9 ฐานเรียนรู้
ความรู้ที่น่าสนใจ (Documents on web)
ติดต่อเรา
มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ
เลขที่ ๑๑๔ ซอย บี ๑๒ หมู่บ้านสัมมากร สะพานสูง กรุงเทพฯ ๑๐๒๔๐
สำนักงาน ๐๒-๗๒๙๔๔๕๖ (แผนที่)
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง 038-198643 (แผนที่)
User login
ลิงค์เครือข่าย
พลังงานหมุนเวียน : ปรัชญาการใช้พลังงานอย่างสร้างสรรค์, ยั่งยืน และ พอเพียง
พลังงานหมุนเวียน : ปรัชญาการใช้พลังงานอย่างสร้างสรรค์, ยั่งยืน และ พอเพียง
คำเตือน บทความนี้เป็นเพียงความคิดส่วนบุคลข้อมูลที่ได้มาหรือกล่าวไว้ อาจจะไม่แม่นยำนักในเรื่องตัวเลข และการจะหาแหล่งที่มาของข้อมูลหรือแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื้อถือได้ สามารถกระทำได้ แต่ได้โปรดอย่าเสียเวลาสำหรับการกระทำในสิ่งที่ไม่จำเป็นนั้นเลย และขออย่าได้เชื่อในสิ่งที่อ่านโดยทันทีจนกว่าจะพิจารณาด้วยสามัญสำนึกของปราชญ์ที่มีในมโนสำนึกของตัวผู้อ่านเอง
------------------------------------------------------------------------------------------------------
นับตั้งแต่ มีการปฎิวัติอุตสาหกรรมที่ประเทศฝรั่งเศสเป็นต้นมา มนุษยชาติ ได้มีการนำเชื้อเพลิงจากฟอสซิลมาผลิตเป็นพลังงานจำนวนมาก และก็มีการใช้เชื้อเพลิงเพื่อผลิตพลังงานมากยิ่งขึ้นไปอีก เมื่อมีการขุดพบบ่อน้ำมันปิโตรเลียมที่รัฐเทกซัส สหรัฐอเมริกา พลังงานที่ผลิตขึ้นมามีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมและสนองตอบ การขยายตัวทางอุตสาหกรรมอย่างใหญ่หลวง และที่สุดแล้วก็คือเพื่อสนองความสะดวกสบายของมนุษย์ กลุ่มประชากรของโลกที่มีการใช้พลังมากที่สุด และก็ฟุ่มเฟือยที่สุด คือ สหรัฐอเมริกาโดยคิดเป็น 25 เปอร์เซ็นของพลังงานที่ผลิตได้ทั้งโลก รองลงมาคือประเทศในกลุ่มทวีปยุโรป แต่สิ่งเหล่านี้กำลังจะกลายเป็นข้อมูลในอดีตไปแล้วเมื่อประเทศยักษ์ใหญ่ในทวีปเอเชีย อย่าง จีน และ อินเดีย กำลังพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของตัวเองอย่างรุ่นแรงและรวดเร็ว และแน่นอนว่า ทรัพยากรที่เป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาที่ประเทศเหล่านี้ต้องการคือเชื้อเพลิง โดยเชื้อเพลิงจากฟอสซิล ในความเป็นจริงไม่ใช่เฉพาะจีน กับอินเดียเท่านั้น ที่ต้องการพลังงานเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจอย่างมากมาย แต่ประเทศต่างๆทั้งเอเชีย ก็มีความต้องการพลังงานมากมายเช่นกัน เป้าหมายของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ต่างๆเหล่านี้ได้ลอกเลียนแบบมากจากกลุ่มประเทศ อุตสาหกรรมเป็นแบบอย่าง นั้นก็คือจะต้องพัฒนาความเป็นอยู่ของประชากรในประเทศให้มีความเป็นแบบ ความเป็นอยู่ของประชากรในประเทศสหรัฐอเมริกา หรือ ประชากรในทวีปยุโรป ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มประชากรของโลกที่มีความเป็นอยู่ที่ดี สะดวกสบาย และถือว่าเป็นเป็นการพัฒนาอย่างแท้จริง ถ้าหากว่า จีน อินเดีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก รวมถึงประเทศอื่นๆ สามารถพัฒนาเศรษฐกิจ และความเป็นอยู่ของประชากรให้ได้อย่าง ยุโรปหรืออเมริกา แล้วเราเคยคิดบ้างหรือไม่ว่าจะต้องใช้พลังงานเท่าไหร่ แล้วจะทิ้งของเสียออกจากระบบมากมายขนาดไหน เพื่อความสะดวกสบายและความผาสุขอย่างที่เราต้องการกัน โลกของเรามีทรัพยากรเพียงพอหรือไม่? อย่างไร? นานเท่าไหร่? แล้วโลกของเราสามารถที่จะบำบัดตัวเองเนื่องจากการทำลายจาก สารพิษ สารเคมี รวมทั้งของเสียต่างๆจากมนุษย์ ด้วยความสามารถระดับไหน เท่าไหร่?
ปัจจุบัน ทุกหน่วยงานไม่ว่าจะเป็นองค์กรของรัฐหรือของเอกชน เกือบจะทุกประเทศ ก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล นั้นมีอยู่ในโลกของเราอย่างจำกัด และกำลังจะหมดในไม่ช้านี้ (อีก 30 ปี) แต่การประชาสัมพันธ์และการบอกกล่าวให้ประชาชนส่วนใหญ่เข้าใจยังเป็นแค่การเล่าเรื่องตลกในวงเหล้า แม้แต่ปัญหาโลกร้อน และการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ยังเป็นเพียงแค่การเล่านิทานหลอกเด็ก เพียงแค่เป็นการสร้างกระแสชั่วครั้งชั่วคราว ซ้ำร้ายยิ่งกว่านั้น ยังมีผู้คนอีกจำนวนไม่น้อยที่คิดว่ามันเป็นเพียงแค่การเปลี่ยนแปลงตามวัฎจักรของโลก คือมียุคน้ำแข็ง และยุคที่อากาศอบอุ่นขึ้น เป็นไปตามสิ่งที่มันควรจะเป็นอย่างนี้อยู่แล้ว ไม่ได้เกิดจากการกระทำใดๆของมนุษย์เลย ดังนั้น จึงบอกให้คนอื่นๆใช้ชีวิตไปตามปกติเถิด(ใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือยอย่างที่เคย ทำลายสิ่งแวดล้อมไม่ทางตรงก็ทางอ้อมอย่างที่เคย) เมื่อมีแนวคิดหลากหลายเช่นนี้ ผู้เขียนคิดว่ามันเป็นอันตรายมาก มันเป็นอันตรายต่อชีวมลฑลที่เป็นสมบัติของส่วนรวมยิ่งนัก ส่วนเรื่องที่บอกว่าเชื้อเพลิงฟอสซิลใกล้จะหมดไปจากโลกเราแล้วเนื่องจากยังไม่มีการสำรวจพบแหล่งใหม่ๆเพิ่มเติม(น่าจะเป็นเรื่องที่น่ายินดีในความคิดของผู้เขียน) และจะเป็นข่าวร้ายยิ่งกว่า ถ้าหากว่ามีการค้นพบแหล่งเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ใช้ไม่มีวันหมดหรือใช้ไปอีกเป็นพันปี เหตุที่ทำให้ผู้เขียนคิดเช่นนี้ เพราะว่า บรรยากาศของโลกมีขีดสามารถในการรองรับก๊าซเรือนกระจกน้อยมาก (เพียงแค่ชั่วระยะเวลาไม่กี่ร้อยปี ตั้งแต่มีการปฎิวัติอุตสาหกรรมเป็นต้นมามนุษย์ยังทำให้บรรยากาศและสิ่งแวดล้อมของโลกเปลี่ยนไปได้ขนาดนี้) ถึงแม้จะสำรวจพบแหล่งเชื้อเพลิงฟอสซิลแหล่งใหม่ ก็ไม่ควรขุดขึ้นมาใช้และจะเป็นการดีที่สุดคือหยุดการสำรวจอย่างสิ้นเชิง การตอบสนองความพึงพอใจให้ถึงที่สุดของมนุษย์ในเรื่องพลังงานนั้นเป็นสิ่งที่ไม่มีวันจะบรรลุถึงได้เฉกเช่นหลุมดำที่ไม่เคยมีวันอิ่ม
ในทัศนะของผู้เขียนแล้วเกี่ยวกับเรื่องแหล่งเชื้อเพลิงฟอสซิล(คิดเล่นๆนะ) มีคนเคยสงสัยหรือไม่ว่าเหตุได้ น้ำมันดิบถึงอยู่ลึกลงไปใต้ดินมากนัก บางแห่งอยู่ใต้ทะเลลึก อาจจะเป็นไปได้ว่า บรรพบุรุษของมนุษย์เราซึ่งเป็นมนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์(ก่อนยุคปิรามิดอียิป) พวกเขาเหล่านั้นได้รับประสบการณ์แล้วว่า การเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิล เป็นสิ่งอันตรายต่อชีวมลฑลอย่างยิ่ง ถึงขั้นทำให้อารยะธรรมมนุษย์ยุคนั้นล่มสลายลง จึงได้พยายามที่จะฝังกลบเชื้อเพลิงฟอสซิลเหล่านี้ให้ลึกที่สุดเท่าที่จะทำได้แต่อย่างไรก็ตามมันไม่ได้แตกต่างกันมากนักกับผู้ที่เป็นพ่อแม่ที่เผลอเลอโดยเก็บซ่อนปืนไว้ใต้หมอนหรือในลิ้นชักโดยลืมล๊อคกุญแจ เมื่อลูกซึ่งไร้เดียงสาค้นพบเข้าก็เกิดความลิงโลดใจว่าได้ค้นพบสิ่งมหัศจรรย์และมีพลังอำนาจเข้าให้แล้ว ก็เลยถือมาอวดเพื่อนๆที่มาเล่นด้วย จากนั้นสิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาก็ไม่อาจจะคาดเดาได้ (อิอิ มนุษย์ผู้ปราดเปรื่อง)
แม้ว่าแหล่งเชื้อเพลิงฟอสซิลจะถูกฝังกลบไว้ในชั้นดินหินที่ลึกมากก็ตาม กระนั้นมนุษย์ก็พยายามอย่างยิ่งยวดระดมสรรพกำลังที่มีอยู่ขุดค้นมันขึ้นมาเพื่อเผา ทั้งๆที่รู้ว่า(อาจจะไม่รู้จริงก็ได้)ผลของมันที่เกิดขึ้นก็จะไม่แตกต่างเลยกับการที่คนจำนวนหนึ่งที่อาศัยอยู่ในห้องที่ปิดมิดชิดแล้วพร้อมใจกันสูบบุหรี่ และนั้นคือสิ่งที่สามัญสำนึกไม่อาจจะทำความเข้าใจพฤติกรรมเหล่านี้ของมนุษย์ได้
เมื่อหันมาพิจารณาอีกมุมหนึ่ง คำว่าความเจริญ ที่เกิดจากการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม อย่างที่ทุกประเทศจะยึดถือและมุ่งไปให้ถึงนั้น แท้จริงแล้วมันเป็นการพัฒนาโลกจริงหรือ ? มันเป็นความเจริญอย่างแท้จริงหรือไม่ ? ในมุมมองของผู้เขียนนั้น เข้าใจว่า คำว่าความเจริญ และการพัฒนาในนิยามที่คนส่วนมากเข้าใจอยู่ในปัจจุบันนี้ มันผิด ผู้คนส่วนใหญ่เข้าใจนิยามคำว่าการสร้างความเจริญให้เกิดขึ้นกับโลกผิดไปก็ได้ ในความคิดของผู้เขียนแล้ว ผู้เขียนเห็นว่า การพัฒนาที่เรากำลังทำกันอยู่ในปัจจุบันนี้มันคือการทำลายโลก ความเจริญที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้ มันคือความเสื่อม เหตุที่ผู้เขียนเข้าใจเช่นนี้ ก็เพราะว่า สิ่งที่เกิดขึ้นที่เห็นและเป็นอยู่ในปัจจุบันนั้น มันเป็นไปในลักษณะที่สร้างสรรค์ในสิ่งที่เป็นสาระน้อยมากเลย คำถามที่เกิดขึ้น ก็คือว่า ถ้าหากเราเข้าใจว่า การที่เราพัฒนากันอยู่ในปัจจุบันนี้ทำให้โลกของเราเจริญขึ้น แล้วทำไมปัญหาสิ่งแวดล้อมต่างๆถึงได้เกิดขึ้นมากมาย เช่น ดินเป็นพิษ อากาศเป็นพิษ น้ำเป็นพิษ กระทั้ง อาหารก็เป็นพิษ ถ้าโลกเจริญขึ้นจริงอย่างที่เราเข้าใจกัน แล้วทำไม ความเจริญของโลกจึงไปเบียดเบียนสัตว์โลกในสายพันธ์อื่นๆ ทำให้สัตว์โลกในสายพันธ์อื่นๆต้องสุญพันธ์ไปอย่างมากมาย หรือแม้แต่มนุษย์เองบางเผ่าพันธุ์ก็ได้สูญพันธ์ไปจากโลกแล้ว แน่นอนว่าดัชนีชี้วัดของสิ่งแวดล้อมต่อความเหมาะสมในการดำรงชีวิตอยู่ของสัตว์ คือ ความหลากหลายทางชีววิทยา ความหลากหลายของเผ่าพันธุ์สัตว์และพืช จนถึงความหลากหลายทางด้านอื่นๆที่เราไม่อาจมองเห็นได้หรือพิสูจน์ได้ด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน ซึ่งอาจจะรวมไปถึงความคิดและความเชื่อในศาสนาและลัทธิต่างๆด้วย สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่หรือที่ทำให้โลก เป็นโลกที่สมบูรณ์ เป็นโลกที่เหมาะสมและเอื้อเฟื้อต่อสรรพสิ่งให้ดำรงชีวิตและเผ่าพันธุ์อยู่ได้ ถ้าหากว่า เราใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในปัจจุบัน ไปทำร้าย ข่มเหง รังแก เบียดเบียน สัตว์ในสายพันธ์อื่นๆ หรือแม้แต่มนุษย์ด้วยกันเอง โดยการกระทำดังการเรามักจะอ้างว่าเป็นการพัฒนา หรือการสร้างอารยะธรรม หรือจัดระเบียบ อะไรก็แล้วแต่ ผู้เขียนเข้าใจว่ามันเป็นเหตุผลของผู้ไม่เจริญที่คิดเช่นนี้ และเมื่อมนุษย์ไม่ใช่สัตว์ผู้เจริญแล้ว จะเป็นไปได้หรือที่ผู้ไม่เจริญ จะสร้างความเจริญให้เกิดขึ้นแก่โลกได้ สมมติว่าสิ่งมีชีวิตบนโลกของเราเหลือเพียงมนุษย์เพียงเผ่าพันธุ์เดียว คำถามก็คือ มนุษย์เผ่าพันธุ์ที่เหลืออยู่นี้จะสามารถดำรงอยู่ได้หรือไม่ และนานขนาดไหน ? หากเราย้อนกลับไปที่ การใช้พลังงานจำนวนมหาศาลเพื่อการพัฒนาความเจริญของเศรษฐกิจและความสะดวกสบายของมนุษย์ซึ่งทุกประเทศต่างก็แข่งขันกันพัฒนา อวดอ้าง การเจริญเติบโตของตัวเลข GDP ของประเทศ มุ่งเน้นโฆษณาประชาสัมพันธ์ เพื่อสนับสนุนให้ผู้คนเร่งการกิน การใช้ทรัพยากรให้มากๆเยอะๆเข้าไว้ แข่งขันกันสะสมเศษกระดาษที่เรียกว่าเงินกันมากๆแล้ว คำถามมีอยู่ว่า ทำไมเราต้องเร่งการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ? เราอยากให้ขนาดของเศรษฐกิจโตเท่าไหร่ ขนาดไหน? แล้วเรารู้หรือไม่ว่าขนาดที่โตมากที่สุดต้องเท่าไหร่? แล้วเมื่อมันโตถึงที่สุดแล้ว จะเป็นอย่างไรต่อจากนั้น? หากเราเปรียบเทียบการพัฒนาเศรษฐกิจกับการเลี้ยงไก่ในฟาร์ม มันก็คงไม่แตกต่างกันนัก คือ ไก่ในฟาร์ม จะต้องถูกเลี้ยงด้วยหัวอาหารอย่างดี เพื่อเร่งการเจริญเติบโต ต้องใช้เวลาให้น้อยที่สุด แล้วเมื่อไก่โตเต็มที่แล้ว ชีวิตมันจะลงเอยอย่างไร ทุกคนก็รู้อยู่แก่ใจ แล้วเราหล่ะต้องการให้ชีวิตเราเป็นอย่างนั้นหรือ? เราต้องการให้ระบบเศรษฐกิจของเราเป็นอย่างนั้นหรือไม่? ถ้าหากว่าเรามองโดยองค์รวม เศรษฐกิจของโลก ที่ต้องการพลังงานอย่างมหาศาลเปรียบได้กับการเคลื่อนที่ของจรวดหรือบั้งไฟ เมื่อใดที่เชื้อเพลิงหมดมันก็จะตกกลับลงมา ทำไมเราจึงต้องพัฒนาระบบเศรษฐกิจให้เป็นอย่างนี้? เป็นไปได้หรือไม่ที่เราจะพัฒนาเศรษฐกิจให้เคลื่อนที่ไปแบบเรือขนส่ง คือไม่ต้องการให้มีการเคลื่อนที่เร็วนัก แม้ว่าเชื้อเพลิงจะหมด ก็ไม่อันตรายจากการตกลงพื้นและยังสามรถลอยลำอยู่ได้ ยังพอมีเวลาที่จะคิดค้นหาพลังงานในรูปแบบอื่นๆ(ที่รบกวนสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด) มาใช้ทดแทนได้เพื่อการขับเคลื่อนต่อไป การเร่งการพัฒนาทางเศรษฐกิจให้มีอัตราที่โตอย่างรวดเร็วและไร้ขีดจำกัดซึ่งสนองความต้องการความสะดวกสบายของมนุษย์ที่ก้าวล้ำเข้าไปอยู่ในขอบเขตของความฟุ้งเฟ้ออันไม่มีขีดจำกัดแล้ว มันอาจจะเป็นสาเหตุหลักของการเร่งเวลาแห่งการล่มสลายของอารยะธรรมนุษยชาติก็เป็นได้ แน่นอนหล่ะว่าทุกอย่างเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป ซึ่งมันต้องเกดขึ้นตามกฎแห่งธรรมชาติอย่างแน่นอนอยู่แล้ว แต่ว่ามันจำเป็นหรือที่เราจะต้องมาช่วยกันเร่งวันดับของมวลมนุษย์ให้เร็วมากขึ้น การรักษาให้การเจริญเติบโตของ GDP เท่ากับศูนย์จะไม่ดีกว่าหรือ ซึ่งมันก็ไม่ได้หมายว่ากิจกรรมของมนุษย์ทุกอย่างจะหยุดนิ่ง ใช้ทรัพยากรในระดับที่โลกพอจะค้ำจุนเราได้ ทิ้งของเสียในปริมาณที่โลกพอจะรองรับและบำบัดตัวเองได้ หยุดการโฆษณาประชาสัมพันธ์หรือหยุดฉายการ์ตูนหลอกเด็กซะทีว่า ในอนาคตอีกไม่ไกลนักวิทยาศาสตร์สามารถสร้างยานอวกาศที่สามารถขนถ่ายคนออกไปจากโลกนี้ได้ ซึ่งมันเป็นแค่ความเฟ้อฝันของคนบ้าเท่านั้น อันตรายของความเพ้อฝันนี้คือมันปลูกจิตสำนึกที่ชั่วร้ายให้เกิดขึ้นกับมนุษย์โดยเข้าใจว่าเรายังมีบ้านหลังที่สองรองรับเราอยู่เมื่อเราอุจจาระ ปัสสาวะ เต็มบ้านหลังนี้แล้ว เราก็จะสามารถย้ายไปอยู่หลังที่สองได้ นี่อย่างไรหล่ะคืออันตรายจากความเชื่อมั่นและศรัทธาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแบบสุดโต่ง จนทำให้มนุษยชาติลืมไปว่า เรามีบ้านหลังนี้เพียงหลังเดียว ไม่มีหลังที่สองไว้รองรับเราเลย ทำไมเราไม่รักและหวงแหนโลกใบนี้ เราจะเป็นเพียงผู้อาศัยอยู่ในบ้านหลังนี้ในสถานะไม่ต่างอะไรกับเชื้อ HIV ที่อาศัยอยู่ในร่างกายคนป่วยอย่างนั้นหรือ?
ความจริงก็คือว่า ไม่มีทางที่นักวิทยาศาสตร์สามารถสร้างยานอวกาศให้มีสภาพที่สมบูรณ์แบบที่สุดเท่ากับโลกใบนี้ได้ เพราะโลกของเราโดยสภาพตัวมันเองก็คือยานอวกาศลำหนึ่งนั้นเอง แล้วมนุษย์จะโง่ทำในสิ่งที่ไม่จำเป็นต่อการมีชีวิตอยู่ทำไมอีก มนุษย์โลกหรือแม้แต่วิญญาณ ไม่มีวันที่จะหลบหนีการกักกันภายในกำแพงแห่งแรงโน้มถ่วงของโลกนี้ได้หรอก หรือแม้จะเป็นไปได้ก็อาจยังต้องเจอกำแพงแห่งความเวิ้งว้างของอาณาบริเวณที่ไร้ขอบเขตของห้วงอวกาศ มันเป็นไปไม่ได้ที่มนุษย์จะย้ายจากบ้านหลังนี้ ไปสู่บ้านหลังที่สองโดยพกพาเอาความละโมบโลภมากติดตัวไปด้วย และเราจะหนีจากโลกนี้ไปได้อย่างไรถ้าหากว่าแท้จริงแล้วเราก็ยังกำหนดตำแหน่งแห่งหนของตัวเราเองไม่ได้ว่าอยู่ห่างจากขอบที่คงที่ของมหาจักรวาลเท่าไหร่ แล้วเราจะมุ่งหน้าสู่ทิศทางใด? จุดคงที่สัมบูรณ์ของจักรวาลอยู่ที่ใด (ข่าวดีข่าวหนึ่งและข่าวร้ายข่าวหนึ่งที่อยากจะบอกนั้นคือ มีข่าวว่าอีกไม่เกินห้าร้อยปีข้างหน้าด้วยพื้นฐานด้านความรู้ทางเทคโนโลยีปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์จะสามารถสร้างยานอวกาศขนมวลมนุษย์ให้เดินทางไปในอวกาศได้ แต่ มีอีกข่าวหนึ่งที่อยากจะบอกคือว่า จากการคำนวณด้วยปัจจัยลบต่างๆในปัจจุบัน อารยะธรรมของมนุษยชาติจะถึงกาลอวสานในอีก ไม่เกินสามร้อยปีเป็นอย่างมาก เนื่องจากว่า อากาศที่ใช้หายใจไม่มีความสะอาดพอ) ด้วยคำกล่าวที่ว่ามนุษย์ก็เปรียบได้ดังคนตาบอดที่คลำทางด้วยไม้ทางแห่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น ซึ่งก็อาจจะจริง จากทัศนะคติของผู้เขียนแล้ว อาจจะเป็นไปได้ว่าแท้จริงแล้วจุดคงที่สมบูรณ์ของจักรวาลนั้นมันมีอยู่ที่จิตอันบรรลุธรรมแล้วของมนุษย์ทุกคนเพียงแต่รอการค้นพบเท่านั้น
ก็ได้มีผู้เชี่ยวชาญในหลายๆสาขาได้กล่าวเอาไว้ว่า การทำลายล้างสิ่งแวดล้อมของมนุษยชาติได้เคลื่อนผ่านจุดพลิกกลับของสถานการณ์ไปแล้ว นั้นก็คือแม้ว่ามนุษย์จะหยุดกิจกรรมทุกอย่างลงอย่างสิ้นเชิง ก็ไม่อาจจะทำให้สภาวะสิ่งแวดล้อมกลับมาได้เหมือนเดิม สถานการณ์สิ่งแวดล้อมในปัจจุบันเปรียบได้กับรถโดยสารเบรกแตกที่กำลังวิ่งลงทางลาดชันของไหล่เขา แล้วเราจะปล่อยให้ให้อนาคตของอารยะธรรมนุษย์ดำเนินไปตามยถากรรมโดยไม่ได้ลุกขึ้นมาเพื่อกระทำการแก้ไขอะไรเลยอย่างนั้นหรือ? หรือเพียงนั่งสวดมนต์ ภาวะนาของพอจากสิ่งศักดิ์ หรือเพียงแค่ชี้มือไปที่คนอื่นแล้วเรียงร้องให้คนอื่นเปลี่ยนแปลงก่อน ส่วนตัวเราก็ทำตัวตามปกติอย่างที่เคยเป็น การหาทางแก้ไขหรือทางออกของปัญหาที่ใหญ่โตนั้นบางครั้งดูเหมือนว่าตัวเราเพียงคนเดียวไม่อาจจะแก้ปัญหาใดๆได้เลย หรือการกระทำในสิ่งที่เป็นการแก้ปัญหาอาจจะส่งผลเพียงเล็กน้อยแทบจะไร้ผลกระทบในทางบวก แต่นั้นมันก็แสดงออกให้เห็นถึงมโนสำนึกแห่งความถูกต้องอันดีงามที่ยิ่งใหญ่แล้วเพียงแต่เราหาญกล้า อย่างเปลี่ยนแปลงตัวเอง รักษาจิตสำนึกของการประหยัดทรัพยากรในทุกรูปแบบพร้อมทั้งปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งถ้าทุกคนในสังคมทำได้อย่างนี้ ปัญหาที่ดูเหมือนว่าจะเป็นปัญหาใหญ่ก็จะกลายเป็นปัญหาเล็กทันใด ปัญหาที่คิดว่าอาจจะแก้ใขไม่ได้แล้ว ก็อาจจะแก้ไขได้ ถ้าหากตัวเรามีจิตสำนึกที่ดีงามและความพยายามมากพอ อย่างที่มีคำกล่าวว่าพระเจ้าจะเข้าข้างและอวยพรสำหรับคนที่ มีความพยายามเสมอ ดังในนิทานซึ่ง องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช แห่งราชอาณาจักรไทยทรงได้นิพนธ์ ไว้เรื่องพระมหาชนก
หนทางที่ในการแก้ไขปัญหาที่ยิ่งใหญ่นี้ใช่ว่าจะไม่มีทางเป็นไปได้เลย ตามทัศนะของผู้เขียนแล้วมองเห็นว่าแนวเศรษฐกิจแบบพอเพียง พร้อมด้วยการเกษตรทฤษฎีใหม่ ที่พระราชทานโดย องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช แห่งราชอาณาจักรไทยทรงได้ออกแบบไว้เป็นทางเลือกเพียงทางเดียวเท่านั้นที่จะทำให้มนุษยชาติสามารถดำรงเผ่าพันธุ์และอารยะธรรมเอาไว้ให้นานกว่านี้ได้ การศึกษาระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียงนั้นทุกๆคนจะต้องกระทำและจะต้องกระทำด้วยความจริงใจและเข้มข้น ต้องศึกษาให้เข้าใจด้วยจิตสำนึกดีงามแห่งความรับผิดชอบต่อสิทธิของผู้อื่นที่อาศัยอยู่ในยานอวกาศโลกลำนี้เท่านั้น เป็นทฤษฎีที่ทุกคนและหน่วยงาน องค์กรต่างๆสามารถปฎิบัติได้ในชีวิตประจำวันโดยเพียงแค่เสียสละความฟุ้งเพ้อสะดวกสบายเท่านั้น กระทำกิจกรรมต่างๆ ด้วยเหตุผลที่ถูกต้องตามหลักศีลธรรมเท่าที่จำเป็น รู้จักความพอดี พอประมาณโดยถือเอาการไม่ใช้พลังงานอย่างฟุ่มเฟือยเป็นบรรทัดฐาน แน่นอนว่า การลดความฟุ่มเฟือยลงย่อมไม่ทำให้คนจำนวนไม่น้อยต้องคิดว่ามีชิวิตอยู่อย่างยากลำบากบ้าง(แต่ก็ได้ไม่ต่ำกว่ามาตรฐานอย่างมีเหตุมีผล)และแน่นอนว่าการที่ลดหรือตัดสิ่งฟุ่มเฟือยต่างๆลงไปนี้ จะส่งผลให้อีกหลายชีวิตได้มีโอกาสได้กินอาหารอิ่มท้อง ได้มีสิ่งแวดล้อมในการอยู่อาศัยที่ดีขึ้นเพียงพอแก่อัตภาพสำหรับการดำรงชีวิตอยู่ ในส่วนของการเกษตรทฤษฎีใหม่นั้นไว้เป็นเครื่องมือสำหรับผู้ที่มีอาชีพเกษตรกรรมที่ต้องการปลดปล่อยตัวจากการครอบงำของระบบทุนนิยมแบบสามานย์(บริโภคนิยม บันเทิงนิยม) จะเหมาะสมที่สุด และเป็นระบบที่จะสามารถทำให้ตัวผู้ปฎิบัติสามรถที่จะมีชีวิตและนำพาครอบครัวได้อย่างมั่นคง เป็นการลดการพึ่งพาจากภายนอกให้มากที่สุด แต่นั้นก็ไม่ได้หมายความว่าผู้ปฏิบัติตามทฤษฎีใหม่จะตัดตัวเองออกจากระบบขนาดใหญ่ ส่วนเรื่องของการปฎิบัตินั้นได้ระบุ ขั้นตอนและวิธีการไว้อย่างชัดเจนซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้แทบจะทุกแห่งหนในโลกใบนี้ หากศึกษาให้ทฤษฎีให้เข้าใจอย่างถ่องแท้แล้วจะเห็นถึงความชาญฉลาดของ กษัตริย์นักพัฒนา แห่งประเทศไทยได้ ซึ่งพระองค์ทรงเข้าใจถึงระบบความสมดุลแห่งสรรพสิ่งที่สามารถอยู่ร่วมกันและเกื้อกูลกันได้ในระบบชีวมลฑลขนาดเล็กๆที่เป็นฟาร์มของเกษตรกรโดยอาศัยหลักพื้นฐานแห่งความสมดุลพร้อมด้วยพลังงานจากแสงอาทิตย์และการจัดการที่จำเป็นเท่านั้น จากนั้นระบบก็สามารถที่จะให้อาหารส่วนเกินแก่คนได้
เรื่องของการผลิตพลังงานเพื่อใช้ในกิจกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์นั้น เฉพาะแสงอาทิตย์ที่ส่องมายังโลกในแต่ละวัน ถ้าหากว่าเรามุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนและนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์โดยจะต้องยึดถือว่าการเปลี่ยนนั้นมีกิจกรรมที่ส่งผลกระทบทางลบแก่สิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดแล้ว เราก็สามารถทำได้และพอเพียงแก่การดำรงชีวิตอยู่ได้หากแต่ไม่อาจสนองความฟุ่มเฟือยแบบฟุ้งเฟ้อได้เท่านั้น แหล่งพลังงานจากดวงอาทิตย์ก่อให้เกิดการสะสมพลังงานไว้ในพืช ในรูปของ สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ทำให้พืชเจริญเติบโต และสะสมพลังงานไว้ในทุกส่วนของลำต้นและเมล็ด พลังงานจากดวงอาทิตย์ เป็นสาเหตุของการเคลื่อนที่ของอากาศและการไหลของกระแสน้ำ เราสามารถที่จะพัฒนาเครื่องมือเพื่อเปลี่ยนพลังงานเหล่านี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่เราได้ หรือแม้แต่การเปลี่ยนพลังงานจากแสงอาทิตย์โดยตรงไปเป็นพลังงานไฟฟ้าก็สามารถทำได้ ในส่วนการเปลี่ยนพลังงานจากชีวมวลไปเป็นพลังงานไฟฟ้านั้นก็สามารถทำได้โดยจะต้องมีวางแผนและการจัดการการนำมาใช้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะเมื่อมีการตัดต้นไม้เพื่อนำมาเป็นเชื้อเพลิงแล้วจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการปลูกทดแทนอย่างทันทีทันใด และจะต้องมีการดูแลบำรุงรักษาต้นไม้ที่ปลูกทดแทน จนกว่าจะสามารถตัดฟันมาใช้ได้อีกในรอบถัดไป สำหรับการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากชีวมวลนั้นมีขั้นตอนการผลิตที่ไม่ซับซ้อน ไม่ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ก็สามารถทำได้ คนในท้องถิ่น หรือชมชุนสามารถที่จะจัดการบริหารเองได้ นั้นหมายความว่าทุกชมชนสามารถที่จะผลิตพลังงานใช้เองได้อย่างเพียงพอ และถ้าหากทุกๆชุมชนสามารถเชื่อมต่อเครือข่ายสายส่งไฟฟ้าเข้าด้วยกันได้แล้ว ก็จะเป็นการดีอย่างยิ่ง ก็จะทำให้เกิดเครือข่ายแห่งการผลิตพลังงานที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งเรียกว่า การผลิตพลังงานแบบกระจายศูนย์ ในส่วนการสร้างโรงงานผลิตพลังแบบรวมศูนย์ขนาดใหญ่นั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพึ่งพิงเทคโนโลยีขั้นสูง หรือแม้แต่กานนำเข้าเชื้อเพลิง จะต้องมีทีมผู้บริหารจัดการระบบที่เป็นผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น นอกจากนี้แล้วสร้างโรงผลิตพลังงานแบบรวมศูนย์ยังส่งผลกระทบทางลบต่อระบบนิเวศน์และสิ่งแวดล้อมอย่างกว้างขวางและยาวนานด้วย ทั้งยังเป็นสาเหตุของปัญหาเศรษฐกิจและสังคมด้วย
หากเชื่อมโยงระบบปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กับ การผลิตและการใช้พลังงานอย่างยั่งยืนแล้วจะเห็นว่าทุกประเทศสามารถที่จะลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลลงได้และทุกประเทศสามารถที่จะพึ่งพิงตัวเองจากพลังงานที่ผลิตได้ในประเทศ อาจจะกล่าวได้ว่าเกินครึ่งของพลังงานที่ต้องการใช้ภายในประเทศ(อย่างเช่นประเทศเดนมาร์ค) เมื่อเป็นเช่นนี้ก็เท่ากับว่ามนุษยชาติได้ช่วยกันลดการทำลายสิ่งแวดล้อมและการใช้ทรัพยากรของโลกเพื่อเป็นการยับยั้งและชะลอความเร็วเวลาแห่งการล่มสลายของอารยะธรรมมนุษย์ไว้ได้
โดย TREE Songkram
- maitree's blog
- Login or register to post comments