9 ฐานเรียนรู้
ความรู้ที่น่าสนใจ (Documents on web)
ติดต่อเรา
มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ
เลขที่ ๑๑๔ ซอย บี ๑๒ หมู่บ้านสัมมากร สะพานสูง กรุงเทพฯ ๑๐๒๔๐
สำนักงาน ๐๒-๗๒๙๔๔๕๖ (แผนที่)
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง 038-198643 (แผนที่)
User login
ลิงค์เครือข่าย
ประวัติความเป็นมา
อ.วิวัฒน์ ศัลยกำธร ผู้รับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ โดยรับราชการ ใกล้ชิดพระองค์ท่านในหน่วยงาน สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) สำนักนายกรัฐมนตรี กว่า ๑๖ ปี ได้สัมผัสกับชีวิตของเกษตรกรในทั่วภูมิภาคของประเทศ ได้พบกับปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่ดินทำกิน ความยากจน ความรู้ในเรื่องการเกษตร ตลอดจนปัญหาสุขภาพ การศึกษาและอื่นๆ ประกอบกับที่ได้ถวายการรับใช้ พระ องค์ท่าน ได้เห็นพระองค์ท่านทุ่มเทพระวรกาย กำลังพระราชทรัพย์ อีกทั้งเวลาส่วนใหญ่กับการพัฒนาค้นคว้าและทดลองในสิ่งต่างๆ
ภายใต้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ ทั้งการเลี้ยงสัตว์ การปลูกพืช การทำนาข้าว การปรับปรุงดินและน้ำ ศึกษาการปลูกป่า พืชสมุนไพร การปลูกแฝก โรงสี และเทคโนโลยีชีวภาพ การวิจัยเรื่องพลังงาน และโครงการอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งทรงลงมือปฏิบัติการด้วยพระองค์เอง พระองค์ท่านทรงเน้นให้เกษตรกรและประชาชนรู้จักพึ่งพาตนเอง จึงได้พระราชทานแนวคิดเรื่อง “ทฤษฎีใหม่ เศรษฐกิจพอเพียง” เพื่อเป็นหลักคิดให้กับทุกๆ คน
ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ อ.วิวัฒน์ จึงได้รวบรวมกลุ่มคนในหลายๆ อาชีพ ที่มีแนวคิด แนวอุดมการณ์ในการที่จะฟื้นฟูประเทศโดยการนำแนวคิดเรื่องทฤษฏีใหม่ เศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ ให้ใช้กับการทำการเกษตร และการดำรง ชีวิตให้อยู่รอดได้อย่างยั่งยืน รวมทั้งการรณรงค์ให้เกษตรกรเลิกใช้สารเคมี หยุดการพึ่งพาชาติตะวันตก หันกลับมาพึ่งพาตนเอง โดยใช้เทคโนโลยี และภูมิปัญญาชาวบ้านที่สืบทอดกันมา เพื่อเน้นการทำการเกษตรที่ยั่งยืนบนผืนแผ่นดินไทย จึงได้จัดตั้งเป็น “ชมรมกสิกรรมธรรมชาติไท” มาเป็นเวลากว่า ๔ ปี
จากแนวคิด “ทฤษฎีใหม่ เศรษฐกิจพอเพียง” นี้เองเป็นแรงบันดาลใจให้ชมรมฯ ออกรณรงค์เผยแพร่ และให้ความรู้ในเรื่องการทำกสิกรรมธรรมชาติ เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่าสามารถทำการเกษตร และอยู่อย่างพอเพียงได้จริง การดำเนินงานครั้งแรกเริ่มที่ อ.วิวัฒน์ ลงมือทำเองจากการผลิตเอ็นไซม์สมุนไพรธรรมชาติใช้กันเองในนาข้าว พืชชนิดอื่นๆ ทั้งพืชผักและไม้ผล รวมถึงการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำด้วย โดยทำการทดลองที่ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง ต.หนองบอนแดง อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี และนำประสบการณ์ที่ปฏิบัติจริงไปเผยแพร่ความรู้ให้แก่เกษตรกร ขณะเดียวกันก็ทำการศึกษาค้นคว้าและวิจัยเทคโนโลยีการผลิต เอ็นไซม์สมุนไพรธรรมชาติ สมุนไพรไล่แมลง
โดยทำการทดลองและเผยแพร่ในพื้นที่ของเกษตรกรกว่า ๕๐ จังหวัดทั่วทุกภาคของประเทศ โดยได้ทดลองกับพืชหลากหลายชนิด เช่น ข้าว ข้าวโพด พืชตระกูลแตง พืชตระกูลถั่ว หอมแดง หอมแบ่ง หน่อไม้ฝรั่ง มันสำปะหลัง ไม้ไผ่ตง อ้อย ยางพารา ทุเรียน มังคุด ขนุน ลองกอง มะม่วง มะไฟ ส้ม ลำไย ฯลฯ ส่วนในด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ได้แก่ การเลี้ยงกุ้งกุลาดำ-กุ้งก้ามกราม การเลี้ยงปลาดุก และปลานิล เป็นต้น
การดำเนินกิจกรรมของ ชมรมกสิกรรมธรรมชาติไท ตลอดระยะเวลากว่า ๔ ปีที่ผ่านมาได้ให้ความรู้ และช่วยเหลือเกษตรกรที่สนใจ และพร้อมให้การสนับสนุนการดำเนินงานของชมรมฯ ทวีมากขึ้นมากขึ้น จนกระทั่งสมาชิกในชมรมฯ เห็นพ้องต้องกันว่าเพื่อให้การดำเนินงานของชมรมฯ เป็นไปอย่างยั่งยืนคล่องตัว และชัดเจนมากยิ่งขึ้น จึงได้จดทะเบียนขึ้นเป็น มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ เมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๔ เป็นการนำโครงการต่างๆ ที่ชมรมได้ดำเนินการมาสานต่อและเผยแพร่ ขยายให้กว้างไกลยิ่งขึ้น +