โพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยของ "พ่อ"
ศูนย์เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง

ติดต่อเรา

มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ
เลขที่ ๑๑๔ ซอย บี ๑๒ หมู่บ้านสัมมากร สะพานสูง กรุงเทพฯ ๑๐๒๔๐
สำนักงาน ๐๒-๗๒๙๔๔๕๖ (แผนที่)
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง 038-198643 (แผนที่)


User login

๑๕-๑๗ มีนาคม'๕๖ งานมหกรรมคืนชีวิตให้แผ่นดิน ครั้งที่ ๗

  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_handler_argument::init() should be compatible with views_handler::init(&$view, $options) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_argument.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter::options_validate() should be compatible with views_handler::options_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter::options_submit() should be compatible with views_handler::options_submit($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter_term_node_tid::value_validate() should be compatible with views_handler_filter::value_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/modules/taxonomy/views_handler_filter_term_node_tid.inc on line 0.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_style_default::options() should be compatible with views_object::options() in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_style_default.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_row::options_validate() should be compatible with views_plugin::options_validate(&$form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_row.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_row::options_submit() should be compatible with views_plugin::options_submit(&$form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_row.inc on line 0.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter_boolean_operator::value_validate() should be compatible with views_handler_filter::value_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter_boolean_operator.inc on line 0.

 

ขอเชิญเที่ยวงานมหกรรมคืนชีวิตให้แผ่นดิน ครั้งที่ ๗ ตอน "อึ๊ดแนวกิ๊น สิ้นแนวแถ้" อาหารหมดโลก มนุษย์สูญพันธุ์
ในวันที่ ๑๕-๑๗ มีนาคม ๒๕๕๖
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี
สอบถามเพื่มเติม โทร.038-263-078 
และทางเฟสบุ๊ค https://www.facebook.com/agrinature.or.th

งานมหกรรมคืนชีวิตให้แผ่นดิน ครั้งที่ ๗

ตอน “ อึดแนวกิน สิ้นแนวแท้”   อาหารหมดโลก มนุษย์สูญพันธุ์ 

ระหว่างวันที่ ๑๕ –๑๗ มีนาคม ๒๕๕๖

ณ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง ต.หนองบอนแดง อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี

 

หลักการและเหตุผล

                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                              

เป็นเวลากว่าครึ่งศตวรรษ นับตั้งแต่ประเทศไทย เริ่มมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่๑ พร้อมกับการเปิดรับเทคโนโลยีและการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร แบบตะวันตก หรือ ที่เรียกกันว่า “การปฏิวัติเขียว  ทิศทางการพัฒนาประเทศ ก็เปลี่ยนแปลงไป ไม่เพียงเฉพาะด้านกสิกรรมซึ่งถือเป็นรากฐานสำคัญที่สุดของประเทศ หากแต่ยังเกี่ยวข้องเชื่อมโยงไปถึงบริบททางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การศึกษา และการเมืองทั้งภายในและการเมืองระหว่างประเทศ

๕๐ปี  แห่งการพัฒนาเศรษฐกิจ ที่ประเทศไทยลอกแบบมาจากประเทศที่ถูกยกย่องว่าพัฒนาแล้ว และจัดลำดับชั้นตัวเองให้เป็นเพียงประเทศกำลังพัฒนา ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเป็นเชิงประจักษ์ คือภูมิปัญญา ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่สะสมมายาวนานนับพันๆ ปี รวมถึงรากเหง้าจิตวิญญาณความเป็นไทย ซึ่งสะท้อนอยู่ในวิถีชีวิต ในการทำมาหากิน ในวัฒนธรรมแห่งการเพาะปลูก ซึ่งเป็นอัตลักษณ์แบบไทยแท้ ถูกทำลายลงจนเกือบหมดสิ้น ด้วยลัทธิทุนนิยมอุตสาหกรรม ที่เข้ามาครอบงำแนวคิดของชนชั้นนำของไทย พร้อมกับคำมั่นสัญญาถึงความเจริญมั่งคั่ง และเสรีภาพโดยถ้วนหน้า ก่อนจะขยายผลเป็นนโยบายพัฒนาชาติ ที่ก่อร่างสร้างวัฒนธรรมขึ้นมาใหม่ ครอบงำการดำเนินชีวิตและสังคมไทย โดยใช้”เงินตรา”เป็นดัชนีชี้วัดความสุข ข้าว ปลา อาหาร ซึ่งหมายรวมถึง วัฒนธรรมและวิถีชีวิต อาหารกาย อาหารใจ อาหารวิญญาณ ถูกตีค่าให้เหลือเพียงมิติเดียว คือ เงินตรา เมื่อข้าวปลา อาหาร น้ำ เมล็ดพันธ์และความหลากหลายทางชีวภาพ มีไว้เพื่อขาย โลกถูกมองเป็นเพียงสิ่งที่ครอบครองได้ ความเลวร้าย และความคิดวิปลาสจึงเกิดขึ้นเป็นระลอก

เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมเริ่มต้นขึ้นในปี  ๑๙๙๐  การตัดต่อพันธุกรรมและการแทรกแซงธรรมชาติ นำพามาสู่การผลิตอาหารวิปริต ฟาร์มเกษตรกรรมขนาดใหญ่เจริญรุ่งเรือง  ขณะที่เกษตรกรรายย่อยกำลังล่มสลายไปเรื่อย ๆ   

และ ในทศวรรษนี้ ในวันที่วิกฤติทุกด้านกำลังถล่มโลก และวิกฤติอาหารกำลังเดินทางมาถึง ทุกประเทศต่างก็พยายามแสวงหาความมั่นคงทางอาหาร แผนการล่าอาณานิคมทางการเกษตรเกิดขึ้น การเข้าไปกว้านซื้อพื้นที่เกษตรหรือทำสัญญาร่วมผลิตกับประเทศยากจน ที่มีศักยภาพในการผลิตของทุนข้ามชาติจึงเป็นไปอย่างเอิกเกริก แผ่นดินอู่ข้าวอู่น้ำของประเทศสยาม ซึ่งดินดำ น้ำชุ่ม มีผลผลิตข้าว ส่งออกเป็นอันดับหนึ่งของโลก  ก็ไม่อาจหลุดรอดไปจากสายตาของนักล่าอาณานิคมยุคใหม่ นายทุนใหญ่ เดินทางข้ามชาติเข้ามากว้านซื้อผืนนา และแผ่นดินของประเทศสยาม โดยใช้หนอนบ่อนไส้ในประเทศเป็นตัวแทนซื้อแผ่นดินตนเอง การผูกขาดเมล็ดพันธ์ของบรรษัทใหญ่ ท่ามกลางข่าวการเปิดการค้าเสรีของประเทศสมาชิกอาเซียนและเอเชียทั้งทวีป จึงน่าจะเป็นสิ่งที่ปลุกคนไทยทั้งชาติ ให้ตื่นขึ้นมาตั้งคำถามว่า ทำไมอาชีพที่ต้องทนเอาหลังสู้ฟ้า หน้าสู้ดิน จึงกลายเป็นสิ่งที่โลกทั้งโลกต้องการ       

ท่ามกลางวิกฤติกลียุคที่กำลังเกิดขึ้นในโลกและในประเทศ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และ ศาสตร์ต่างๆ ในการพึ่งพาตนเอง ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้อาณาประชาราษฎร์ของพระองค์ และให้กับโลกใบนี้ จึงเป็นเหมือนแสงสว่าง ที่จะนำทางสังคมให้เดินไปสู่ทางออก ที่จะพาผู้คนให้หลุดพ้นจากวิกฤติ การนำความรู้หรือศาสตร์ด้านต่างๆ  เกี่ยวกับการกสิกรรมและการพึ่งพาตนเอง ที่พระองค์พระราชทานไว้  มาบวกรวมกับภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ บนวิถีแห่งความเป็นไทย มาพลิกฟื้นแผ่นดินให้กลับมาสมบูรณ์มั่งคั่ง ด้วยพืชพรรณ ธัญญาหาร ซึ่งเป็นฐานอันมั่นคง และนำความสุขอันเป็นของจริงแท้ ที่เกิดจากการรู้จักตัวตนภายใน รู้จักพึ่งตนเอง บนฐานวัฒนธรรมและวิถีของความเป็นชนชาติไทย คืนมาอีกครั้งหนึ่ง            

                    

วัตถุประสงค์

๑.     เผยแพร่ขยายผลแนวคิด องค์ความรู้ ที่เป็นศาสตร์วิชาที่ในหลวงพระราชทานไว้ให้แก่คนไทย   เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ได้เป็นเพียงแค่ปรัชญาหรือทฤษฎีในแผ่นกระดาษ แต่เป็นองค์ความรู้ ที่ไม่ได้แยกส่วนออกไปจากวิถีชีวิต สามารถนำมาแปลงเป็นการปฏิบัติ ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม และสามารถแก้ปัญหาได้จริง

๒.     สร้างกระบวนการรับรู้ต่อสังคมในเรื่อง เงินทอง ของมายา ข้าวปลาสิของจริง การผลิตอาหารปลอดภัย อาหารท้องถิ่น ภูมิปัญญาการกินและการเพาะปลูก

๓.     เผยแพร่ เทคนิค หลักสูตรการพึ่งพาตัวเอง พึ่งพิงกันเอง เรื่องภูมิปัญญาด้านอาหาร ตามหลักกสิกรรมธรรมชาติบนฐานของความพอเพียง

๔.     เพื่อช่วยเปิด เปลี่ยน และ ปรับ กระบวนทัศน์ เกษตรกรแบบสารเคมีเชิงเดี่ยว

๕.     เพื่อเพิ่มองค์ความรู้และข้อมูลให้กับเกษตรกรและคนทั่วไป เพื่อสามารถนำไปปฏิบัติ ประยุกต์ใช้จริงกับวิถีชีวิต และวิธีการทำมาหากินในแผ่นดินของตนเอง

๖.     เพื่อเปิด และเปลี่ยนกระบวนทัศน์ ให้สังคมและผู้ชมได้เห็นว่า ความรู้นั้นสามารถเรียนรู้ได้ จากประสบการณ์ ผู้คน การปฏิบัติจริงจากชุมชนและสภาพแวดล้อม โดยไม่จำกัดวงอยู่แต่ในสถาบันการศึกษาระดับสูงเท่านั้น และการเรียนรู้ที่เป็น การรู้ด้วยตนเป็นความรู้ที่ทรงคุณค่าและเปี่ยมไปด้วยเนื้อหาสาระแห่งความเป็นจริง ทั้งยังสามารถแก้ปัญหาที่ชุมชน สังคมกำลังเผชิญหน้าอยู่ได้อย่างถูกจุดและเป็นจริงอีกด้วย

๗.     ให้ผู้คนหันมาศรัทธา ในศักยภาพภูมิปัญญาของคนไทยด้วยกันเอง ภาคภูมิใจ และกล้าพอที่จะลุกขึ้นพึ่งพาตนเอง ด้วยการเดินไปบนหนทางสายกลางแห่งปัญญา ตามหนทางแห่งความพอเพียง ซึ่งเป็นมรดกล้ำค่า ที่พ่อแห่งแผ่นดินได้พระราชทาน ไว้ให้แก่ลูกหลานไทย และคนทั้งโลก      

เป้าหมาย

          เป้าหมายเชิงปริมาณ

          มีผู้เข้าร่วมงานจากภาครัฐ ภาควิชาการสถานศึกษา ภาคประชาชน ภาคธุรกิจเอกชน ภาคประชาสังคมและสื่อ จำนวน ๑๕,๐๐๐ คน

            เป้าหมายเชิงคุณภาพ

            ๑. เกิดการตระหนักถึงความจำเป็นในการปรับเปลี่ยนวิธีคิด วิถีการดำเนินชีวิต เพื่อหยุดยั้งวิกฤตอันเกิดจากการกระทำของมนุษย์ และการเปลี่ยนวิถีชีวิตสู่แนวทางเศรษฐกิจพอเพียงโดยการพึ่งตนเองในทุกด้านอันเป็นทางรอดจากทุกวิกฤตการณ์

๒. เกิดการระดมสรรพกำลังทั้งภาคภาครัฐ ภาควิชาการสถานศึกษา ภาคประชาชน ภาคธุรกิจเอกชน ภาคประชาสังคมและสื่อ ในการรองรับและแก้ไขปัญหาสภาพวิกฤติ ขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นรูปธรรมที่เป็นจริงในวงกว้าง

            ๓. ภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนทุกระดับร่วมกันสรุปผลยุทธศาสตร์และยุทธวิธีเพื่อประกาศเป็นปฏิญญาร่วมกันปฏิบัติตนตาม “ศาสตร์พระราชา” เพื่อเป็นทางรอดจากวิกฤต

 

ระยะเวลา

ระหว่างวันที่ ๑๕-๑๗ มีนาคม ๒๕๕๖

 

สถานที่จัดงาน

            ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง ตำบลหนองบอนแดง อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี

โทร./แฟกซ์ ๐๓๘ ๒๖๓๐๗๘

 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ภาคีทุกภาคส่วนเกิดการตระหนัก ได้ร่วมกันกำหนดยุทธศาสตร์และยุทธวิธีเพื่อดำเนินการตามปฏิญญาที่ประกาศร่วมกันในการปฏิบัติตนตามศาสตร์พระราชาเพื่อเป็นทางรอดจากวิกฤตด้านอาหาร

 ๒. ภาคีทุกภาคส่วนทั้งภาคราชการ ภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาคประชาสังคมและสื่อ และภาคประชาชนได้ร่วมกันสร้างตัวอย่างแห่งความสำเร็จที่แตกต่างกันในแต่ละภาคส่วน เพื่อแก้ไขปัญหาสภาพวิกฤติ ขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นรูปธรรมที่เป็นจริงในวงกว้าง

 

 

 

ผู้รับผิดชอบโครงการ

มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ และเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ (คกช.)

 

เครือข่ายองค์กรร่วมจัด

๑.     มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ และเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ (คกช.)

๒.     สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง มูลนิธิเศรษฐกิจพอเพียง

๓.     สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง  มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

๔.     สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

๕.     เครือข่ายกสิกรรมไร้สารพิษแห่งประเทศไทย

๖.     เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก

๗.     เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านและพหุภาคีภาคอีสาน

๘.     เครือข่ายเกษตรสมดุลย์-ไร่ทักสม

๙.     เครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.)  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

๑๐.เครือข่ายธนาคารต้นไม้

๑๑.มูลนิธิรักษ์ดิน รักษ์น้ำ (Earth Safe Foundation)

๑๒.สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

๑๓.บริษัท เคเอสแอล การเกษตร จำกัด

๑๔.เครือบริษัท ปตท.

๑๕.บริษัท ทีวีบูรพา จำกัด

๑๖.กลุ่มบริษัทริเวอร์ โดยบริษัท ริเวอร์โปร์ พัลพ แอนด์ เพเพอร์ จำกัด

๑๗.กลุ่มเครือข่ายอุตสาหกรรมพอเพียง

๑๘.    เครือบริษัท คิงฟิชเชอร์ โฮลดิ้งส์ จำกัด

๑๙.  บริษัท เซ็นทรัลพัฒนาจำกัด (มหาชน)

๒๐บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)

๒๑.    ชมรมนักปั่นสะพานบุญ

๒๒.    บริษัท สหพีร์ จำกัด

 

แผนที่เส้นทาง ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง

๑๑๔/๑ หมู่ตำบลหนองบอนแดง อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี ๒๐๑๗๐ โทรศัพท์ ๐-๓๘๒๖-๓๐๗๘

แฟกซ์ ๐-๓๘๒๖-๓๐๗๘

 

 

 

 

 

 

 

 

 

กำหนดการ งานมหกรรมคืนชีวิตให้แผ่นดิน ครั้งที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๕๖

ตอน “ อึดแนวกิน สิ้นแนวแท้   อาหารหมดโลก มนุษย์สูญพันธุ์ 

๑๕-๑๗ มีนาคม ๒๕๕๖

 ณ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง ต.หนองบอนแดง อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี

 

กิจกรรมเวทีใหญ่

วันศุกร์ที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๖

๐๕.๓๐ – ๐๖.๓๐ น.            ทำวัตรเช้า  ธรรมะมงคล

๐๖.๓๐ –๐๗.๐๐ น.             ตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง ตามเส้นทางงานมหกรรม

๐๗,๐๐ –๐๘.๐๐ น.             ถวายภัตตาหารเช้า

๐๘.๐๐ –๐๘.๒๐ น.             เคารพธงชาติลานเสาธง

๐๘.๓๐ - ๐๙.๐๐ น.        พิธีต้อนรับขบวนนักปั่น “รวมพลังมวลชน ปั่นจักรยานซำเหมา เอาบุญเข้างานมหกรรม

                                    คืนชีวิตให้แผ่นดิน“เลาะเขาใหญ่ ผ่านทุ่งข้าว สู่อ่าวไทย ไปงานมหกรรมคืนชีวิตให้แผ่นดิน”

๐๙.๐๐ – ๑๒.๐๐ น.              เวทีกลาง :พิธีเปิดงานมหกรรมคืนชีวิตให้แผ่นดิน

                                                ชมวิดีทัศน์ โดย ทีวีบูรพา   

                                                โอวาท จากผู้เดินตามรอยเบื้องพระยุคลบาท  โดย ศาสตราจารย์ ดร.ระพี สาคริก

                                                พีธีเปิดโรงเรียนปูทะเลย์วิชชาลัย มอบเข็ม มอบปัญญาบัตร       

                                                ชมการแสดงจากโรงเรียนดาราสมุทร

๑๒.๐๐-๑๓.๐๐ น.              พักรับประทานอาหารกลางวัน /รับประทานอาหาร ๔ ภาค ณ ลานแต่ละภาค

๑๓.๐๐-๑๓.๓๐ น.                พิธีกรรมขอฝนฟ้าตกต้องตามฤดูการ

                                                ขบวนแห่นางแมว จากภาคกลาง ขบวนผีตาโขน จากภาคีสาน

๑๓.๓๐-๑๕.๓๐ น.               เสวนากินฉลาดตายช้า  กินเซ่อซ่าตายก่อน”

                                                ผู้ร่วมเสวนา

                                                -  ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร                         ประธานมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ

                                                -  คุณวิทูรย์   เลี่ยนจำรูญ                      ผอ. มูลนิธิ ชีววิถี                                  

-  คุณโจน  จันใด                                   ผอ. ศูนย์พันพรรณ

                                                ดำเนินรายการโดย คุณไตรภพ  โคตรวงษา

๑๕.๓๐ - ๑๘.๐๐ น.              เยี่ยมชม ศึกษาเรียนรู้และร่วมสนุก ณ.ลานกิจกรรมต่างๆ

๑๘.๐๐ - ๑๙.๐๐ น.               ดนตรี : วงแมลงสาป (ไก่ แมลงสาบ - สุเวศน์ ภู่ระหงษ์)

๑๙.๐๐ -๒๑.๐๐ น.               ๔ ภาคไนท์

                                                ๐ การแสดงโปงลาง จากภาคอีสาน

 

 วันเสาร์ที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๕๖

๐๕.๓๐ – ๐๖.๓๐ น.            ทำวัตรเช้า ธรรมะมงคล

๐๖.๓๐ –๐๗.๐๐ น.             ตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง ตามเส้นทางงานมหกรรม

๐๗,๐๐ –๐๘.๐๐ น.             ถวายภัตตาหารเช้า

๐๘.๐๐ –๐๘.๒๐ น.             เคารพธงชาติ

๐๙.๓๐ –๑๒.๐๐ น.              วงเสวนา  “ คนรุ่นใหม่ หัวใจกสิกรรม                   

ผู้ร่วมเสวนา

-    คุณชัยพล  ยิ้มไทร   ชาวนารุ่นใหม่จากรายการ ฅนต้นคน ตอน ปริญญาทำนา

-    คุณนรินทร์  ร่มโพฺธิ์ ( เดียร์ ) และคุณแตง ภรรยา  นักบินและแอร์โฮสเตส  สายการบินไทย

-    ตัวแทนคนรุ่นใหม่ จากชุมชนกสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง

-    คุณรัศมิ์ดำรง  ศิริวรรณ (ทิดโต้ง)  อดีตพ่อค้าความตาย      

ดำเนินรายการโดย คุณประสาน  อิงคนันท์ และคุณจิรา บุญประสพ บริษัททีวีบูรพา      

๑๒.๐๐-๑๓.๐๐ น.                 พักรับประทานอาหารกลางวัน /รับประทานอาหาร ๔ ภาค ณ ลานแต่ละภาค

๑๒.๔๕ - ๑๓.๓๐ น.            ขบวนแห่นางแมว และขบวนแห่ผีตาโขน

๑๓.๓๐ -๑๕.๓๐ น.             วงเสวนา เรื่อง “ ท้องถิ่นภิวัฒน์ ”  

ผู้ร่วมเสวนา  

                                               -  คุณเดชา  ศิริภัทร                                มูลนิธิขวัญข้าว

- คุณรสนา  โตสิตระกูล                      ส.ว. กรุงเทพฯ

                                                - ดร.สำนึก จงมีวศิน (ดร.เขียว)           นักวิชาการอิสระ

                                                - คุณกนกศักดิ์ ดวงแก้วเรือน              นายก อบต. แม่ทา  (หัวหน้ากลุ่ม ๑๑ กบฏแม่ทา )

ดำเนินรายการโดยคุณจิรา บุญประสพ บริษัททีวีบูรพา      

๑๕.๓๐ - ๑๘.๐๐ น.              เยี่ยมชม ศึกษาเรียนรู้และร่วมสนุก ณ.ลานกิจกรรมต่างๆ

๑๘.๐๐ - ๑๙.๐๐ น.               ดนตรี : วงเยาวชนเมืองน่าน

                                                ดนตรี : วงแมลงสาป (ไก่ แมลงสาบ - สุเวศน์ ภู่ระหงษ์)

๑๙.๐๐ -๒๑.๐๐ น.               ๔ ภาคไนท์

                                                การแสดงดนตรีไทย จากศูนย์โปงแรด

                                                การแสดงคณะโปงลางค่ำคูณเต็มวงชุดใหญ่ จากภาคอีสาน

                                        

 

 

 

 

 

วันอาทิตย์ที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๕๖

๐๕.๓๐ – ๐๖.๓๐ น.            ทำวัตรเช้า ธรรมะมงคล

๐๖.๓๐ –๐๗.๐๐ น.             ตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง ตามเส้นทางงานมหกรรม

๐๗,๐๐ –๐๘.๐๐ น.             ถวายภัตตาหารเช้า

๐๘.๐๐ –๐๘.๒๐ น.             เคารพธงชาติ

๐๘.๔๕ –๐๙.๒๐ น.            พิธีส่งมอบอาคารEarth safe รักษ์โลก

                                           สนับสนุนโดย คุณสัณหจุฑา จิราธิวัฒน์   ประธานและผู้ก่อตั้งมูลนิธิรักษ์ดิน รักษ์น้ำ

                                               ณ.อาคารบ้านดิน พื้นที่ ๔ ไร่

๐๙.๓๐ –๑๒.๐๐ น.              วงเสวนา  “ การศึกษานอกคอก  ปัญญานอกกะลา “

ผู้ร่วมเสวนา

-       พระมหาพงศ์นรินทร์   ฐิตะวังโส  ประธานกลุ่มกัลยาณมิตร วัดสุทัศน์ฯ

-       พระอาจารย์สังคม ธนปัญโญ  รองเจ้าอาวาส  วัดดอยผาส้ม

-       รศ.ประภาภัทร  นิยม ผู้ก่อตั้ง รร.รุ่งอรุณ และสถาบันอาศรมศิลป์

-       พ่อเล็ก  กุดวงศ์ แก้ว  ปราชญ์ชาวนา นักการศึกษาชุมชน

ดำเนินรายการโดยอ.ไตรภพ  โคตรวงษา

( ใครเอ่ย)  

๑๒.๐๐-๑๓.๐๐ น.              พักรับประทานอาหารกลางวัน  รับประทานอาหาร ๔ ภาค ณ ลานแต่ละภาค

๑๓.๐๐ - ๑๘.๐๐ น.               เยี่ยมชม ศึกษาเรียนรู้และร่วมสนุก ณ.ลานกิจกรรมต่างๆ

๑๘.๐๐ - ๑๙.๓๐ น.               ดนตรี : วงแมลงสาป (ไก่ แมลงสาบ - สุเวศน์ ภู่ระหงษ์)

๑๙.๓๐ -๒๑.๐๐ น.               พิธีบายศรีสูขวัญ - แสดงมุทิตาจิต เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันเกิด อ.วิวัฒน์  ศัลยกำธร

 

กิจกรรมลานต่างๆ ทุกวัน ๑๕-๑๗ มีนาคม ๒๕๕๖

o  อาคารศัลยกำธร : แสดงเกิยรติประวัติ อาจารย์วิวัฒน์  ศัลยกำธร (อ.ยักษ์)

o  ลานภาคเหนือ :     ตุ๊กบ่ได้กิ๋น เสี้ยงสิ้นแล้วเกียรติและศักดิ์ศรี”  พบกับประเพณีตานข้าวใหม่ (ประเพณีตานข้าวใหม่จะมีหลังจากที่ชาวบ้านเกี่ยวข้าวเสร็จเมื่อนำข้าวเปลือกจากทุ่งนาขึ้นเก็บในยุ้งฉางแล้ว ชาวบ้านจะตำข้าวที่ได้จากการเก็บเกี่ยวในปีนั้น ไปทำบุญถวายพระสงฆ์ที่วัด พร้อมทั้งอาหารนำใส่ภาชนะเรียกว่า ขันข้าว เพื่ออุทิศส่วนบุญไปให้แก่ เทวดาผี ขุนน้ำ ปู่ย่า ตายาย) , เรียนรู้วิธีการปลูกข้าวแบบเมืองเชียงใหม่ และเมืองน่าน ,การรวบรวมพันธุกรรมพืชท้องถิ่น , การย้อมผ้า ท่อผ้าเหนือ  และการแสดงรำฟ้อนของเด็กชาวกระเหรียง

o  ลานภาคอีสาน:    “อึ๊ดแนวกิน  ดับแนวแท้”พบกับประเพณีอีสาน ฮีตสิบสอง ครองสิบสี่  แห่ผีตาโขน ซึ่งเป็นประเพณีการขอฝนของชาวภาคอีสาน การรวบรวมเมล็ดพันธุ์พืชที่หายากของภาคอีสาน  ธนาคารเมล็ดพันธุ์ข้าวจาก ๒๔ สายพันธุ์  สอยดาวเมล็ดพันธุ์ข้าว พบกับโชว์ ครกกับสาก ใหญ่ ที่สามารถตำได้จริง โชว์ต้นข้าวใหญ่ และโชว์การตีมีดแบบโบราณ    การละเล่น การฟาดข้าว, ตำข้าว ฝัดข้าว  การสาธิตการทำบั้งไฟของจังหวัดยโสธร

o  ลานภาคกลาง :     ความมั่นคงทางอาหาร จากภูผาสู่มหานที” พบกับขบวนแห่นางแมวซึ่งเป็นวัฒนธรรมประเพณีการขอฝนของชาวภาคกลาง การลงแขกเกี่ยวข้าวประเพณีไทยที่แสดงให้เห็นถึงความมีน้ำใจที่มีการช่วยเหลือซึ่งกันเรียนรู้สารพัดองค์ความรู้ภายในพื้นที่ภาคกลาง ได้แก่

§ฐานฅนรักทุ่ง :  เรียนรู้วิถีท้องไร่ท้องนา วีธีคัดเมล็ดพันธุ์ข้าว การทำนาอินทรีย์

§ฐานฅนหัวเห็ด :เรียนรู้วิธีการเพาะเห็ดนางฟ้า เห็ดขอน สาธิตวิธีการทำก้อนเห็ด

§ฐานบ้านดิน : วิถีพออยู่ สร้างบ้านพอเพียง สาธิตการทำก้อนอิฐดิน การย่ำ ก่อและฉาบผนังดิน

§ฐานไบโอดีเซล :สาธิตขั้นตอนการทำน้ำมันไบโอดีเซลจากน้ำมันเหลือทิ้ง

§ฐานพลังงาน : พลังงานแสงอาทิตย์ โซล่าเซลล์แบบพึ่งตนเอง ประหยัดเรียบง่าย

§ฐานฅนรักษ์น้ำ : การจัดการทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล อนุรักษ์และฟื้นฟู สร้างแหล่งอาหาร ความมั่นคงทางทะเล

§ฐานแปรรูป : สืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น การแปรรูปอาหาร ยา สาธิตการทำปลาส้ม การทำเส้นก๋วยเตี๋ยวโบราณ สารพัดอาหารจัดเต็ม ทั้งคาวหวาน ขนมไทย ขนมลาว ขนมจีน ขนมฝรั่ง

§สวนผักคนเมือง : วิถีการพึ่งตนแบบคนเมือง ไม่มีที่ดิน ไม่มีแหล่งน้ำ แต่ไม่อด

§ “ ๕ ไร่ ๑ ล้าน ” โมเดลต้นแบบพออยู่ พอกินตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีที่ดินเพียง ๕ ไร่ ปลดหนี้๑ ล้านภายใน๓ ปี กับลุงผู้ใหญ่สมศักดิ์ เครือวัลย์

o  ลานภาคใต้:            " การฟื้นฟู/ สร้างความมั่นคงทางอาหารที่ยั่งยืน

o  ลานเยาวชน :        พลังเด็กรุ่นใหม่ หัวใจใสๆ เมล็ดพันธุ์ที่ถูกบ่มเพาะเพื่อเติบโตไปเป็นต้นไม้ใหญ่ หยั่งรากและอุดมการณ์ในการอนุรักษ์ดิน น้ำ ป่า และคืนชีวิตให้แผ่นดิน การบำบัดน้ำจากต้นทางด้วยจุลลินทรีย์ชีวภาพ การจัดการขยะ นำกลับมาประยุกต์ใช้ใหม่การปรับตัวเมื่อเจอกับภาวะวิกฤตนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้เพื่อเป็นกำลังหนึ่งในการช่วยเหลือครอบครัวและคนรอบข้างให้ผ่านพ้นวิกฤต สาธิตการทำงานของระเบิดจุลินทรีย์ในการบำบัดน้ำ ลงทะเบียนขอรับระเบิดก้อนจุลินทรีย์ จากธนาคารจุลินทรีย์เพื่อนำไปใช้บำบัดน้ำ จำนวน ๕ พันลูก แจกกล้าไม้ ด้วยแนวคิด "ฝากป่า ไว้หลังบ้าน" เพิ่มพื้นที่สีเขียวในบ้าน การจัดการขยะ การนำขยะกลับมาใช้ใหม่ โครงการ"คืนขวดใส ใส่จุลินทรีย์" นักสืบสายน้ำรุ่นจิ๋ว บริการตรวจวัดคุณภาพน้ำด้วยเครื่องมือวิทยาศาสตร์ และเยาวชนไทย ห่างไกลอบายมุข รณรงค์ให้เยาวชนไทยเห็นโทษและความสำคัญของการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด จากพี่ๆเครือข่ายองค์กรงดเหล้า สสส.

o  ลานสุขภาพ :พบกับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม การบำบัดความเจ็บป่วยแบบวิถี ๔ ภาค ด้วย “ย่ำขาง” “ครอบแก้ว” “ตอกเส้น” “คัดท้อง” นวดผ่อนคลาย สบายกายด้วย “วารีบำบัด” “แช่มือ-แช่เท้า

o  ภาคเอกชน :ตัวอย่างภาคเอกชนนำร่อง ประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงกับอุตสาหกรรม  โรงงานผลิตกระดาษทิชชู (ริเวอร์โปร กรุ๊ป) โรงงานผลิตน้ำตาล (เคเอสแอล) โรงแรมเคเอสแอล ริเวอร์แคว โรงงานผลิตอาหารทะเลสำเร็จรูป (คิงฟิชเชอร์ กรุ๊ป) สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (สรอ.) กลุ่ม ปตท. เดวารีสอร์ท แอนด์สปา

 

Download: แบบตอบรับการเข้าร่วมงาน (pdf)

 
สถานที่: 
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี
วันที่: 
15-17 มีนาคม 2556
แหล่งที่มา: 
มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ