9 ฐานเรียนรู้
ความรู้ที่น่าสนใจ (Documents on web)
ติดต่อเรา
มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ
เลขที่ ๑๑๔ ซอย บี ๑๒ หมู่บ้านสัมมากร สะพานสูง กรุงเทพฯ ๑๐๒๔๐
สำนักงาน ๐๒-๗๒๙๔๔๕๖ (แผนที่)
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง 038-198643 (แผนที่)
User login
ลิงค์เครือข่าย
เดินหน้า 5 ภาคีเสริมพลังเชื่อมต่อป่า หยุดการสูญสิ้นเผ่าพันธุ์มนุษย์ (3)
ศาสตร์ของพระราชาในการจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำ จะแบ่งเป็นพื้นที่ ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ โดยนำแนวทางปฏิบัติที่ทำได้ง่าย ใช้วัสดุในพื้นที่มาทำ เช่น ในพื้นที่ต้นน้ำจะต้องมุ่งเน้นการปลูกป่า ด้วยป่า 3 อย่างให้ประโยชน์ 4 อย่างโดยปลูกแซมลงไปในพื้นที่ เกษตรกรที่ทำไร่ข้าวโพด ทำสวนยางอยู่ก็จะต้องนำมาบ่มเพาะ ให้เข้าใจถึงความจำเป็นในการที่จะต้องรักษาป่าต้นน้ำไว้ และวิธีการปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่างนี้ยังจะทำให้เกิดความพออยู่ พอกิน พอใช้ ขึ้นได้กับตัวเองโดยไม่ต้องพึ่งพาแต่การขายข้าวโพด หรือยางอย่างเดียว ซึ่งไม่มีทั้งความมั่นคงแน่นอน และยังส่งผลสะท้อนกลับมาทำลายตนเองอีกด้วย นอกจากนั้นพื้นที่ต้นน้ำก็จะต้องทำฝาย ปลูกแฝก ทั้งหมดก็เพื่อเก็บน้ำไว้ในดิน ส่วนในพื้นที่ใดที่เป็นพื้นราบก็จะต้องเร่งทำ โมเดล โคก หนอง นาใส่เข้าไป
ถ้าชาวบ้านหนึ่งล้านครอบครัวลุกขึ้นสร้างป่ารอบบ้านตัวเองสัก 3 ไร่ ก็จะมีป่าถึง 3 ล้านไร่ และถ้าไร่หนึ่งคำนวณว่ามีต้นไม้ 100 ต้น ก็จะมีต้นไม้ถึง 300 ล้านต้น นอกจากได้เนื้อไม้มูลค่ามหาศาล ก็ยังได้ป่าที่จะเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ได้จำนวนมาก และผืนป่าขนาดมหึมาจะเก็บอาหารไว้ให้กับโลกและจะพลิกผืนดินคืนมาได้เท่าไหร่ นี่แหละเป็นความมั่งคั่งใหม่ที่จะต้องสร้างให้เกิดขึ้นให้ได้
นอกจากอาจารย์ยักษ์จะมุ่งเป้าหมายไปที่ต้นน้ำป่าสักแล้ว ยังมีอีกลุ่มที่สำคัญ เป็นอู่ข้าว อู่น้ำของคนไทย คือลุ่มน้ำบางปะกง ที่เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติมีความพร้อมแน่นอน คือลุ่มน้ำบางปะกง และลุ่มน้ำตะวันออก โดยลุ่มบางปะกงหลักๆ มี 3 จังหวัด แต่ก็เชื่อมถึงกันทั้ง 5 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี และสระแก้ว ส่วนลุ่มน้ำตะวันออกที่ไหลลงทะเลตะวันออก บางส่วนก็ผ่านชลบุรี แต่ส่วนใหญ่ลงทางระยอง ส่วนลุ่มน้ำประแสร์ก็เชื่อมทั้งจันทบุรีและระยอง เมืองจันทน์ก็จะมีลุ่มน้ำวังตะโหนด ลุ่มน้ำเวน ลุ่มน้ำต่างๆ ไล่ไปจนถึงตราด ซึ่งก็มีเครือข่ายภาคตะวันออกของเราอยู่เยอะแยะมากมาย ไม่ว่าจะเป็นศูนย์แม่ที่มาบเอื้อง จะเป็นศูนย์ประธานเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติที่จันทน์ ศูนย์ฯ สองสลึงของผู้ใหญ่สมศักดิ์ เครือวัลย์ที่ระยอง ศูนย์ฯ บ้านดิน ของสมิทธิ์ที่สระแก้วอีก 2 ศูนย์ ศูนย์ฯ ภูมิรักษ์ที่มีอาจารย์ปัญญา ปุลิเวคินทร์ดูแล รวมทั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ที่อ.ไตรภพ โคตรวงษา ขับเคลื่อนอยู่ เครือข่ายภาคตะวันออกของเราแน่นปึ้กพร้อมฟื้นฟูลุ่มน้ำตะวันออก และลุ่มน้ำบางปะกง
ในพื้นที่ภาคตะวันออกจะมีคณะกรรมการลุ่มน้ำอยู่ 2 ลุ่ม คือคณะกรรมการลุ่มน้ำภาคตะวันออก และคณะกรรมการลุ่มน้ำบางปะกง กับเครือข่ายต่างๆ ที่ทำงานในพื้นที่อีกมากมาย เราก็จะได้ไปชักชวนมาช่วยกันเพราะถือว่างานนี้เป็นงานเพื่อแผ่นดิน เพื่อประเทศอย่างแท้จริง
ส่วนภาคเหนือก็จะมีคนของเครือข่ายอยู่ เช่น ลุ่มน้ำปิง มีพระอาจารย์สังคม ที่ทำต้นแบบการฟื้นฟูต้นน้ำ โดยการป้องกันไฟป่าไว้ได้เป็นแสนไร่แล้ว ลุ่มน้ำวังก็มีวัดเกิดขึ้นใหม่ซึ่งทำงานในพื้นที่กว่า 500 ไร่ที่สุโขทัย โดยอำนาจ เจิมแหล่ เป็นแกนนำ เคยยกทีมหลวงพ่อมาอบรมที่มาบเอื้อง เมื่อกลับไปก็คึกคักมากมาย สร้างป่าไว้กว่า 500 ไร่ ก็ถือว่าไม่ธรรมดานะ อีกลุ่มคือลุ่มน้ำยม อาจารย์ยักษ์ก็กำลังดูอยู่ว่าน่าจะเป็นแถวเด่นชัย แพร่ ซึ่งก็มีลำน้ำลงทั้งยม และน่าน ส่วนที่แน่ๆ ที่น่าน เราก็มีเครือข่ายคริสตจักรที่สวนเอเดนซึ่งน่าจะขยายพื้นที่ได้ นอกจากนั้นที่น่านเรายังมีเครือข่ายที่เป็นพื้นฐานดั้งเดิม คือ กลุ่มฮักเมืองน่าน แล้วยังมีทหารเรือรวมกลุ่มกันรักษาผืนป่าเป็นร้อยๆ ไร่ เครือข่ายเหล่านี้เราจะได้ชักชวนมาร่วมกันเชื่อมต่อผืนป่าที่ขาดไป
งานนี้นอกจากเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติจะลงมือเต็มที่แล้ว ยังจะเชื่อมร้อยทุกเครือข่ายมาทำงานร่วมกัน ใครสนใจร่วมขบวนบุญใหญ่ก็พากันเข้ามา ฉบับหน้าจะขอต่ออีกสักตอนในเรื่องสำคัญเช่นนี้ +