๕.๒. สารเคมีตกค้างในพืชอาหาร เมื่อออกสู่ตลาด มีผลตรง ต่อผู้บริโภค                

        ๕.๓. สารเคมีไหลลงสู่แหล่งน้ำทำให้น้ำเน่าเสีย สัตว์น้ำอาศัยไม่ได้ หรือสะสมอยู่ในสัตว์ซึ่งเป็นวงจรอาหาร ของ ประชาชน เมื่อแหล่งน้ำไม่มีคุณภาพประชาชนก็ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำได้               

        ๕.๔ เมื่อแหล่งน้ำที่มีคุณภาพลดลง จึงเกิดปัญหาแย่งชิงแหล่งน้ำที่ยังมีความสมบูรณ์อยู่ที่นับวันจะยิ่งเหลือน้อยลงไป และบ่อยครั้งที่การแย่งชิงแหล่งน้ำนำไปสู่ความรุนแรง

        ๕.๕. การปลูกพืชเศรษฐกิจจำนวนหลายล้านไร่ ในหลายจังหวัดเป็นพืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยวต่างถิ่นที่มีผล มากกับน้ำใต้ดิน ทำให้เกิดความไม่สมดุลของแรงดันระหว่างน้ำใต้ดินกับน้ำทะเล ส่งผลให้น้ำทะเลค่อยๆ ดันรุกพื้นที่อยู่อาศัยที่มีอาณาเขตติดกับทะเล หรือเป็นที่ลุ่มเช่น กรุงเทพฯ สมุทรปราการ รวมทั้งพื้นที่การเกษตรต่างๆ มากขึ้นทุกวัน ส่งผลทำให้เกิดน้ำท่วม ไม่มีที่ทำกินและที่อยู่อาศัยส่งผลกับสุขภาวะของคนจำนวนมากในที่สุด

เมื่อปัญหาเหล่านี้ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ จึงเกิดการรวมตัวของคณะทำงานที่มาจากหลากหลายภาคส่วน ประกอบด้วย ๕ ภาคส่วน เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นดังนี้

• ภาครัฐ/ราชการ ได้แก่ จังหวัดสระแก้ว โดยผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว

• ภาควิชาการ ได้แก่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดสระแก้ว       

• ภาคประชาสังคม สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง มูลนิธิเศรษฐกิจพอเพียง ศูนย์ศึกษากสิกรรมธรรมชาติสระแก้ว (บ้านดิน) มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)                

• ภาคธุรกิจเอกชน ได้แก่ บริษัทน้ำตาลขอนแก่น จำกัด (มหาชน) 

• ภาคประชาชน ได้แก่ ประชาชนจาก ๙ อำเภอ จังหวัดสระแก้ว ที่เข้าอบรมโครงการศูนย์ปราชญ์ชาวบ้าน หลักสูตร “หลักกสิกรรมธรรมชาติสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง ” (ปี ๕๐ - ๕๑ ) คณะทำงานทุกภาคส่วนได้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระองค์ท่าน มาประยุกต์ไปสู่การปฏิบัติ ให้เกิดประโยชน์แท้แก่ประชาชน จึงเป็นที่มาของการจัดทำโครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อพลังงานทดแทนและป่าต้นน้ำจังหวัดสระแก้ว และลงนามความร่วมมือของ ๕  ภาคส่วนอย่างเป็นทางการ ณ ศูนย์ประชุมราชการจังหวัดสระแก้ว เมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๐ โดยมีข้าราชการ  ทหาร  พ่อค้าและประชาชนร่วมเป็นสักขีพยานไม่ต่ำกว่า  ๑,๐๐๐ คน โดยมีเป้าหมายเบื้องต้นดังต่อไปนี้

๑. ก่อตั้งสถาบันการศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒจังหวัดสระแก้ว) บนเนื้อที่ ๖๑ ไร่ เพื่อพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นและการผลิตบัณฑิตคืนถิ่น

images

 

 

 

 

 

 

 

๒. เตรียมความพร้อมของประชาชนและบุคลากรผู้เกี่ยวข้องโดยกลุ่มเป้าหมายระยะสั้น ๑ วัน  และโดยการอบรมตามหลักสูตรระยะเวลา ๕ วัน ๔ คืน รวมทั้งการประชุมสัมมนาผู้เกี่ยวข้องทั้ง ๕ ภาคส่วน เพื่อทำความเข้าใจ 

๓.จัดหาและสนับสนุนพื้นที่ปฏิบัติการต้นแบบในการปลูกพืชพลังงาน  พืชอาหาร ด้วยวิธีการทำเกษตรอินทรีย์  และปลูกป่า ๓ อย่างประโยชน์ ๔ อย่าง อย่างน้อยในสัดส่วน ๗๐:๓๐

๔.จัดทำระบบฐานข้อมูลชุมชน  และกระบวนการวิจัยท้องถิ่นในเรื่อง การจัดการระบบการผลิตพืชอาหาร  และการพัฒนาพลังงานทดแทนเพื่อลดการนำเข้า ในด้านยุทธปัจจัยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (๒๐ ไร่ ) images

 

 

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  http://www.pothi.org

ข้อมูลเพิ่มเติมจาก oknation