9 ฐานเรียนรู้
ความรู้ที่น่าสนใจ (Documents on web)
ติดต่อเรา
มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ
เลขที่ ๑๑๔ ซอย บี ๑๒ หมู่บ้านสัมมากร สะพานสูง กรุงเทพฯ ๑๐๒๔๐
สำนักงาน ๐๒-๗๒๙๔๔๕๖ (แผนที่)
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง 038-198643 (แผนที่)
User login
ลิงค์เครือข่าย
วิเคราะห์นโยบายรัฐ (1)
สถานการณ์ความขัดแย้งที่ปะทุในบ้านเมืองทุกวันนี้ ชวนให้อาจารย์ยักษ์นึกถึงเมื่อครั้งนั่งทำงานในตำแหน่งวิเคราะห์นโยบายและแผนของสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม เพราะเห็นความเชื่อมโยงของปัญหาปัจจุบันซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เชื่อมโยงกับนโยบายของรัฐทางด้านการส่งเสริมการเกษตร เรียกว่าเป็นผลกระทบที่เกิดจากนโยบายนั่นเอง
ตั้งแต่รัฐบาลไทยมีนโยบายช่วยเหลือเกษตรกรของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นนโยบายช่วยเหลือชาวนาด้วยการรับจำนำข้าว หรือนโยบายช่วยเหลือชาวสวนยางในการประกันราคา นโยบายช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่มันสำปะหลัง ชาวไร่ข้าวโพด หรือแม้แต่นโยบายส่งเสริมการปลูกพืชต่างๆ เช่น มะม่วงหิมพานต์ นโยบายต่างๆ ที่รัฐมีต่อเกษตรกรไทยมายาวนานนั้น ควรจะได้มานั่งวิเคราะห์ดูสักนิดหนึ่งว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นนั้นส่งผลอย่างไรต่อสังคมไทย
อาจารย์ยักษ์ได้เคยมีโอกาสวิเคราะห์นโยบายและแผนของรัฐไทยมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2521 หลักการวิเคราะห์นโยบายน่าจะต้องมีหลักการสำคัญๆ สองสามประการด้วยกัน ด้านหนึ่งคือความเหมาะสมของนโยบาย ซึ่งก็จะมีทั้งความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ ความเหมาะสมทางด้านสังคม ความเหมาะสมทางด้านสภาพแวดล้อม และบางนโยบายที่มีความสำคัญต้องพิจารณาความเหมาะสมทางด้านการเงินด้วย หรือมีประเด็นสำคัญอื่นๆ เช่น ความเหมาะสมทางด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือทางด้านความมั่นคงของมนุษย์ ความมั่นคงของประเทศ ก็จะเป็นประเด็นที่ได้หยิบยกมาเป็นองค์ประกอบสำคัญในการวิเคราะห์นโยบายได้ แต่ในที่นี้ ประเด็นแรกอยากจะพูดถึงความเหมาะสมทางเศรษฐกิจแบบบ้าน บ้าน สักนิด เอาเฉพาะสวนยางก่อนว่ามีความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและสภาพแวดล้อมอย่างไร
ด้านความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ ถ้าการปลูกสวนยางในรูปแบบและเทคนิควิธีการที่รัฐส่งเสริม เช่น มีนโยบายส่งเสริมการปลูกยาง 2 ล้านไร่ ประกอบด้วยเทคนิควิธีการปลูกยางเป็นพืชเดี่ยวลามไปทั้งประเทศ มองในแง่ความเหมาะสมของตัวเกษตรกรเองในทางเศรษฐกิจและในทางเศรษฐกิจของประเทศ มองในเชิงการตลาดสากล เพราะยางเป็นพืชเศรษฐกิจที่ขายกันทั่วโลก ถ้าดูจากปัจจัยภายนอก วิเคราะห์อัตราการเจริญเติบโตของการบริโภคยางแล้ว พบว่าน้ำยางที่ผลิตจากต้นยางนั้นมีความต้องการสูง ดูตัวเลขก่อนส่งเสริมจะดูดี ดูว่ายางในตลาดมีแนวโน้มความต้องการพุ่งขึ้นเรื่อยๆ เกษตรกรก็เฮละโลไปปลูกกัน องค์กรที่มีหน้าที่ส่งเสริมก็ส่งเสริมให้ปลูกเพราะตลาดดีขึ้นทุกวัน เมื่อดีมานด์สูงแน่นอนว่ายักษ์ใหญ่ก็ลงมาเล่นด้วย เช่น จีนก็ลงมาปลูกยาง นอกจากที่ปลูกในประเทศตัวเองแล้ว ก็ยังมาหาที่ปลูกนอกประเทศ ในเวียดนาม ลาว และพม่า หรือมากว้านซื้อที่ดินปลูกยางในภาคเหนือ ภาคอีสานของไทยเป็นจำนวนมาก นี่คือมองด้านความต้องการซื้อหรือดีมานด์ดูว่าจะดีจะเสี่ยงก็เรื่องการแข่งขันสูง ถ้ามองความเสี่ยงเรื่องเศรษฐกิจการเงินนั้นจะเห็นว่ากำลังซื้อสินค้ายางส่วนใหญ่เป็นสินค้าฟุ่มเฟือย หากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจอีกครั้งราคายางก็จะตกอย่างแน่นอน ดังนั้นนโยบายนี้ถ้าจะทำต้องทำด้วยความระมัดระวังจริงๆ เพราะการที่มีน้ำยางในตลาดเป็นสินค้าสากลที่ปลูกขายกันทั่วโลก ตลาดก็มีความเสี่ยง ราคาก็มีความเสี่ยง
ข้ามมาดูด้านระบบเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้ผลิตเอง ก็มีความเสี่ยงหนักยิ่งขึ้น เพราะว่าไปเน้นการพึ่งพิงตลาดน้ำยางด้านเดียว เมื่อเกิดการแปรปรวนของสินค้าและราคาขึ้นก็จะไม่สามารถบริหารความเสี่ยงได้ แต่เดิมที่ในป่ายางมีพืชพันธุ์หลากชนิด มีของกิน ของใช้ มีหน่อไม้ มีสมุนไพร เป็นป่ายาง เกษตรกรมีความเสี่ยงก็น้อยเพราะไม่ได้เป็นสวนยางที่ส่งเสริมให้ตัดทุกอย่างออกหมดตามระบบการปลูกพืชเชิงเดี่ยว เมื่อเป็นสวนยางก็มียางอย่างเดียวไม่มีพืชสำหรับพออยู่ พอกิน เหลืออีกแล้ว ตกลงความเหมาะสมของนโยบายนี้ในทางเศรษฐกิจไม่ว่าจะวิเคราะห์ในความต้องการตลาด ความมั่นคงทางเศรษฐกิจระดับประเทศ ระดับครัวเรือน การส่งเสริมให้เกิดการปลูกแบบนี้มีผลกระทบโดยตรงต่อเกษตรกร และกระทบต่อรัฐอย่างแน่นอน +
แหล่งที่มา:
พอแล้วรวย คมชัดลึก วันศุกร์ที่ 20 กันยายน 2556