โพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยของ "พ่อ"
ศูนย์เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง

ติดต่อเรา

มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ
เลขที่ ๑๑๔ ซอย บี ๑๒ หมู่บ้านสัมมากร สะพานสูง กรุงเทพฯ ๑๐๒๔๐
สำนักงาน ๐๒-๗๒๙๔๔๕๖ (แผนที่)
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง 038-198643 (แผนที่)


User login

ไปบ้านพ่อเลี่ยม ไปเยี่ยมพริกไทย ไปสวนออนซอนกัน

  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_handler_argument::init() should be compatible with views_handler::init(&$view, $options) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_argument.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter::options_validate() should be compatible with views_handler::options_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter::options_submit() should be compatible with views_handler::options_submit($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter_term_node_tid::value_validate() should be compatible with views_handler_filter::value_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/modules/taxonomy/views_handler_filter_term_node_tid.inc on line 0.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_style_default::options() should be compatible with views_object::options() in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_style_default.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_row::options_validate() should be compatible with views_plugin::options_validate(&$form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_row.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_row::options_submit() should be compatible with views_plugin::options_submit(&$form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_row.inc on line 0.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter_boolean_operator::value_validate() should be compatible with views_handler_filter::value_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter_boolean_operator.inc on line 0.

จน เครียด กินเหล้า!

จะมีสักกี่คน ที่รู้ที่มาของวลีดังจากโฆษณานี้เมื่อสี่ปีก่อน (พ.ศ.๒๕๔๙)

นายทองเลี่ยม บุตรจันทา หรือพ่อเลี่ยม ของใครหลายๆ คน เป็นบุคคลต้นเรื่องของวลีดัง "จน เครียด กินเหล้า" จากโฆษณาชุด "เลิกเหล้า เลิกจน เริ่มต้นเข้าพรรษานี้" ของสสส.ชุดนี้ แม่ตุ๋ย (นางสมบูรณ์ บุตรจันทา-ภรรยา) เล่าอย่างอารมณ์ดีว่าทางสสส.มาขออนุญาตว่าจะมีโครงการรณรงค์เลิกเหล้าโดยทำสื่อโฆษณา เอาชีวิตของพ่อเลี่ยมเป็นคนต้นเรื่อง ทางนี้ก็บอกว่าได้ ไม่เห็นต้องขออนุญาตอะไร ใช้ได้เลย ตอนแรกจะให้ครอบครัวพ่อเลี่ยมแสดงเองด้วยซ้ำ แต่เนื่องจากการเดินทางที่เป็นปัญหา ทางสสส.จึงหาตัวแสดงแทน ซึ่งก็แสดงได้ดีจนถูกใจใครหลายๆ คน และกลายเป็นวลีเด็ดที่ใครๆ ชอบพูดกันในยุคนั้น

ก่อนที่จะมาเป็นพ่อเลี่ยมในปัจจุบันที่เป็นปราชญ์ชาวบ้าน เป็นที่รู้จักในวงกว้าง โดยเฉพาะผู้ที่สนใจวิถีชีวิตแบบพอเพียง ในอดีต พ่อเลี่ยมเคยมีวิถีชีวิตแบบเกษตรกรไทยส่วนใหญ่ บ้านเดิมอยู่จังหวัดบุรีรัมย์ที่ทั้งร้อนและแล้ง ทำไร่มันสำปะหลังก็ขายไม่ได้ราคา ประสบปัญหาภัยธรรมชาติ มีแต่หนี้ค่าปุ๋ย ค่ายา และติดอบายมุข เล่นการพนัน แม่ตุ๋ยด่าก็หนีไปกินเหล้า เมื่อได้ผลผลิตนำไปขาย ก็ต้องใช้หนี้ เหลือเงินซื้ออาหารกินเพียงไม่กี่มื้อ ก็ต้องกู้เงินมาอีก เพราะต้องกินต้องใช้ในครอบครัว

ชีวิตวนเวียนเป็นวัฏจักร จนถึงวันที่หนี้พอกพูนจนไม่สามารถหยิบยืมเงินใครได้อีก จำเป็นต้องขายที่ดินเพื่อนำมาใช้หนี้ พ.ศ.๒๕๓๐ จึงได้อพยพครอบครัวมาอยู่ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ช่วงแรกๆ ก็ยังคงใช้ชีวิตแบบเดิม ปลูกอ้อย ปลูกมันสำปะหลัง ข้าวโพด เพื่อรอเก็บเกี่ยวผลผลิต จะได้นำไปขายและนำเงินมาเลี้ยงดูครอบครัว (และลงอบายมุขเหมือนเดิม) แต่ในช่วงที่ยังเก็บเกี่ยวผลผลิตไม่ได้ ก็ต้องไปกู้หนี้ยืมสินมาเพื่อเลี้ยงปากเลี้ยงท้องประทังชีวิต พอเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ก้อต้องหักส่วนหนึ่งไปใช้หนี้ เหลือเงินไม่พอเลี้ยงครอบครัว ก็ถูกแม่ตุ๋ยบ่นด่าเป็นกิจวัตรประจำวันไป

ชีวิตของพ่อเลี่ยมพลิกกลับจากหน้ามือเป็นหลังมือเมื่อวันหนึ่ง ได้ไปเข้ารับการอบรมร่วมกับตชด.ที่มีพ่อผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิมเป็นวิทยากร พ่อผู้ใหญ่วิบูลย์บอกว่าเกษตรกรไทยไม่รู้จักตัวเอง ถึงได้จนอยู่อย่างทุกวันนี้ไง พ่อเลี่ยมนึกเถียงอยู่ในใจว่าทำไมจะไม่รู้จักตัวเอง พ่อผู้ใหญ่สอนให้เรารู้จักตัวเอง ว่าเราอยู่อย่างไร กินอย่างไร ใช้อย่างไร ด้วยวิธีการทำบัญชีครัวเรือน จะได้รู้ว่าเราได้เงินมาเท่าไหร่ นำไปใช้จ่ายอย่างไร เพื่อที่จะได้ตัดรายจ่ายในส่วนที่ไม่จำเป็นออกไป ได้มีเงินเหลือมากขึ้น

พอกลับมาบ้านได้ลงมือทำจริงจัง ก็เห็นภาพขัดเจนว่าที่เป็นหนี้เป็นสินอยู่ทุกวันนี้ ก็เพราะมีแต่รายจ่ายที่มาจากความต้องการเป็นส่วนใหญ่ รายจ่ายที่จำเป็นจริงๆ มีน้อยมาก หลังจากนั้นพ่อเลี่ยมจึงเลิกอบายมุขทั้งหลายด้วยการ "หักดิบ" และเริ่มลดรายจ่ายค่ากับข้าวด้วยการ "ปลูกทุกอย่างที่กิน และกินทุกอย่างที่ปลูก" และยังสอนให้ลูกๆ ได้คิดประหยัดด้วยการเลิกกินน้ำอัดลมเพื่อให้มีเงินเหลือ ความสุขในครอบครัวก็กลับมา ทุกคนช่วยกันปลูกต้นไม้ ทำสวนอย่างมีความสุข ซึ่งนั่นเป็นที่มาของชื่อ "สวนออนซอน"

ในสวนออนซอน พ่อเลี่ยมทำตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระราชดำรีเรื่องการปลูกป่า ๓ อย่าง ประโยชน์ ๔ อย่าง ที่เราเรียกกันว่า "วนเกษตร" ปลูกทั้งไม้ที่ไว้ใช้ประโยชน์ ไม้ผล ไม้ประดับ ไม้ดอก พืชกินหัว และสมุนไพร ปลูกแบบธรรมชาติ ให้ต้นไม้พึ่งพาอาศัยกันเอง มีเหลือกินเหลือใช้ก็ขาย ในที่สุดก็สามารถปลดหนี้ได้หมด
ทุกวันนี้ในสวนออนซอน มีต้นไม้มากกว่า ๓๐๐ ชนิด ที่พ่อเลี่ยมลงมือปลูกเองและรู้จักทุกต้น ต้นไม้อะไรที่แม่ตุ๋ยอยากได้ หรือคิดว่าแม่ตุ๋ยจะต้องชอบ พ่อเลี่ยมก็จะเอามาปลูกให้และรอคอยวันเติบโตด้วยความรัก และไม่นานมานี้ พ่อเลี่ยมต้องการแปลงปลูกป่าวนเกษตรเพิ่ม เพื่อต้องการคืนชีวิตให้ธรรมชาติให้มากที่สุด จึงได้เริ่มทำ "สวนออนซอน ๒" ขึ้นมา อยู่ใกล้ๆ กับสวนออนซอน ๑ แม่ตุ๋ยพาพวกเราเดินลัดไปตามคันนา ระหว่างทางเดิน ตรงคันนา มีต้น..... ต้นใหญ่อยู่ทางซ้ายมือ แม่ตุ๋ยชี้ให้ดูว่ามียอดเป็นรูปหัวใจ ที่เราดูยังไงก็ไม่เห็น คงเพราะไม่ได้มีความรักอยู่ในหัวใจเหมือนคนบ้านนี้ แต่บ่อน้ำใหญ่ทางด้านขวามือ ที่พ่อเลี่ยมตั้งใจขุดให้เป็นรูปหัวใจ อันนี้เห็นและชอบแล้วยังแอบอิจฉาด้วย ตลอดทางที่พวกเราเดินดูสวนออนซอนหรือไม่ว่าจะไปไหนๆ ในหมู่บ้านจะมี "พริกไทย" สุนัขพันธุ์ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์ ไปเป็นเพื่อนตลอด และคอยชักชวนให้เล่นด้วยการคาบท่อนไม้ไว้ในปากแล้วส่งเสียงเล็กน้อย กระดิกหางเป็นสัญญาณว่าอยากให้เล่นด้วย พริกไทยฉลาดและน่ารักมากและยังทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเจ้าบ้านได้เป็นอย่างดี

จัดได้ว่าเป็นบ้านที่มี "ฐานะ" บ้านหนึ่ง ไม่ใช่ร่ำรวย "เงินทอง" แต่ปราศจาก "หนี้" และยังร่ำรวย "น้ำใจ" อีกด้วย ถึงจะไม่ทำไร่อย่างจริงจังเพื่อให้มีรายได้เป็นกอบเป็นกำอย่างที่เคยๆ ฝัน แต่บ้านนี้ก็มีรายจ่ายน้อยมาก เพราะของกินของใช้ ก็หาเอาได้จากในบ้าน ของใช้พวกสบู่ แชมพู น้ำยาล้างจาน น้ำยาเอนกประสงค์ แม้กระทั่งครีมบำรุงผิว บ้านนี้เขาทำเองหมด แก๊สไม่ต้องซื้อ เพราะใช้เตาถ่าน ข้าวพันธุ์ดีก็ปลูกเอง สีเอง น้ำตาลอ้อยทำเอง ปลูกอ้อยเอง หีบและเคี่ยวทำน้ำตาลเอง และของเหล่านี้ยังเหลือไว้ขายได้ด้วยซ้ำ นั่นเป็นที่มาของการปลดหนี้ได้ในเวลาเพียงไม่กี่ปี เป็นที่กังขาของเพื่อนบ้านและคนในชุมชนบางคน ว่าบ้านนี้ไม่ทำไร่ทำสวน มัวแต่ปลูกป่าแล้วจะเอาอะไรกิน

พี่ดาวเรียง น้องชายของพ่อเลี่ยมเล่าให้ฟังว่า พ่อเลี่ยมได้ชักชวนให้ครอบครัวของพี่น้องทำตาม ชีวิตครอบครัวก็ดีขึ้น และเพื่อนบ้านก็เริ่มหันมาสนใจทำบ้าง แต่ยังมีปัญหาเรื่องหนี้สิน เรื่องเงิน เช่น ถ้าเพื่อนมายืมเงิน เรามีแต่เราไม่ให้ยืมเขาก็โกรธเรา ถ้าเราให้เขายืมแล้วเขาไม่ใช้คืน เราก็โกรธเขา หรือเราไม่มีเงินให้ยืมเขาก็โกรธเรา จึงได้รวมตัวกันหาความรู้เพิ่ม ไปดูงานที่ชุมชนอื่นว่าเขาจัดการเรื่องการเงินกันอย่างไร ก็พบว่ามีการจัดตั้งกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ ที่ให้สมาชิกกลุ่มนำเงินมาออมร่วมกัน เพื่อให้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน คนที่ไม่มีเงิน ก็สามารถกู้ได้ในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ คนที่มีเงินเหลือพอจะเก็บออม ก็จะได้ผลตอบแทนที่ดีและสะดวกกว่านำไปฝากไว้กับธนาคารซึ่งไม่สะดวกในการเดินทาง จึงมีการตั้งกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ขึ้นมาในปี ๒๕๔๐

วันที่ ๑๕ ของทุกเดือน จะเป็นวันดำเนินการของกลุ่มฯ จะฝาก กู้ เบิกสวัสดิการ ก็ทำให้เสร็จในวันเดียว ไม่เสียเวลา เริ่มแรกมีสมาชิก ๓๒ คน ต่อมาขยายไปเกือบทั้งหมู่บ้าน แต่มาสะดุดเมื่อโครงการของรัฐบาลคือกองทุนหมู่บ้านละล้านเข้ามา ชาวบ้านเริ่มหยุดส่งเงินฝาก ไม่ชำระหนี้ เอาเงินไปต่อทุนเพื่อกู้กองทุนหมู่บ้านแทน เพราะได้เงินเยอะกว่า แต่ก็ยังมีสมาชิกบางส่วนที่ไม่หลงไปกับเหยื่อล่อให้ตกหลุมพราง ทำให้กองทุนดำเนินมาได้จนถึงทุกวันนี้ และปัจจุบัน เริ่มมีสมาชิกหูตาสว่างขึ้น กลับเข้ามารวมกลุ่มเช่นเดิม แต่ยังไม่มากเหมือนเมื่ออดีต
กลุ่มนี้มีกรรมการดูแล เป็นพี่น้องของพ่อเลี่ยมที่ดูแลมาตั้งแต่แรกตั้งกลุ่ม โดยที่ไม่ได้ค่าตอบแทนหรือผลประโยชน์ใดๆ ทำด้วยใจและความหวังดีล้วนๆ เดิมวางกฏไว้ว่ากรรมการกลุ่มจะมีค่าตอบแทน และเมื่อกลุ่มเข้มแข็งแล้ว จะมีการเปลี่ยนกรรมการดูแลให้ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเพื่อความไว้เนื้อเชื่อใจกัน แต่ ๑๓ ปีที่ผ่านมา กรรมการกลุ่มไม่เคยได้รับค่าตอบแทนเลยแม้แต่บาทเดียว และยังคงมุ่งมั่นจะทำต่อไป เพื่อประโยชน์ของชุมชน กฏเกณฑ์ของกลุ่มฯ ก็มีการปรับเปลี่ยนไปตามสภาพปัญหาบ้าง แต่ยังคงไว้ซึ่งประโยชน์ส่วนรวมต่อไป

ความรู้จากพ่อผู้ใหญ่วิบูลย์ที่พ่อเลี่ยมนำมาใช้กับชีวิตตนเองอีกอย่างหนึ่ง มาจากพระราชประสงค์ขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ทรงเล็งเห็นปัญหาที่ชาวนาผู้ปลูกข้าว ยังต้องซื้อข้าวกิน พ่อผู้ใหญ่บอกว่า ชาวนาไทยโง่ ปลูกข้าวเองแต่ไม่มีข้าวกิน เพราะเอาข้าวเปลือกไปขาย แทนที่จะสีเอง ขายเอง เพราะส่วนต่างของราคาข้าวเปลือกกับข้าวสารมันสูง นายทุนและพ่อค้าคนกลางก็ได้กำไรจากตรงนี้ ชาวนาก็เป็นหนี้เป็นสินกันต่อไป นอกจากการให้ความรู้ในเรื่องการสีข้าวเองแล้ว ธนาคารข้าว จึงเกิดขึ้นในปี ๒๕๔๒ โดยให้สมาชิกที่พอมี นำข้าวมาให้ส่วนกลางเพื่อเป็นกองทุนเริ่มต้น ไว้ในยุ้งชุมชน ใครมีข้าวเหลือกินก็เอามาฝากไว้ ใครไม่มีข้าวกินก็มายืมไป และต้องนำข้าวมาคืนในวันงานสู่ขวัญข้าว ในวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ พร้อมกับดอกเบี้ยร้อยละ ๒๐ เช่นยืมไป ๑ กิโล ตอนนำมาคืน ต้องคืน ๑.๒ กิโล ผลกำไรจากการขายข้าวที่เป็นดอกเบี้ย ส่วนหนึ่งนำเข้าสวัสดิการของกลุ่มออมทรัพย์ ที่เหลือจึงให้เป็นสวัสดิการแก่ผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้พิการ และถ้ายังเหลือก็บริจาคให้คนจนในหมู่บ้าน

ตอนนี้ธนาคารข้าวของบ้านนาอีสานไม่เหลือข้าวในยุ้งอีกแล้ว เพราะโครงการประกันราคาสินค้าของรัฐบาลเข้ามาทำให้ชาวนานำข้าวไปขายหมด ไม่มีใครนำข้าวมาฝากในธนาคาร ทุนที่ลงไว้แต่แรกก็หมดไป... ฟังอย่างนี้แล้วก็น่าเศร้าใจ สงสารคนทำงาน ที่เสียสละทุกอย่างด้วยเจตนาที่ดี

ถึงวันนี้ ชุมชนบ้านนาอีสานที่ประกอบไปด้วยชาวบ้านที่อพยพมาจากภาคอีสาน ๑๒ จังหวัด และจากนครปฐมกับชลบุรี จะไม่เข้มแข็งเหมือนเมื่อก่อนปี ๒๕๔๗ แต่ยังมีกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งที่ยังคงรวมตัวกัน ดำเนินวิถีชีวิตในแบบที่พวกเขาเชื่อว่า เป็นความสุขที่แท้จริง ที่ไม่ต้องไปดิ้นรนแสวงหาให้เหนื่อย

ความรู้ในเรื่องการทำบัญชีครัวเรือน และวิถีการพึ่งพาตนเองเพื่อให้หลุดพ้นจากการเป็นหนี้ ได้ถูกถ่ายทอดให้แก่ชาวบ้านในชุมชนเดียวกัน และแพร่ขยายออกไป พ่อเลี่ยมได้รับเชิญให้ไปบรรยายให้ชุมชนต่างๆ ฟัง เพื่อเป็นแบบอย่างให้ชุมชนเข้มแข็ง อยู่ได้อย่างมีความสุข หลักการง่ายๆ ในการดำเนินชีวิตที่ได้จากงานนี้คือ เราต้องรู้จักตนเอง รู้ว่าปัญหาของตัวเองคืออะไร และรู้ว่าตัวเองมีทรัพยากรอะไรบ้าง จะนำไปใช้อย่างไรให้พอเหมาะ

ได้คุยกับพ่อเลี่ยมก็วันที่พวกเรากำลังจะกลับแล้ว เพราะพ่อเลี่ยมติดงานเป็นวิทยากรที่อำเภอสามเงา จังหวัดตาก ถึงแม้จะเป็นช่วงสั้นๆ แต่ก็สัมผัสได้ถึงความรักในธรรมชาติและผืนแผ่นดินของครอบครัวบุตรจันทา

ล่าสุดพ่อเลี่ยมบอกว่าอยากจะซื้อที่ที่จังหวัดตากทำเป็นสวนออนซอน ๓ เอาไว้ปลูกป่า ปลูกต้นไม้ไทย ไม้โบราณทางภาคเหนือ ที่ปัจจุบันจะไม่เหลือแล้ว เพื่อการอนุรักษ์ อยากจะคงสภาพป่าให้เป็นป่าตลอดไป

ใครมีที่มีทาง ก็ปลูกต้นไม้กันให้เยอะๆ ปลูกไปเถอะ ไม่เสียอะไร คนไม่มีที่ ก็ปลูกต้นไม้ในใจได้นะ พ่อเลี่ยมบอก

พ่อเลี่ยมในวันนี้ แววตาที่นิ่งแต่ดูอบอุ่น ใจดี มีความสุข จนนึกไม่ออกว่า "ตาเลี่ยม" ในอดีตของ "ยายตุ๋ย" ที่วันๆ เอาแต่ กินเหล้า เมา เครียด หน้าตาเป็นยังไง และไม่แปลกใจเลยว่าทำไมคนบ้านนี้ถึงอารมณ์ดี ยิ้มเก่ง หัวเราะง่าย จริงจริง