โพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยของ "พ่อ"
ศูนย์เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง

ติดต่อเรา

มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ
เลขที่ ๑๑๔ ซอย บี ๑๒ หมู่บ้านสัมมากร สะพานสูง กรุงเทพฯ ๑๐๒๔๐
สำนักงาน ๐๒-๗๒๙๔๔๕๖ (แผนที่)
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง 038-198643 (แผนที่)


User login

บุกภูฟ้า เดินหน้ารักษาโลก (2)

  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_handler_argument::init() should be compatible with views_handler::init(&$view, $options) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_argument.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter::options_validate() should be compatible with views_handler::options_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter::options_submit() should be compatible with views_handler::options_submit($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter_term_node_tid::value_validate() should be compatible with views_handler_filter::value_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/modules/taxonomy/views_handler_filter_term_node_tid.inc on line 0.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_style_default::options() should be compatible with views_object::options() in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_style_default.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_row::options_validate() should be compatible with views_plugin::options_validate(&$form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_row.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_row::options_submit() should be compatible with views_plugin::options_submit(&$form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_row.inc on line 0.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter_boolean_operator::value_validate() should be compatible with views_handler_filter::value_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter_boolean_operator.inc on line 0.

แนวคิดเรื่องการฟื้นฟูป่าต้นน้ำโดยแนวคิด การร่วมพลังคนในเมืองขึ้นไปช่วยคนที่อยู่ในท้องถิ่นให้เขาสามารถฟื้นฟูป่าขึ้นมาโดยเปลี่ยนจากการทำพืชไร่เชิงเดี่ยว การปลูกยาง การปลูกข้าวโพด ค่อยๆ เปลี่ยนเป็นป่า 3 อย่าง ที่ให้ประโยชน์ถึง 4 อย่างตามแนวทางพระราชดำริ เป็นแนวคิดที่มีตัวอย่างปฏิบัติเห็นจริงมาแล้วมากต่อมาก อาจารย์ยักษ์ท้าทายให้ไปดูกันได้เลยว่า ยางที่ปลูกในป่า 3 อย่าง ไม่ได้ทำให้ผลผลิตตกลง แถมยังได้ประโยชน์จากไม้อื่นๆ อีกอย่างชัดเจน และป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่างก็จะก่อประโยชน์ต่อประชาชน เดินในแนวทางคนอยู่กับป่าตรงตามพระราชดำริของพระราชา 

เมื่อพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้นก็จะสามารถอุ้มน้ำ อุ้มดิน อุ้มอากาศบริสุทธิ์เอาไว้ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ได้จริง เป็นการฟื้นฟูระบบนิเวศอย่างง่ายๆ เริ่มจากพื้นที่ส่วนตัว หรือจะเลยขึ้นไปช่วยฟื้นฟูป่าของกรมป่าไม้แบบยายยิ้มก็ทำได้ โดยในพื้นที่สูงบนภูเขาต้นน้ำก็ใช้หลักการง่ายๆ คล้ายๆ กับที่ต่ำเหมือนกัน คือ กักน้ำไว้ให้อยู่กับที่ให้ได้มากที่สุด เช่น กั้นฝายชุ่มชื้น ซึ่งฝายชุ่มชื้นนี้ก็มีตั้งแต่ขนาดเล็กมากๆ สร้างตั้งแต่ต้นน้ำที่เป็นน้ำหยดจากรากไม้แบบยายยิ้มสร้าง ไล่ลงมาก็ขนาดกว้างขึ้นเรื่อยๆ ใช้วัสดุจากธรรมชาตินี่แหละ จนถึงระดับที่ใหญ่ขึ้นจนอาจเรียกได้ว่ากั้นฝายเป็นหนองน้ำ หรืออ่างเก็บน้ำก็จะได้พื้นที่รับน้ำหน้าฝายได้มาก แต่อาจารย์ยักษ์อยากให้คนจดจำง่ายๆ ก็ขอเรียกว่า หนองน้ำ ซึ่งก็จะสอดคล้องกับ “โคก หนอง นา โมเดล” ที่ใช้ในพื้นที่กลางน้ำเรียกได้ว่ายึดคำเดียวทำได้ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ แต่ต้นน้ำนั้นต่างกันตรงไม่ได้ใช้วิธีขุด แต่ใช้วิธีกั้นฝายเอา
 
ทีนี้พอที่ราบลงมาหน่อยก็ขุดเป็นหนองน้ำ เอาดินมาทำเป็นโคก บนโคกก็ปลูกป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง คนก็จะมีความมั่นคงทางอาหาร มีความมั่นคงด้านยา ด้านที่อยู่อาศัย ดินน้ำอุดมสมบูรณ์ อากาศบริสุทธิ์ร่มเย็นสบาย แม้โลกแปรปรวนก็จะอยู่ได้อย่างสบาย “โคก หนอง นาโมเดล” ก็จะสามารถเก็บน้ำซับไว้ใต้ดิน เก็บน้ำไว้ในหนองน้ำ ฝนตกลงมาก็จะเก็บไว้ได้มากไม่ปล่อยให้หลากมาท่วมคนข้างล่าง ในขณะเดียวกัน คนที่อยู่ในพื้นที่ป่าเองก็จะมีอาหารการกิน มีน้ำ มีทุกอย่างอุดมสมบูรณ์ จะมีความมั่นคงในชีวิตได้จริงๆ
 
จากโมเดลแบบบ้าน บ้านนี้แหละ หากเราลองมาเปรียบเทียบกับพื้นที่ตอนบนของลุ่มน้ำป่าสัก ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 10 ล้านไร่ ช่วยกันทำแบบนี้ทั้งหมด น้ำที่ฝนตกลงมาเต็มที่ที่เคยมีก็คือ 5,000 ล้าน ลบ.ม. ช่วยกันทำหนองน้ำ ช่วยกันสร้างป่าบนโคก ฝนตกลงมาก็เก็บน้ำลงไว้ใต้ป่า เก็บน้ำไว้ในหนอง ตะกอนดินก็ถูกเก็บไว้ไม่ปล่อยให้หลากลงมาให้ตื้นเขิน น้ำก็ถูกอุ้มเอาไว้ สมมติเก็บได้ 4,000 ล้าน ลบ.ม. ปล่อยลงมาเหลือ 1,000 เดียว เขื่อนป่าสักฯ ก็สามารถอุ้มน้ำไว้ได้ น้ำก็จะค่อยๆ ทยอยไหลลงมาให้ได้ใช้ประโยชน์กัน น้ำก็จะไม่ลงมาท่วมข้างล่าง ก็จะเป็นการแก้ปัญหาน้ำได้อย่างยั่งยืน ทั้งน้ำท่วม น้ำแล้ง ที่ต้องเผชิญกันอยู่ทุกวันนี้ แก้ได้ตั้งแต่ต้นน้ำตั้งแต่จังหวัดเลยไล่ลงมาจนถึงกรุงเทพได้ ทุกคนก็จะได้ประโยชน์ร่วมกัน แต่โครงการวิถีบ้าน บ้าน แบบนี้มันใช้งบประมาณไม่สูง เลยไม่ค่อยมีคนสนใจที่จะทำ แถมทำโดยชาวบ้าน ทำโดยคนในพื้นที่ ไม่มีเครื่องจักรกลใหญ่ ไม่ใช่การลงทุนเมกกะโปรเจก ออกจะกระจอกจนคนไม่สนใจ แต่อาจารย์ยักษ์เชื่อว่า เพราะง่ายๆ เพราะบ้านๆ แบบนี้นี่แหละ หากคนเล็กๆ รวมตัวกันได้และได้รับการสนับสนุนจากเอกชนก็จะเกิด จะสำเร็จขึ้นได้จริง
 
การลงไปในพื้นที่ครั้งนี้ อาจารย์ยักษ์ดีใจ ที่ได้เห็นถึงความมุ่งมั่นของทั้ง มหาวิทยาลัยราชภัฏ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ  ผู้นำในท้องถิ่น นักพัฒนาในท้องถิ่น ครูใหญ่ พระ ก็มีแนวโน้มว่าจะช่วยเหลือกัน ก็มีความเชื่อมั่นว่าจะสร้างสังคมให้น่าอยู่ได้จริงๆ ไม่ว่าจะเปิดเสรีอาเซียนหรือจะเปิดอีกกี่ประตูก็ช่างเขา แต่เราสร้างความมั่นคงด้านอาหาร ด้านน้ำ อากาศ ให้สมบูรณ์ก็สามารถสร้างสังคมให้มีความสุขได้จริงๆ อันนี้ก็ยืนยันได้
 
ที่มั่นใจยิ่งขึ้นก็คือขณะนี้มีการช่วยเหลือกัน มีการท้าทายกัน 4 ตำบล ใน 3 ลุ่ม ทั้งเขตน้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ และเขต จ.เลย 4 ตำบล จะเริ่มทำต้นแบบตำบลละ 50 รายก็แปลว่าจะมีสัก 200 รายที่จะเอาจริง เอาจังในการเก็บน้ำเอาไว้ สร้างป่าขึ้นมา ที่ทำสวนยางอยู่แล้วก็จะปลูกไม้ผสมให้ได้ 5 ระดับ ให้ได้ป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง ก็มีสวนยางอยู่ด้วยได้ ผลผลิตก็จะไม่เสียหาย แต่สร้างป่าขึ้นมาเพิ่มก็จะได้ป่าด้วย ผลผลิตยางก็จะดีขึ้นด้วย หรือทำพืชอื่นๆ ก็จะทำผสมผสานให้เกิดป่า 3 อย่าง  ถ้าคน 200 คนเอาจริงเอาจัง ก็จะเกิดเป็นต้นแบบเชื่อมั่นว่าเกษตรกรที่เหลือก็จะเอาแบบอย่าง จะตามอย่าง ขอให้ 200 คนนี้ทำจริง มั่นคง มั่งคั่งจริง นี่ก็จะเป็นความร่วมมือครั้งใหญ่ของคนหลากหลายภาคส่วน อีกไม่นานก็จะเห็นผลว่าต้นน้ำป่าสักจะฟื้นขึ้นมาออมดิน ออมน้ำ ออมอากาศบริสุทธิ์ไว้ได้หรือไม่ก็คอยติดตามดูกันครับ
 
ขอบคุณภาพประกอบโดย คุณ Fatbeat จาก http://www.bikeloves.com/board_bpmtbtrip/show_thread.php?qID=2473
แหล่งที่มา: 
พอแล้วรวย คมชัดลึก วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม 2556