โพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยของ "พ่อ"
ศูนย์เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง

ติดต่อเรา

มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ
เลขที่ ๑๑๔ ซอย บี ๑๒ หมู่บ้านสัมมากร สะพานสูง กรุงเทพฯ ๑๐๒๔๐
สำนักงาน ๐๒-๗๒๙๔๔๕๖ (แผนที่)
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง 038-198643 (แผนที่)


User login

ฅนเอาถ่าน

  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_handler_argument::init() should be compatible with views_handler::init(&$view, $options) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_argument.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter::options_validate() should be compatible with views_handler::options_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter::options_submit() should be compatible with views_handler::options_submit($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter_term_node_tid::value_validate() should be compatible with views_handler_filter::value_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/modules/taxonomy/views_handler_filter_term_node_tid.inc on line 0.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_style_default::options() should be compatible with views_object::options() in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_style_default.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_row::options_validate() should be compatible with views_plugin::options_validate(&$form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_row.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_row::options_submit() should be compatible with views_plugin::options_submit(&$form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_row.inc on line 0.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter_boolean_operator::value_validate() should be compatible with views_handler_filter::value_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter_boolean_operator.inc on line 0.

“...แต่ป่าไม้ที่จะปลูกนั้น สมควรที่จะปลูกแบบป่าสำหรับ
ใช้ไม้หนึ่ง ป่าสำหรับใช้ผลหนึ่ง ป่าสำหรับใช้เป็นฟืน
อย่างหนึ่ง อันนี้แยกออกไปเป็นกว้างๆ ใหญ่ๆ การที่จะ
ปลูกต้นไม้สำหรับได้ประโยชน์ดังนี้ ในคำวิเคราะห์ของ
กรมป่าไม้ รู้สึกว่าจะไม่ใช่ป่าไม้ เป็นสวนหรือจะเป็นสวน
มากกว่าเป็นป่าไม้ แต่ว่าในความหมายของการช่วยเพื่อ
ต้นน้ำลำธารนั้น ป่าไม้เช่นนี้จะเป็นสวนผลไม้ก็ตาม หรือ
เป็นสวนไม้ฟืนก็ตาม นั่นแหละเป็นป่าไม้ที่ถูกต้อง เพราะ
ทำหน้าที่เป็นป่าคือเป็นต้นไม้ และทำหน้าที่เป็นทรัพยากร
ในด้านสำหรับเป็นผลที่มาเป็นประโยชน์แก่ประชาชนได้...”


พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
เกี่ยวกับการพัฒนาป่าไม้ เมื่อปีพ.ศ. ๒๕๒๓

ฅนเอาถ่าน

ในอดีต ถ่านเป็นที่รู้จักกันในทุกครอบครัว สามารถผลิตเองได้ เป็นการพึ่งตนเอง แต่เตาถ่านในอดีตเป็นเตาหลุมผีหรือเตาดิน จึงต้องใช้ไม้ใหญ่ๆ และเลือกไม้มาทำการเผาถ่านจึงเป็นส่วนหนึ่งของการทำลายป่า ใช้ทรัพยากรธรรมชาติสิ้นเปลือง ไม้จึงหมดไปอย่างหน้าใจหาย ในปัจจุบัน ได้มีการพัฒนาเตาเผาถ่านในหลายรูปแบบ แถมยังใช้ไม้กิ่งเล็กๆ ไม้แห้ง เศษไม้ ผลไม้ ดอกไม้ และยังสามารถใช้งานได้ในหลายรูปแบบ ได้ของแถมที่มากด้วยคุณค่าอีกด้วย

                เมื่อพูดถึงถ่านก็ต้องนึกถึงไม้ที่จะนำมาเผา ตรงกับแนวพระราชดำรัสของพระองค์ท่านในเรื่องของ ป่า ๓ อย่างประโยชน์ ๔ อย่าง บ้านเราเจริญเติบโตมาด้วยภาคเกษตร การทำการเกษตรก็ต้องใช้น้ำ ถ้าหมดป่าเราจะหมดน้ำ ต้นกำเนิดของน้ำ คือ ป่า ก่อนที่เราจะเผาถ่าน เราจะต้องปลูกต้นไม้ให้เป็นต้นทุนก่อน เมื่อต้นไม้โตจะมีแขนงงอกออกมาที่ข้างลำต้น เราก็ทำการตัดแต่งกิ่งนำมาเป็นดอกเบี้ย ต้นทุนเราก็ยังอยู่ เราจะใช้โดยไม่รู้จักหมด เป็นการสะสมไปในตัว  เตาเผาถ่านของเราต้นทุนต่ำสามารถให้ผลผลิตสูง ทำจากถัง  ๒๐๐ ลิตรที่เป็นถังเหล็ก หรือทำด้วยถัง ๒๐ -๓๐ ลิตรก็ได้ ทำครั้งเดียวจะอยู่ได้ถึง ๒ -๓ ปี เป็นการประหยัดเวลาและประหยัดไม้ ในการเผาถ่านแต่ละครั้งจะได้ของแถมที่มากด้วยคุณค่า เป็นการสลายตัวของสารอาหารที่อยู่ในเนื้อไม้ สีน้ำตาลอมแดงหรือเรียกว่า วูดเวนการ์ หรือ น้ำส้มควันไม้ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทั้งในด้านการเกษตร ในครัวเรือน ปศุสัตว์ อุตสาหกรรม

 

วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำเตาเผาถ่าน

  • ถังน้ำมัน ๒๐๐ ลิตร (ถังเหล็ก) ๑ –๒ ใบ
  • อิฐบล็อก ๘ –๑๐ ก้อน
  • ท่อใยหิน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๔ นิ้ว ยาว ๑ เมตร
  • ดิน และทราย
  • สังกะสีหรือกระเบื้อง แผ่นเรียบ
  • ไม้ยาวประมาณ ๔๐ -  ๗๕ เซนติเมตร ๑๒ –๑๕ ท่อน
  • ไม้หมอน ตัดไม้ยาว ๒๐ เซนติเมตร หรือประมาณ ๒ คืบ ๓-๕ ท่อน เพื่อเป็นช่องระบายอากาศ

 

ขั้นตอนการติดตั้งเตาเผาถ่าน

  1. นำถัง ๒๐๐ ลิตร ตัดฝาด้านบนออกให้สามารถเปิดปิดและยึดกับตัวถังได้ เจาะรูที่ฝาถังเป็นรูปสี่เหลี่ยม ขนาด ๒๐x๒๐ ซม. ตรงก้นถังเจาะรูวงกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง ๔ นิ้ว
  2. ปูพื้นด้วยทรายหรือดินให้มีขนาดความกว้างยาวเท่าขนาดถัง แล้วนำถังมาวางลงไป
  3. ประกอบข้องอ ๙๐ องศา กับใยหินที่ทำหน้าที่เป็นปล่องควัน พร้อมเชื่อมรอยต่อโดยใช้ดินเหนียวผสมขี้เถ้าแกลบ แล้วใช้กรวด หิน หรืออิฐหักรองรับน้ำหนักของทอใยหิน
  4. หุ้มถังด้วยดินเหนียวหนา ๓๐ ซม. หรือใช้ไม้ตีกรอบล้อมถังและถมดินลงไปให้ท่วมถัง เพื่อเป็นฉนวนป้องกันความร้อน จากนั้นใส่ตะแกรงเหล็กในถังก่อนจัดเรียงไม้พื้นที่ไม่สดหรือแห้งเกินไป โดยควรใช้ฟืนที่ตัดเก็บไว้ในที่ร่ม ๑-๒ อาทิตย์ เรียงซ้อนกันจนเต็มเตา โดยเรียงฟืนขนาดเล็กไว้ข้างล่างฟืนใหญ่ไว้ข้างบน
  5. ทำการปิดฝาถัง พร้อมใช้ดินเหนียวผสมแกลบดำอุดรอยแยกถัง เพื่อป้องกันไม่ให้อากาศเข้าตามรอยแยก จากนั้นนำอิฐบล็อกมาวางให้ตรงช่องหน้าเตาที่เจาะไว้

ที่ตั้งของเตาถ่าน ควรทำหลังคามุงกันแดดกันฝน เพื่อความคงทนและสะดวกในการทำงานหน้าเตา ส่วนตำแหน่งที่ใช้จุดไฟหน้าเตา ควรขุดให้ลาดเอียงเข้าหาปากเตาเล็กน้อย และควรให้อยู่ต่ำกว่าพื้นเตาเพื่อให้ความร้อนถูกดูดเข้าถังได้ง่าย

 

การเผาถ่าน

  1. การจุดไฟหน้าเตา

ควรจุดให้ห่างปากเตาประมาณ ๑ ฟุต ปล่อยให้อากาศร้อนเท่านั้นที่ไหลเข้าไปในเตา ขั้นตอนนี้เป็นการอบไม้ฟืนให้แห้ง ควรให้ความร้อนจากหน้าเตาแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่เร่งรัดโหมไฟจนเกินไป เพื่อให้ไม้ในเตาถูกอบแห้งอย่างทั่วถึงสม่ำเสมอ ซึ่งใช้เวลาประมาณ ๒ ชั่วโมง โดยสังเกตควันสีขาวของความชื้นจากเนื้อไม้ที่ปากท่อใยหิน

  1. การควบคุมไฟเตา

เมื่อไม้ฟืนภายในเตาเริ่มติดไฟลุกไหม้ซึ่งเป็นขั้นตอนที่จะกลายเป็นถ่าน ให้หยุดเติมไฟจากภายนอก และลดช่องอากาศที่หน้าเตาให้เล็กลงประมาณฝาขวด ปล่อยให้เตาเผาไหม้ต่อไปด้วยความร้อนจากภายในเตาเท่านั้น โดยสังเกตดูควันที่ปากท่อซึ่งจะเปลี่ยนเป็นสีขาวอมน้ำตาลฉุนแสบตา ให้ดักเก็บน้ำส้มควันไม้ในช่วงนี้ จะได้น้ำส้มควันไม้ที่มีคุณภาพสูง อุณหภูมิที่ปล่องควันจะอยู่ที่ ๘๒ –๑๒๐ องศา ขั้นตอนนี้เป็นช่วงที่จะทำให้ถ่านปลอดภัยจากสารทาร์ หรือน้ำมันดิน ซึ่งเป็นพิษต่อพืช ดิน รวมทั้งเป็นสารก่อมะเร็ง จึงเหมาะสมในการดักเก็บน้ำส้มควันไม้

  1. การปิดเตา

ในช่วงถ่านสุกซึ่งเป็นช่วงที่ไม้กลายเป็นถ่านอย่างสมบูรณ์สังเกตว่าควันจะเปลี่ยนเป็นสีขาวอมน้ำเงิน ในช่วงควันสีน้ำเงินใส ให้ขยายหน้าเตาครึ่งหนึ่งปล่อยไว้ประมาณ ๓๐ –๔๕ นาที จึงปิดหน้าเตา ทิ้งไว้อีกประมาณ ๑๕ –๒๐ นาที จึงปิดหน้าเตาด้วยดินเหนียวรวมทั้งรอยรั่วอื่นๆ อย่าให้มีควันเล็ดลอดออกมาได้โดยเด็ดขาด และใช้ผ้าห่อทรายชุบน้ำปิดลงไปที่ปากปล่อง จากนั้นทิ้งเตาไว้ ๑ คืน  ให้เย็นลงจนสามารถเปิดเตา ห้ามใช้น้ำรดเตา ถ่านออกมาได้ในเช้าของวันถัดไป ถ่านคุณภาพจะมีลักษณะเป็นมันวาว แก่นไม้มักมีรอยแตกเป็นรูปดอกไม้ หากใช้นิ้วสัมผัสจะมีฝุ่นถ่านสีดำติดมือมาน้อยมาก เมื่อนำไปใช้ให้ความร้อนสูง

 

การเก็บน้ำส้มควันไม้

  1. การดักเก็บน้ำส้มควันไม้ ให้สังเกตสีของควันเป็นสีเหลืองน้ำตาลปนเทา โดยการนำกระเบื้องเคลือบสีขาวมาอังที่ปล่องไฟดูจะเป็นสีน้ำตาล จากนั้นนำท่อไม้ไผ่ที่เตรียมไว้มาวางต่อกับปล่องควันโดยตั้งท่อไม้ไผ่ให้เอียงชันขึ้นไปประมาณ ๔๕ องศา ห่างขึ้นไป ๑ ข้อไม้ไผ่ ใช้เลื่อยตัดเปิดท่อไม้ไผ่ให้เป็นรู เพื่อให้น้ำส้มควันไม้หยดลงมาแล้วหาขวดมารองรับน้ำ
  2. ที่ระยะห่างขึ้นไปอีก ๑ ข้อไม้ไผ่หรือราว ๔๐ ซม. ให้ติดตั้งระบบควบแน่นด้วยการใช้ผ้าชุบน้ำมาพันรอบท่อ และใช้ขวดพลาสติกบรรจุน้ำเจาะรูที่ฝาขวด ให้น้ำหยดตรงบริเวณที่พันผ้า เพื่อให้ท่อเย็นตลอดเวลา
  3. หมั่นตรวจควันที่ปล่องเป็นระยะ เมื่อสีน้ำส้มควันไม้เข้ม และมีความหนืดมาก จึงหยุดเก็บน้ำส้มควันไม้
  4. ตารางการเก็บน้ำส้มควันไม้หากเริ่ม

๐๘.๐๐ น.             เริ่มจุดไฟ

๑๐.๐๐ น.              ติดไฟหน้าเตา

๑๗.๐๐ น.             เริ่มเก็บน้ำส้มควันไม้

๑๘.๓๐ น.            ปิดเตา

ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของไม้ ความชื้นและความชำนาญ

 

คุณภาพของเนื้อไม้ที่จำนำมาเผา

  1. ไม้แห้ง สารอาหารหมดจากเนื้อไม้แล้ว ไม่ต้องเก็บน้ำส้มควันไม้ สามารถเผาเป็นถ่านได้
  2. ไม้พอหมาด ไม้ที่ตัดไว้ประมาณ ๓ –๔ สัปดาห์ คุณภาพของน้ำส้มควันไม้จะดี
  3. ไม้สด ต้องจุดไฟหน้าเตานานเนื่องจากความชื้นสูง สิ้นเปลืองฟืนที่ใช้จุดหน้าเตา คุณภาพของน้ำส้มควันไม้ที่ได้พอใช้

 

อัตราส่วนและการใช้ประโยชน์

  • ความเข้มข้นร้อยละ ๑๐๐ แผลสด แผลถูกน้ำร้อน ไฟลวก น้ำกัดเท้า และเชื้อราที่ผิวหนัง
  • ผสมน้ำ ๒๐ เท่า ใช้รดทำลายมดปลวก
  • ผสมน้ำ ๕๐ เท่า พ่นลงดินเพื่อฆ่าเชื้อโรคที่ทำลายพืช หากผสมเข้มข้นมากกว่านี้อาจทำให้พืชตายได้
  • ผสมน้ำ ๑๐๐ เท่า ใช้ดับกลิ่น ห้องน้ำ ขยะ กรงสัตว์ ใช้ในการเกษตร ราดโคนต้นไม้รักษาโรคราและโรคเน่า รวมทั้งป้องกัน แมลงไม่ให้วางไข่ ประสิทธิภาพของน้ำส้มควันไม้ที่ความเข้มข้นจะมีฤทธิ์พอกับการอบฆ่าเชื้อด้วยการรมควันโดยผสมรดดินก่อนการเพาะปลูก ๑๐ วัน
  • ผสมน้ำ ๒๐๐ เท่า  พ่นที่ใบพืชและพื้นดินรอบต้นไม้ ๗ –๑๕ วัน ใช้ขับไล่แมลง ป้องกันและกำจัดเชื้อรา กระตุ้นความต้านทานและการเจริญเติบโตของพืช
  • ผสมน้ำ ๕๐๐ เท่า ฉีดพ่นผลอ่อนหลังติดผลแล้ว ๑๕ วัน ช่วยขยายให้ผลโตและฉีดพ่นอีกครั้งก่อนเก็บเกี่ยว  ๒ วัน ช่วยเพิ่มน้ำตาลในผลไม้

 

ถ่านไม้ไผ่

                ถ่านมีประโยชน์ต่อภาคการเกษตรและภาคอุตสาหกรรม ในภาคการเกษตรเราใช้ผสมเป็นอาหารสัตว์ ส่วนในภาคอุตสาหกรรม ใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องสำอาง สบู่ และยาสระผม

                ถ่านนอกจากจะช่วยในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางด้านพลังงานได้อย่างมากมายมหาศาลแล้ว ถ่านก็ยังมีผลดีต่อโลกทั้งทางตรงและทางอ้อมอีกมากมายเหลือจะคณานับ ไม่ใช่แต่เฉพาะด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเพียงอย่างเดียว ยังช่วยฟื้นฟูเยียวยารักษาสภาพที่เสียไปของอากาศบนผิวโลกอีกด้วย

ถ่านมีคุณสมบัติพิเศษคือ รูพรุนมากมายโดยเฉพาะถ่านไม้ไผ่จะมีรูพรุนมากกว่าถ่านทั่วไปหลายเท่าตัว รูพรุนที่มีมากมายจะทำหน้าที่ดูดซับกักเก็บอาหาร เมื่อฝังหรือผสมถ่านลงไปในดินจะช่วยเก็บรักษาอาหารและแร่ธาตุที่พืชต้องการ และช่วยให้ออกซิเจนถ่ายเทได้ดียิ่งขึ้น ไปกว่านั้นถ่านยังมีแร่ธาตุมากมายหลายชนิดที่มีประโยชน์ต่อพืชและเพิ่มประสิทธิภาพของปุ๋ยโดยเฉพาะปุ๋ยอินทรีย์

 

ประโยชน์ของถ่านไม้ไผ่

  1. สบู่ ระงับกลิ่นตัว กลิ่นเหล้าเบียร์
  2. ดูดสารพิษในข้าว
  3. ล้างผัก โดยการบดถ่านให้เป็นผงผสมกับน้ำ
  4. ล้างสารพิษในร่างกาย

ถ้าถ่านที่ได้จากการเผามีคุณภาพดีจะมีค่ากระแสไฟฟ้าสูง ซึ่งถ่านดังกล่าวจะนำไปทำยาสีฟัน โดยนำไปบดผสมกับเกลือ การบูร พิมเสนและ สามารถนำมาทำเป็นสบู่ถ่านและหมอนถ่านได้

 

................................................................................................... 

แหล่งที่มา: 
มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ