โพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยของ "พ่อ"
ศูนย์เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง

ติดต่อเรา

มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ
เลขที่ ๑๑๔ ซอย บี ๑๒ หมู่บ้านสัมมากร สะพานสูง กรุงเทพฯ ๑๐๒๔๐
สำนักงาน ๐๒-๗๒๙๔๔๕๖ (แผนที่)
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง 038-198643 (แผนที่)


User login

โครงการพัฒนาศักยภาพผู้นำอาสาสมัครเพื่อป้องกัน เตือนภัยและฟื้นฟูชุมชนในภาวะวิกฤต

  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_handler_argument::init() should be compatible with views_handler::init(&$view, $options) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_argument.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter::options_validate() should be compatible with views_handler::options_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter::options_submit() should be compatible with views_handler::options_submit($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter_term_node_tid::value_validate() should be compatible with views_handler_filter::value_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/modules/taxonomy/views_handler_filter_term_node_tid.inc on line 0.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_style_default::options() should be compatible with views_object::options() in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_style_default.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_row::options_validate() should be compatible with views_plugin::options_validate(&$form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_row.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_row::options_submit() should be compatible with views_plugin::options_submit(&$form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_row.inc on line 0.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter_boolean_operator::value_validate() should be compatible with views_handler_filter::value_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter_boolean_operator.inc on line 0.

Crisis Management Survival Camp (CMS) 

 หลักการและเหตุผล

                          จากปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นทั้งในประเทศไทยและทั่วโลกที่ได้กลายเป็นข่าวประจำวันเช่นน้ำท่วม ภัยแล้ง โคลนถล่ม แผ่นดินไหว ฯลฯ นับเป็นเรื่องที่พวกเราชาวไทยคุ้นเคยคุ้นชิน และเริ่มยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตคนไทยสมัยนี้  ภัยพิบัติร้ายแรง ๔ ประการ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงเตือนให้ประชาชนชาวไทยระวังผ่านทาง ส.ค.ส.ปี พ.ศ.๒๕๔๗ ด้วยการแสดงภาพของระเบิด ๔ ลูก ที่สถาบันเศรษฐกิจพอเพียงตีความว่า คือ วิกฤตภัยทางธรรมชาติ วิกฤตโรคระบาด วิกฤตเศรษฐกิจข้าวยากหมากแพง วิกฤตความขัดแย้งทางสังคม ซึ่งปัจจุบันเราชาวไทยได้พบเห็นภัยพิบัติทั้ง ๔ เรื่อง เกิดขึ้นพร้อมๆ กันแล้ว โดยเฉพาะภัยทางธรรมชาติที่เกิดสลับกันไปมาระหว่างภัยแล้งและน้ำท่วม นอกจากภายในประเทศไทยแล้วยังมีการรายงานข่างภัยพิบัติจากนานาประเทศทั่วโลกมาให้เห็นกัน เช่นการต้อนรับปีใหม่ พ.ศ.๒๕๕๓ด้วยโศกนาฏกรรมเหตุแผ่นดินไหวขนาด ๐.๗ ริกเตอร์ ที่ประเทศเฮติ  พายุโซนร้อนนากิส พัดถล่มเกาะลูซอนประเทศฟิลิปปินส์และพายุลูกเดียวกันยังได้พัดถล่มพม่า จีน เวียดนาม กัมพูชา ทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่และเป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุดของโลก ในเขตแอฟริกาตอนกลาง ซึ่งล้อมรอบด้วยประเทศแคเมอรูน ชาด ไนเจอร์และไนจีเรีย แห้งลงร้อยละ ๙๐ จากภาวะโลกร้อน

         การเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงและรวดเร็วมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากวิกฤตการณ์น้ำท่วมใหญ่ปีพ.ศ. ๒๕๕๓ ที่ผ่านมา ซึ่งประชาชนไม่สามารถจัดการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นเฉพาะหน้าได้ด้วยตนเอง ต้องรอความช่วยเหลือจากภาครัฐซึ่งไม่ทันท่วงทีและไม่เพียงพอ จึงส่งผลให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนอย่างมหาศาลภายในระยะเวลาอันสั้น ประสบการณ์ครั้งนี้ทำให้ประชาชนเห็นความจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมของชุมชน เพื่อให้สามารถพึ่งตนเองเบื้องต้นให้ได้ในภาวะวิกฤต แต่อาสาสมัครภาคประชาชนยังขาดความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ จึงมีความจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาศักยภาพให้มีความสามารถในการจัดการกับภาวะวิกฤต ทั้งการป้องกัน การเตือนภัย การแก้ปัญหาเมื่อต้องเผชิญหน้ากับภัยพิบัติ ตลอดจนถึงการฟื้นฟูเยียวยาหลังได้รับผลกระทบ อีกทั้งจัดตั้งเป็นเครือข่ายภาคประชาชนที่เข้มแข็ง เพื่อพึ่งพากันในยามวิกฤตขั้นพื้นฐาน ก่อนที่ความช่วยเหลือของภาครัฐจะเข้าถึง

           จากภาวะรอบด้านที่เราได้เห็นซึ่งเป็นสัญลักษณ์เตือนให้เห็นว่า ประเทศไทยเรากำลังเกิดวิกฤตชาติขึ้นอย่างรุนแรงแล้ว เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแสดงถึงความจำเป็นแล้วที่พวกเราชาวไทยจะน้อมนำแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มาปฏิบัติบูชาในการฟื้นฟู ป้องกันและเตือนภัยชุมชนในภาวะวิกฤต เพื่อการป้องกันวิกฤติทั้ง ๔ ด้าน มิให้เกิดขึ้น

       ๑. วัตถุประสงค์ 

  1. เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเกิดเหตุภัยพิบัติ การเตรียมป้องกัน การพึ่งตนเองเมื่อเกิดวิกฤติ การฟื้นฟูวิถีชีวิตหลังภัยพิบัติ
  2. เพื่อสนับสนุนให้เกิดศูนย์เรียนรู้ และเกิดอาสาสมัครที่มีความรู้ด้านการสังเกตความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่จำเป็นควบคู่ไปกับภูมิปัญญาชาวบ้าน การสังเกตปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ
  3. ศูนย์ทำหน้าที่ขยายผลโดยการสร้างเครือข่ายอาสาสมัครเฝ้าระวังภัยร้ายแรงภายในพื้นที่ เชื่อมร้อยเครือข่ายในระดับประเทศ

      ๒. แผนการดำเนินงานและกิจกรรม

แนวคิด / หลักการ

การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม

ผู้รับผิดชอบ

๑. กำหนดพื้นที่

กำหนดพื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติและพื้นที่เตรียมความพร้อมคัดเลือกอาสาสมัครที่จะเข้าร่วมโครงการ

สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง

๒. ประชุมภาคีความร่วมมือ

จัดประชุมภาคีความร่วมมือเพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินโครงการร่วมกันระหว่างศุนย์กสิกรรมธรรมชาติ สำนักงานทรัพยากรธรณี สมาคมวิทยุสมัครเล่น (www.thaiflood.com) และสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อกำหนดกรอบด้านการจัดการภัยพิบัติ

สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง

๓. จัดฝึกอบรม

จัดอบรมฝึกทักษะในการพึ่งพาตนเองในการป้องกัน เตือนภัยและฟื้นฟูชุมชนในภาวะวิกฤต ให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นทั้งต่อตนเอง ชุมชน และสังคมในยามเกิดภาวะวิกฤติ โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นพื้นฐานเน้นเรื่องพออยู่ พอกิน พอใช้ พอร่มเย็น

- ฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพแกนนำชุมชนหลักสูตรการป้องกัน เตือนภัยและฟื้นฟู ชุมชนในภาวะวิกฤต

- ผู้เข้าอบรมกำหนดแผนยุทธศาสตร์* ในการขับเคลื่อนและจัดตั้งเครือข่ายในระดับพื้นที่ (ตำบล /อำเภอ) โดยใช้บริบทของพื้นที่เป็นตัวกำหนด

* เพื่อให้ได้ยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมกับพื้นที่ จำเป็นต้องให้ผู้ปฏิบัติและอยู่ในพื้นที่จริงเป็นผู้กำหนด

- เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ

- สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง

 

๔.ลงพื้นที่ขยายผลสร้างเครือข่าย จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้และศูนย์ข้อมูลภาคประชาชน

เมื่อผ่านการฝึกอบรมแล้วจะสามารถกลับไปเป็นแกนนำในการจัดตั้งและสร้างเครือข่ายภาคประชาชนและเป็นตัวอย่างความสำเร็จด้านการพึ่งตนเองพัฒนาให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ ให้เกิดความพออยู่ พอกิน พอใช้ พอร่มเย็น เป็นที่พึ่งของชุมชนด้านอาหาร ด้านการเตือนภัยพิบัติ และขยายผลแตกตัวไปยังพื้นที่รอบๆจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการ ป้องกัน เตือนภัยและฟื้นฟู ชุมชนในภาวะวิกฤตเชื่อมร้อยเครือข่ายในระดับตำบล/อำเภอ/ประเทศ

- เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ

- สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง

- องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

๕.ส่งเสริมความพร้อมด้านวัสดุอุปกรณ์

เสริมหนุนความพร้อมด้านเครื่องมือที่ทันสมัยในการวิเคราะห์สภาพดิน ฟ้า อากาศ เพื่อเป็นข้อมูลเตือนภัยในชุมชน และวัสดุอุปกรณ์ในการสร้างฐานเรียนรู้

 

๖.สนับสนุนกิจกรรมของเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง

ให้การสนับสนุนโครงการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความเข้มแข็งยั่งยืนโดยการจัด ปฏิบัติการฟื้นฟูป้องกัน เตือนภัยและฟื้นฟู ชุมชนในภาวะวิกฤตชาติ ด้วยศาสตร์พระราชา เผยแพร่นำเสนอข้อมูลปฏิบัติการ แก่กลุ่มคนที่สนใจ ในงานมหกรรมคืนชีวิตให้แผ่นดิน งานประจำปีของเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ ซึ่งจัดขึ้นทุกเดือนมีนาคมของทุกปี

เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ

สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง

 

เป้าหมาย

เป้าหมายเชิงปริมาณ

อาสาสมัครภาคประชาชน, ผู้นำชุมชน จากพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติน้ำท่วมเมื่อปลายปี ๒๕๕๔ และพื้นที่เสี่ยงภัยที่ได้รับการประกาศเตือนภัยอยู่ในสถานการณ์ปัจจุบัน ทั้ง ๓ พื้นที่ๆ ละ ๘๐ คน รวมจำนวน ๒๔๐ คน โดยแบ่งเป็นภูมิภาคดังนี้

ภาคกลาง : เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชลบุรี กาญจนบุรี           

ภาคอีสาน : ขอนแก่น, มหาสารคาม, กาฬสินธุ์, สกลนคร, มุกดาหาร

ภาคใต้ : ชุมพร, สุราษฎร์ธานี, นครศรีธรรมราช, พัทลุง

จากภัยพิบัติที่ประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบันทั้งแผ่นดินไหวในภาคเหนือ พายุกระหน่ำน้ำท่วมทั่วทุกพื้นที่ในภาคใต้ และประกาศเตือนให้เป็นพื้นที่เสี่ยงภัยเพื่อเฝ้าระวังสถานการณ์อีก ๔๘ จังหวัดทั่วประเทศ ทำให้สถานการณ์ในวันนี้แสดงความจำเป็นที่ต้องเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือหากเกิดภัยพิบัติ            

ข้อมูลอ้างอิง :        สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน)

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.)

 

เป้าหมายเชิงคุณภาพ

- อาสาสมัครภาคประชาชนที่ผ่านการอบรมมีศักยภาพและความเป็นผู้นำในการจัดการรับมือเมื่อเกิดภาวะวิกฤต

- ชุมชนได้เรียนรู้จากอาสาสมัครและสามารถพึ่งพาตนเองได้เมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน

- ชุมชนสามารถฟื้นฟูเยียวยาตนเองได้ภายหลังการเกิดภัยพิบัติ

- ชุมชนเรียนรู้การป้องกันอย่างยั่งยืนด้วยศาสตร์พระราชา กับการจัดการกับดิน น้ำ ป่า

- ภาคประชาชนรวมตัวกันได้เมื่อเกิดภัยพิบัติ และสามารถพัฒนาเป็นเครือข่ายอาสาสมัครที่เข้มแข็งดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ

            การดำเนินโครงการตามเป้าหมายที่กำหนด แบ่งเป็นระยะเวลาดำเนินการ ๓ ระยะ โดยในระยะที่ ๑ ปี ๒๕๕๔ เป็นระยะโครงการนำร่อง เพื่อการประเมินผล ส่วนโครงการระยะที่ ๒ คือ ปีที่ ๒ และปีที่ ๓ เป็นระยะการขยายผลการดำเนินการ และการสร้างเครือข่าย ซึ่งจะเน้นผลสำเร็จของการขยายเครือข่ายอย่างเป็นรูปธรรม (รายละเอียดโครงการจะนำเสนออีกครั้ง)

หมายเหตุ : โครงการความร่วมมือ เป็นโครงการ ๓ ปี

 

สถานที่จัดอบรม

ภาคกลาง : ณ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี   

ภาคใต้ : ณ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติทุ่งสง อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช

ภาคอีสาน : ณ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติบ้านบุญ อ.กระนวน จ.ขอนแก่น

 

ผู้รับผิดชอบโครงการ

  1. สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง
  2. มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ และเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ (คกช.)
  3. สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ (สกพ.มรร.)

รูปแบบการจัดอบรม

  1. การบรรยายพิเศษ
  2. การฝึกอบรม
  3. การฝึกปฏิบัติการและกิจกรรมกลุ่ม
  4. การอภิปรายระดมความรู้เพื่อวางแผนยุทธศาสตร์

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

  1. ความรู้ด้านการฟื้นฟู เตือนภัย และป้องกันภัยพิบัติถูกนำไปปฏิบัติจริงโดยเครือข่ายภาคประชาชน  และเกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการดำเนินชีวิตตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และศาสตร์พระราชาถูกแปลงลงสู่การปฏิบัติเพื่อการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติที่เหมาะสมกับพื้นที่อย่างแท้จริง (สร้างแนวคิด)
  2. เกิดอาสาสมัครที่จะเป็นผู้นำชุมชนในการฟื้นฟู ป้องกัน และเตือนภัยในภาวะวิกฤต โดยมีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะในการรับมือกับภัยพิบัติตลอดจนเป็นผู้นำในการปรับเปลี่ยนวิธีคิดสู่เศรษฐกิจพอเพียง และการสร้างชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืนด้วยการน้อมนำศาสตร์พระราชาสู่การปฏิบัติ (สร้างคน)
  3. เกิดศูนย์ฟื้นฟู ป้องกัน และเตือนภัยภาคประชาชนเพื่อการเป็นผู้นำในการฟื้นฟู การเรียนรู้การป้องกัน และการเตือนภัยรวมทั้งเป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนเพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน (สร้างศูนย์ฝึก)
  4. เกิดการบูรณาการความรู้ และข้อมูลความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมจากพื้นที่ สร้างเป็นเครือข่ายภาคประชาชนในระยะยาว ซึ่งมีศักยภาพทั้งด้านการฟื้นฟู ป้องกัน และเตือนภัย ตลอดจนพัฒนาแนวทางการป้องกันตนเองที่เหมาะสมกับพื้นที่ด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเครือข่าย (สร้างเครือข่าย)

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. เกิดผู้นำชุมชนที่มีศักยภาพ มีความรู้ ทักษะ ประสบการณ์พร้อมดำเนินการฟื้นฟู ป้องกัน และเตือนภัยในภาวะวิกฤต
  2. อาสาสมัครมีความรู้ในการสังเกตความเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ และภูมิปัญญาชาวบ้าน เพื่อประโยชน์ในการรู้ตัวและเตรียมการป้องกันภัยธรรมชาติ
  3. อาสาสมัครมีความเข้าใจและเลือกใช้เครื่องมือสื่อสารได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพในภาวะวิกฤต
  4. อาสาสมัครสามารถช่วยเหลือชีวิตตนเองและผู้อื่นได้เมื่อเกิดภัยพิบัติ
  5. อาสาสมัครมีประสบการณ์จากการฝึกภาคสนาม
  6. เกิดเครือข่ายภาคประชาชนที่เข้มแข็ง ร่วมมือกันฟื้นฟู ป้องกัน และเตือนภัยในภาวะวิกฤต
  7. ชุมชนมีความพร้อมในการพึ่งพาตนเองเมื่อภัยธรรมชาติมาถึง
  8. ชุมชนน้อมนำศาสตร์การจัดการทรัพยากรเพื่อความยั่งยืนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มาใช้ ในการฟื้นฟูตนเองและป้องกันภัยพิบัติจากธรรมชาติอย่างยั่งยืน