9 ฐานเรียนรู้
ความรู้ที่น่าสนใจ (Documents on web)
ติดต่อเรา
มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ
เลขที่ ๑๑๔ ซอย บี ๑๒ หมู่บ้านสัมมากร สะพานสูง กรุงเทพฯ ๑๐๒๔๐
สำนักงาน ๐๒-๗๒๙๔๔๕๖ (แผนที่)
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง 038-198643 (แผนที่)
User login
ลิงค์เครือข่าย
ถั่วงอก..…..เพาะกินเองในบ้าน
ถั่วงอก..…..เพาะกินเองในบ้าน
.............ปัจจุบันถั่วงอกเป็นผักเศรษฐกิจที่น่าสนใจ เฉพาะในกรุงเทพฯ มีการบริโภควันละ 200,000 กิโลกรัมนอกจากนี้เป็นผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยเฉพาะมีโปรตีนวิตามินและเกลือแร่เป็นผักชนิดเดียวที่ใช้เวลาเพาะเพียง 3 - 4 วันจึงสามารถทำรายได้ดีกับผู้เพาะแต่พบว่าถั่วงอกส่วนใหญ่ที่จำหน่ายนั้นมีสารเคมีปนเปื้อนเพราะผู้ขายต้องการสนองตลาดผู้บริโภคที่ชอบถั่วงอกที่มีความกรอบขาว และอวบอ้วนนอกจากนี้ผู้ขายยังต้องการเร่งการงอกของถั่วการรักษาถั่วงอกให้คงความสดอยู่นานระหว่างการขนส่งสู่ตลาดและการรอจำหน่ายสู่ลูกค้า
..............ดังนั้นผู้ผลิตจึงใช้สารเคมีจำพวกสารเร่งสารอ้วน สารฟอกขาว (โซเดียมไฮโดรซัลไฟต์) สารคงความสด (ฟอร์มาลิน)ซึ่งสารเคมีเหล่านี้กระทรวงสาธารณสุขไม่อนุญาตให้ใช้ผสมในอาหารเพราะล้วนเป็นสารที่มีพิษต่อร่างกายสูงหากรับประทานเข้าไปอาจจะมีผลต่อระบบทางเดินอาหาร ระบบหายใจระบบประสาทและอาจจะทำให้เสียชีวิตได้
หลักการพื้นฐานทั่วไปในการเพาะถั่วงอก
ปัจจัยที่สำคัญที่การเพาะถั่วงอกมี 6 อย่างด้วยกันคือ
1. เมล็ดถั่ว
2. ภาชนะเพาะ
3. น้ำ
4. วัสดุเพาะ
5. ภูมิอากาศ
6. แสงสว่าง
1. เมล็ดถั่ว
เมล็ดถั่วที่นำมาเพาะเป็นถั่วงอกที่นิยมบริโภคที่สุดคือเมล็ดถั่วเขียว เมล็ดถั่วเขียวที่สามารถนำมาเพาะเป็นถั่วงอกนั้นมี 2 พันธุ์ คือถั่วเขียวผิวมัน (เปลือกเมล็ดสีเขียว) และเมล็ดถั่วเขียวผิวดำเมล็ดจะต้องใหม่ไม่เก่าเก็บเพราะอัตราการงอกจะลดลงเรื่อยตามระยะเวลาที่เก็บไว้เมล็ดต้องสะอาด ไม่มีเชื้อจุลินทรีย์ และจำนำเมล็ดมาทำความสะอาดอย่างดีก่อนเพาะโดยการแช่เมล็ดถั่วในน้ำอุ่น 50 - 60 องศาเซลเซียสหรือผสมน้ำเดือดจัด 1 ส่วนกับน้ำเย็น 1 ส่วน แช่ทิ้งไว้จนน้ำเย็น แล้วแช่ต่อไปนาน 6 - 8 ชั่วโมงวิธีนี้นอกจากจะฆ่าเชื้อโรคแล้ว ยังกระตุ้นให้ถั่วงอกงอก ได้เร็วขึ้นด้วย
2. ภาชนะ
ภาชนะเพาะทำหน้าที่รองรับเมล็ดถั่ว ป้องกันแสงสว่างปรับสภาพความชื้นและอุณหภูมิที่เหมาะสมกับการงอก จำกัดขอบเขตการงอกของถั่วทำให้ถั่วงอกมีลักษณะลำต้นอวบสั้น ภาชนะเพาะควรมีปากแคบเพื่อจำกัดการงอกของถั่วภาชนะดินเผาจะเก็บความชื้นได้ดีกว่าภาชนะพลาสติก แต่ภาชนะพลาสติกคงทน น้ำหนักเบาราคาถูก ทำความสะอาดง่าย โดยปกติเมล็ดถั่ว 1 ส่วน จะโตเป็นถั่วงอกประมาณ 5 - 6 เท่าโดยน้ำหนักดังนั้นขนาดของภาขนะควรจะพอเหมาะกับปริมาณของเมล็ดถั่วที่เพาะด้วยภาชนะเพาะควรมีสีทึบเพื่อป้องกันแสงสว่างหรือเป็นภาชนะที่มีฝาปิด ภาชนะเพาะจะต้องมีรูระบายน้ำทั้งด้านล่างและด้านข้างขนาดของจะต้องเล็กกว่าเมล็ดถั่ว ภาชนะเพาะจะต้องสะอาดเสมอ ควรล้างทำความสะอาดคว่ำตากแดดให้แห้งหรือลวกน้ำร้อยฆ่าเชื้อโรค แล้วผึ่งแห้งหลักจากใช้งานแล้วทุกครั้ง
3. น้ำ
น้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญสำหรับการเพาะ อาจจะเป็นน้ำจากแหล่งธรรมชาติ น้ำบาดาลหรือน้ำประปาที่สะอาดและมีอุณหภูมิปกติเมล็ดถั่วจะต้องได้รับน้ำสะอาดและปริมาณที่พอเพียงสม่ำเสมอตลอดการเพาะ 2 - 3 วันหากขาดน้ำจะทำให้การงอกชะงัก ไม่เติบโตสมบูรณ์เพราะน้ำเป็นปัจจัยที่ทำให้ถั่วงอกเจริญเติบโตระบายความร้อยที่เกิดขึ้นระหว่างการงอก ความร้อนภายในภาชนะจะทำให้ถั่วเน่าควรรดน้ำสะอาดสม่ำเสมอทุก 2 - 3 ชั่วโมง หากภาชนะเป็นพลาสติกและรดน้ำสะอาดทุก 3 - 4 ชั่วโมงหากภาชนะเป็นประเภทดินเผา
การรดน้ำจะรดจนกว่าน้ำที่ไหลออกจากภาชนะเพาะมีอุณหภูมิเท่ากับน้ำที่ใช้รด
รดน้ำมากถั่วจะเน่าหากรดน้ำน้อยไปถั่วจะรากยาวแตกฝอย นอกจากนี้ ควรตั้งภาชนะเพาะไว้ในที่แห้งระบายน้ำและอากาศได้ดี
4. วัสดุเพาะ
อาจจะใช้วัสดุเพาะเพื่อช่วยเก็บความชื้นเพิ่มน้ำหนักกดทับทำให้ถั่วงอกอวบอ้วน วัสดุเพาะได้แก่ ทราย แกลบเผา ฟางข้าว ฟองน้ำฯลฯ การใช้วัสดุเพาะต้องอาศัยความชำนาญ
5. ภูมิอากาศ
ฤดูฝน ฝนตกมากความชื้นในอากาศสูง ภาวะการเจริญเติบโตของถั่วจะช้าและเน่าง่ายปริมาณน้ำที่ใช้รดก็จะน้อยลง
6. แสงสว่าง
แสงสว่างทำให้ถั่วมีสีเขียวลำต้นผอมยาว และมีกลิ่นถั่ว ดังนั้นภาชนะเพาะควรทึบแสง หรือมีสีดำ สีเขียวสีน้ำเงิน หรืออาจจะมีฝาปิด หรือตั้งภาชนะไว้ในที่มืดไม่มีแสง
หนังสืออ้างอิง
คมสัน หุตะแพทย์ และกำพล กาหลง.สารพัดวิธีเพาะถั่วงอก สยามศิลปการพิมพ์ : กรุงเทพมหานคร.2545.
วิธีการเพาะถั่วงอกในถังพลาสติก
อุปกรณ์
1. ถังพลาสติกสีเขียวทึบแสงมีฝาปิด ขนาดกว้าง 7 นิ้วสูง 6 นิ้วเจาะรูที่ก้น ขนาดเล็กกว่าเมล็ดถั่วเขียวประมาณ 12 รู
2. เมล็ดถั่วเขียวหนักประมาณ 200 กรัม
3. แผ่นฟองน้ำตัดเป็นแผ่นวงกลมขนาดใหญ่กว่าความกว้างของถังเล็กน้อย 1 แผ่น
4. น้ำอุ่น (น้ำเดือด 1 ส่วน ผสมกับน้ำอุณหภูมิปกติ 1 ส่วน)
5. น้ำสะอาดสำหรับรดน้ำถั่วทุก 3 - 4 ชั่วโมง
ขั้นตอน/วิธีการเพาะ
1. การเตรียมเมล็ดถั่ว
- เลือกเมล็ดถั่วที่ไม่เก่าเก็บเศษสกปรกและเลือกเมล็ดที่ไม่สมบูรณ์ทิ้ง
- แช่ถั่วในน้ำอุ่นและแช่ต่อไปจนน้ำเย็น ประมาณ 6 - 8 ชั่วโมง เมล็ดถั่วจะพองขึ้นเก็บเมล็ดที่ลอยน้ำทิ้งไป
- ล้างถั่วให้สะอาด
2. การเตรียมภาชนะและวัสดุเพาะ
- ภาชนะเพาะจะต้องสะอาด แห้ง ผ่านการตากแดดหรือฆ่าเชื้อแล้ว
- ฟองน้ำสะอาดผ่านการฆ่าเชื้อด้วยน้ำร้อนแล้วตากแดดแห้ง
3. นำถั่วเขียวจากข้อ 1 ใส่ในถังเพาะเกลี่ยให้เสมอกัน
4. วางฟองน้ำปิดทับบนเมล็ดถั่ว
5. รดน้ำบนฟองน้ำให้ทั่ว อาจจะใช้ฝักบัวรดน้ำ หรือสายยางก็ได้
6. ปิดฝาถังเพาะวางไว้ในที่ร่ม ไม่ร้อน และพื้นแห้ง อาจจะวางบนอ่างล้านจานในล้าน
7. รดน้ำทุก ๆ 3 - 4 ชั่วโมง โดยรดน้ำให้ทั่วบนฟองน้ำ ให้น้ำไหลผ่านออกทางรูด้านล่างควรรด 2 ครั้ง ครั้งแรกเพื่อระบายความร้อน ครั้งที่ 2 เพื่อให้ถั่วชุ่มน้ำหากเวลากลางวันที่ไปทำงานหรือกลางคืน อาจจะวางถังเพาะ เปิดฝาไว้ในอ่างล้างแล้วปล่อยให้น้ำค่อย ๆ หยดตลอดเวลา
8. รดน้ำตามข้อ 7 นาน 3 วัน วันที่ 2 ถั่วงอกจะถอดปลอก ควรรับประทานในวันที่ 3 หรือ 4 หากยังไม่รับประทานให้นำถั่วใส่ในตู้เย็น หรือเก็บถั่วงอกใส่ถุงพลาสติกหากทิ้งไว้ถั่วจะงอกยืดยาวออก
9. เก็บถั่วงอกออกจากถังทำความสะอาดทุกครั้งที่ใช้แล้ว
ถั่วงอกเพาะกินเองได้ในบ้านด้วยวิธีง่ายๆลองเพาะดูหากทำได้ดีแล้ว
หลักพื้นฐาน 3 ประการ ในการเพาะถั่วงอกตัดรากแบบอินทรีย์
1. เมล็ดถั่วเขียว ที่จะนำมาเพาะจะต้องมีเปอร์เซ็นต์ความงอกสูงสายพันธุ์ที่คุณนิมิตร์แนะนำและใช้อยู่คือ พันธุ์"กำแพงแสน 2"เนื่องจากเป็นถั่วเขียวที่มีเมล็ดใหญ่ทำให้ต้นถั่วงอกที่เพาะได้มีขนาดต้นโต ยาว และอวบอ้วน น่ารับประทาน
2. ภาชนะที่ใช้เพาะถั่วงอกจะต้องทึบแสงและมีการระบายน้ำดี เช่นการเพาะในตะกร้าพลาสติคให้เอาถุงดำมาคลุมไว้และตั้งไว้ในห้องมืดหรือถ้าเพาะในบ่อซีเมนต์จะต้องปิดปากบ่อให้มิดชิด
3. มีการให้น้ำอย่างเหมาะสมและเพียงพอที่จะทำให้ถั่วงอกที่เพาะไม่เกิดความร้อนที่สะสมมากเกินไปวิธีการสังเกตง่ายๆ ว่ามีความร้อนสะสมหรือไม่โดยผู้เพาะใช้มือสัมผัสเมล็ดถั่วเขียวส่วนของชั้นบนสุดว่ารู้สึกร้อนหรือไม่และในการให้น้ำในแต่ละครั้งจะต้องไม่มีไอจากความร้อนขึ้นมาถ้าตะกร้าพลาสติคหรือวงบ่อซีเมนต์ที่ใช้เพาะถั่วงอกมีความร้อนสะสมมากเกินไปจะมีผลต่อการเจริญเติบโตของถั่วงอก จะได้ถั่วงอกลำต้นเล็กไม่อวบอ้วนและต้นถั่วงอกมีจำนวนรากฝอยมากไม่น่ารับประทาน
การเพาะถั่วงอกแบบนี้เริ่มจากการคัดเลือกเมล็ดถั่วเขียวจะต้องคัดเมล็ดที่ไม่สวยออกหลังจากนั้นนำเมล็ดมาล้างทำความสะอาด 2-3 น้ำ เทคนิคที่สำคัญก็คือจะต้องนำถั่วเขียวที่ทำความสะอาดแล้วมาแช่ในน้ำอุ่นนานประมาณ 8 ชั่วโมง(วิธีเตรียมน้ำอุ่นให้ใช้น้ำเดือด 1 ส่วนผสมกับน้ำเย็นธรรมดา 3 ส่วน)หลังจากแช่น้ำอุ่นแล้วนำมาล้างด้วยน้ำสะอาดอีก 2-3 ครั้งจนน้ำดูใสสะอาด
อุปกรณ์ที่ใช้เพาะถั่วงอกแบบตัดรากจะใช้ตะกร้าพลาสติกที่มีปากกว้างประมาณ15 นิ้วและมีความสูงประมาณ 12 นิ้วมีตาข้างรอบตะกร้าเพื่อเป็นรูระบายน้ำหลังจากนั้นให้วางแผ่นตะแกรงพลาสติกเป็นฐานรองก้นตะกร้า ปูทับด้วยแผ่นกระสอบป่านปูแผ่นตะแกรงพลาสติกทับอีกที และโรยเมล็ดถั่วเขียวให้ทั่วตะแกรงหนาประมาณ 1.50 เซนติเมตรถือว่าเสร็จสิ้น 1 ชั้น จากนั้นปูทับด้วยกระสอบป่านตามด้วยตะแกรงพลาสติกแล้วโรยเมล็ดถั่วให้มีความหนาเท่าเดิม ทำซ้ำแบบนี้ 4 ชั้นแต่ในชั้นสุดท้ายเมื่อโรยเมล็ดถั่วเสร็จแล้วหลังจากปิดทับด้วยตะแกรงพลาสติกแล้วจะต้องปิดทับด้วยกระสอบป่าน 2 ผืนซ้อนกันหลังจากนั้นรดน้ำให้ชุ่ม
นำตะกร้าไปใส่ในถุงดำที่ตัดมุมตรงก้นถุงออกแล้วทำการพับปากถุงให้มิดชิดเพื่อไม่ให้อากาศและแสงเข้า นำไปวางไว้ในที่ร่มจะต้องรดน้ำ3 เวลาเป็นอย่างน้อย (เช้า-กลางวัน-เย็น) รดน้ำจนครบ 3 คืนเช้าขึ้นมาอีกวันก็นำมาใช้ได้ โดยยกเอาแผงถั่วงอกมาแช่ในน้ำ ตัดเอาเฉพาะส่วนต้นส่วนของรากทิ้งไป วิธีการนี้ง่ายมากเพราะรากของถั่วงอกจะแทงทะลุตะแกรงและกระสอบป่านเราจะใช้มีดคม ๆตัดส่วนของต้นลงแช่น้ำ
ผู้สนใจเริ่มต้นเพาะถั่วงอกตัดรากแบบอินทรีย์ในตะกร้าพลาสติคให้เกิดความชำนาญก่อนเมื่อเกิดความชำนาญแล้วจึงมาเริ่มเพาะในวงบ่อซีเมนต์ผลผลิตถั่วงอกตัดรากที่เพาะในตะกร้าพลาสติคจะได้ประมาณ 6-7 กิโลกรัมต่อ 1 ตะกร้าในขณะที่เพาะในบ่อซีเมนต์ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 50 เซนติเมตรและมีความสูงของวงบ่อ 50 เซนติเมตรจะเพาะถั่วงอกได้ผลผลิตเฉลี่ย 10-12 กิโลกรัมต่อวงบ่อมั่นใจในคุณภาพถั่วงอกว่าปลอดสารเคมีทุกชนิดเนื่องจากการันตีด้วยมาตรฐานเกษตรอินทรีย์
คุณนิมิตร์เริ่มต้นในการเพาะถั่วงอกโดยยึดหลักปลอดสารเคมีมาตั้งแต่ต้นจะไม่มีการใช้สารเคมีหรือแม้แต่การปลูกผักชนิดต่างๆที่นำมาเป็นวัตถุดิบประกอบอาหารในร้านศูนย์งอกงามจะมีการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ทั้งหมด จนได้การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (Organic Thailand) จากกรมวิชาการเกษตร ว่าถั่วงอกตัดรากและผักชนิดต่างๆ เช่น วอเตอร์เครสที่ปลูกในพื้นที่ 3 ไร่ปลอดจากการใช้สารเคมีทุกชนิดจุดนี้สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภคและสร้างความภูมิใจให้แก่คุณนิมิตร์ที่สามารถผลิตถั่วงอกอินทรีย์ตามที่ได้ตั้งใจไว้เผยแพร่ความรู้ และสร้างเครือข่ายเกษตรอินทรีย์สู่เกษตรกรขณะนี้วิธีการเพาะถั่วงอกแบบอินทรีย์ในวงบ่อซีเมนต์ของ คุณนิมิตร์ เทียมมงคลได้จดทะเบียนสิทธิบัตรเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของคนไทยเรียบร้อยแล้วคุณนิมิตร์ได้บอกเหตุผลหลักของการจดสิทธิบัตรเพื่อป้องกันคนต่างชาติขโมยความรู้และภูมิปัญญาของคนไทยไปแต่สำหรับคนไทยคุณนิมิตร์มีความยินดีที่จะเผยแพร่ความรู้วิธีการเพาะทุกขั้นตอนโดยไม่ปิดบังเปิดให้เกษตรกรและผู้สนใจเข้าศึกษาดูงานและมาฝึกปฏิบัติจริงได้ที่บ้านไม่มีการหวงวิชาแม้แต่น้อยมีเกษตรกรหลายครัวเรือนมีรายได้เพิ่มเติมจากการเพาะถั่วงอกตัดรากและปลูกผักแบบอินทรีย์เป็นเงิน 2,000-3,000 บาท ต่อเดือนปัจจุบันคนในหมู่บ้านที่สนใจจะเรียนรู้วิธีการทำการเกษตรแบบอินทรีย์แบบคุณนิมิตร์ได้มีการรวมตัวกันตั้งเป็น"กลุ่มเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ ตำบลโคกลำพาน"มีสมาชิกจำนวน 60 คน กำลังการผลิตถั่วงอกตัดรากแบบอินทรีย์ ใน 1 วงบ่อซีเมนต์
ปัจจุบัน คุณนิมิตร์มีวงบ่อ จำนวน 90 วงบ่อโดยเพาะถั่วงอกหมุนเวียนไปมา จำนวน 15 วงบ่อ ต่อครั้งหรืออาจจะมากขึ้นตามออเดอร์ที่สั่งเพิ่มเข้ามา และจะเพาะสัปดาห์ละ 2 วันเพื่อให้มีถั่วงอกจำหน่ายส่งขายทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดีในแต่ละครั้งจะผลิตถั่วงอกตัดรากได้เฉลี่ย 200-400 กิโลกรัมใน 1 วงบ่อซีเมนต์จะใช้เมล็ดถั่วเขียวพันธุ์กำแพงแสน 2 อัตรา 1.8 กิโลกรัมจะเพาะถั่วงอกได้ประมาณ10-12 กิโลกรัม
เอกลักษณ์ของถั่วงอกตัดรากแบบอินทรีย์
คุณนิมิตร์ได้บอกถึงเอกลักษณ์และคุณสมบัติเด่นของถั่วงอกของร้าน"ศูนย์งอกงาม" จะมีลักษณะดังนี้ "ต้นยาวและขาว รสชาติหวานกรอบที่หลายคนได้รับประทานแล้วบอกว่าเหมือนกับกินมันแกว ไม่มีกลิ่นเหม็นเขียวเนื่องจากเป็นถั่วงอกอินทรีย์ ทำให้เก็บรักษาได้นานถ้าบรรจุใส่ถุงพลาสติคมัดปากถุงให้แน่นเก็บทิ้งไว้ในอุณหภูมิปกติจะไว้ได้นานเป็นเวลา 3 วัน แต่ถ้าเก็บไว้ในตู้เย็นจะเก็บได้นานถึง 7-10 วัน"
ในอดีตการเพาะถั่วงอกตัดรากของคุณนิมิตร์จะเน้นให้ได้ต้นถั่วงอกที่มีลักษณะอ้วนสั้นแต่พบปัญหาลักษณะการอวบน้ำมากกว่าต้นยาวมีอายุการจำหน่ายสั้นและเกิดเน่าเสียได้ง่ายสำหรับเกษตรกรและผู้สนใจเพาะถั่วงอกไว้รับประทานเองและต้องการต้นถั่วงอกที่อวบอ้วนคุณนิมิตร์ได้บอกถึงเทคนิคอยู่ที่การถ่วงน้ำเพื่อต้นถั่วอวบอ้วนในคืนที่ 2 ของการเพาะ ซึ่งเป็นช่วงที่ต้นถั่วงอกเจริญเติบโตได้ดีที่สุดเป็นระยะของการยืดยาวของต้นมากที่สุดและเป็นช่วงที่ต้องการน้ำและความชื้นมากสำหรับการเพาะถั่วงอกในตะกร้าพลาสติค ปกติจะมีการรดน้ำให้ตะกร้าพลาสติค 3 เวลาแล้วในคืนที่ 2 จะต้องรดน้ำบนถุงดำที่ปิดตะกร้าแน่นรดจนให้น้ำขังเป็นแอ่งบนปากตะกร้าโดยน้ำหนักของน้ำจะไปกดทับต้นถั่วงอกจะส่งผลให้ต้นถั่วงอกมีขนาดของต้นที่อวบอ้วน
เทคนิคสำคัญตอนที่นำเอาถั่วงอกขึ้นจากน้ำจะต้องผึ่งในตะกร้าสักพักเพื่อให้ถั่วงอกสะเด็ดน้ำแล้วรีบบรรจุลงถุงพลาสติกมัดยางให้แน่นโดยไม่ให้อากาศเข้าสามารถเก็บถั่วงอกไร้รากและปลอดสารพิษเก็บไว้ในตู้เย็นได้นาน 5-7 วันโดยถั่วงอกไม่เหลือง วิธีการเพาะถั่วงอกแบบนี้สามารถทำบริโภค ได้ในครัวเรือน, ต้นทุนต่ำ และปลอดสารพิษ
ขั้นตอนการบรรจุถุงและการเก็บรักษาเมื่อต้นถั่วงอกตัดรากสะเด็ดน้ำแล้ว จะต้องรีบนำไปบรรจุลงถุงพลาสติคทันทีและมัดปากถุงให้แน่น ถ้าปล่อยให้ถั่วงอกสัมผัสอากาศนานๆต้นถั่วงอกจะเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีเหลืองแล้วจะคล้ำดำในที่สุดเมื่อนำไปประกอบอาหารไม่น่ารับประทาน
คุณนิมิตร์ได้ทำการเกษตรแบบอินทรีย์โดยยึดหลักการที่ว่า"เมื่อสินค้ามีคุณภาพได้มาตรฐาน สินค้าก็จะขายด้วยตัวของมันเอง"ถั่วงอกตัดรากแบบอินทรีย์ของคุณนิมิตร์มีส่งขายให้ห้างสรรพสินค้าในเครือเดอะมอลล์กรุ๊ป, เลมอน ฟาร์ม, ร้านศูนย์ศิลปาชีพเกาะเกิด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, ร้านโกลเด้นเพลส และท็อปส์ ซุปเปอร์มาร์เก็ต ภายใต้แบรนด์สินค้าที่ คุณหมอประเวศวะสี ได้ให้ความกรุณาตั้งชื่อให้ว่า"ถั่วงอกรักชาติ"ด้วยลักษณะของถั่วงอกที่ขึ้นตั้งตรงอย่างเป็นระเบียบเหมือนคนเข้าแถวเรียงกัน
หนังสือ "การเพาะถั่วงอกตัดรากแบบอินทรีย์ในวงบ่อซีเมนต์"แจกฟรี พร้อมกับ "ไม้ผลแปลกและหายาก" พิมพ์ 4 สี จำนวน 120 หน้าเกษตรกรและผู้สนใจเขียนจดหมายสอดแสตมป์จำนวน 50 บาท ส่งมาขอได้ที่ชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร เลขที่ 2/200 ถนนศรีมาลา ตำบลในเมือง อำเภอเมืองจังหวัดพิจิตร 66000 โทร. (056) 613-021, (056) 650-145 และ (081) 886-7398 แหล่งที่มา :www.rakbankerd.com ทวีศักดิ์ ชัยเรืองยศ