9 ฐานเรียนรู้
ความรู้ที่น่าสนใจ (Documents on web)
ติดต่อเรา
มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ
เลขที่ ๑๑๔ ซอย บี ๑๒ หมู่บ้านสัมมากร สะพานสูง กรุงเทพฯ ๑๐๒๔๐
สำนักงาน ๐๒-๗๒๙๔๔๕๖ (แผนที่)
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง 038-198643 (แผนที่)
User login
ลิงค์เครือข่าย
พลังท้องถิ่นฟื้นฟูประเทศ ด้วยครู คลัง ช่าง หมอ (3)
ฉบับที่แล้วได้คุยเรื่องการปฏิรูปการศึกษาด้วยพลังท้องถิ่นซึ่งเป็นแสงสว่างดั่งของขวัญรับปีใหม่ 2556 โดยกล่าวถึงการที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะได้ลุกขึ้นมาจับมือกันจัดการศึกษาของเราเองอย่างแท้จริง ในระหว่างนี้อาจารย์ยักษ์ได้อ่านบทความของผู้ช่วยศาสตราจารย์สุพจน์ พฤกษะวัน ท่านเรียบเรียงไว้เรื่อง “โลกกำลังก้าวหน้าแต่การศึกษาไทย ย่ำอยู่กับที่จริงหรือ” ท่านบอกว่า ขณะที่โลกกำลังก้าวหน้าประเทศไทยก้าวสู่ประชาคมอาเซียนโดยสมบูรณ์ในปี พ.ศ.2558 การศึกษาไทยได้กลายมาเป็นประเด็นสำคัญที่คนในสังคมวิพากษ์วิจารณ์กัน ส่วนใหญ่ก็เป็นไปในทางลบถึงคุณภาพของการศึกษาไทย ว่าการศึกษาไทยไม่มีคุณภาพ ถึงกับมีการตั้งกลุ่มต่อต้านวิชา IS แห่งประเทศไทย ซึ่งต่อต้านระบบการศึกษาของไทย คำถามจึงอยู่ที่ว่าการศึกษาของไทยไร้คุณภาพจริงหรือ ทั้งๆ ที่ในรอบ 5-6 ปีที่ผ่านมารัฐบาลได้ทุ่มงบประมาณเพื่อพัฒนาการศึกษาเป็นอันดับ 1 ของงบประมาณที่จัดให้กับทุกกระทรวง ซึ่งเป็นสัดส่วนเท่ากับ 1 ใน 5 ของงบประมาณทั้งหมด หรือเท่ากับร้อยละ 20 นั่นเอง งบประมาณที่จัดให้กับการศึกษาไทยเป็นแบบนี้มาตลอดถ้าดูปี 2556 ก็จะมีงบประมาณถึง 460,411,684,800 บาท หรือประมาณ 4.6 แสนล้านบาทเทียบเท่ากับ 19.18% ของงบประมาณในปีนี้ ซึ่งก็แปลว่ารัฐบาลได้ทุ่มงบประมาณไปเพื่อจัดการศึกษาไม่น้อยกว่าชาติไหนในโลกเลย
แต่เมื่อพิจารณาผลลัพธ์ของการศึกษาก็จะเห็นว่าคุณภาพการศึกษาของไทยนั้นขาดคุณภาพจริง เพียงแค่ดูผลคะแนนก็พอจะเห็นได้ชัด นอกจากนั้นยังคงมีประเด็นด้านคุณภาพการศึกษาที่ชวนให้สงสัยอีกหลายประการ คือ หนึ่งผู้สำเร็จการศึกษาสูงส่งยังว่างงานหางานทำไม่ได้ สองคนที่คอร์รัปชั่นสูง โกงบ้าน โกงเมือง ก็มักจะจบการศึกษาสูง สามการศึกษากลายเป็นการแข่งขันที่บ้าคลั่ง สี่ครูอาจารย์ที่อ้างว่าทำงานสอนกันอย่างหนักนั้น ลูกศิษย์กลับได้เพียงความรู้ติดสมองที่ไม่สามารถใช้งานได้ ห้าการศึกษากลายเป็นเครื่องแบ่งชั้นทางสังคม หกการศึกษากลายเป็นสิ่งสร้างความทุกข์ให้กับผู้เรียนทุกช่วงชั้น ผลของการศึกษาในประเด็นสงสัยเหล่านี้จำเป็นต้องเปรียบเทียบกับการศึกษาของต่างประเทศที่มีคุณภาพโดยส่วนรวม เพื่อมองเห็นความแตกต่าง ดังนี้ การศึกษาต่างประเทศเรียนวันละ 5 ชั่วโมง ของไทย 9 ชั่วโมง ของเขานักเรียน 20 คนต่อห้องของเรา 50 คนต่อห้อง ของเขาเน้นเรียนรู้การปฏิบัติของเราเน้นทฤษฎีเป็นหลัก ของเขาเน้นการถกเถียงกันบ้านเราเรียนโดยใช้วิธีจัดตามครูสอน ของเขาครูตั้งใจอยากเป็นครูแต่ของเราไม่อยากเป็น ผลการศึกษาของเขามีคุณภาพจริงแต่ผลการศึกษาของเราไร้คุณภาพ เด็กของเขามีความสุขกับการเรียนแต่เด็กของเราไร้ความสุขในการเรียน จากผลสรุปของการจัดการศึกษาในระดับโลกของประเทศ ประเทศไทยติดอันดับ 51 จากอันดับทั้งหมด 57 ของโลก เมื่อเป็นเช่นนี้การศึกษาไทยก็จำเป็นต้องมีการปฏิรูปใหม่โดยเฉพาะการศึกษาในระดับประถมศึกษา ควรเน้นพื้นฐานชีวิตมากกว่าวิชาการ การเรียนรู้ควรเน้นการปฏิบัติจริงเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจ และเกิดลักษณะที่ดีตามเป้าหมายของการศึกษาชาติอย่างแท้จริง เช่น การมีระเบียบวินัย ความขยันอดทน ความอ่อนน้อมถ่อมตน การรู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง การทำงานเป็นทีม เมื่อเรียนระดับมัธยมหรืออุดมศึกษาจึงค่อยเน้นวิชาการให้มากขึ้น... นี้ก็เป็นงานที่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุพจน์ พฤกษะวัน เรียบเรียงเอาไว้
อาจารย์ยักษ์คิดว่ากำลังจะชักชวนมาเอาจริง ด้านมาสัมมนากัน ก็ได้ชักชวนท่านนายก ท่านรองปลัด ท่านประธานสภา รองประธานสภาเอาไว้ว่าเป็นไปได้ไหมว่าจะมาสัมมนากันสองวันหนึ่งคืน อาจารย์ยักษ์จะเป็นเจ้าภาพเองที่มาบเอื้อง ก็มีคนยกมือกันพรึ่บเลยว่าเราจะมาทำให้เด็กนี่แหละเป็นคนดี มีวินัย และพึ่งตนเองได้ตามวัยที่เขาควรจะเป็น และสุดท้าย อันที่สามคือให้เขาเจียระไนแต่ละคนว่าเขาเด่นเรื่องอะไร ที่สำคัญที่สุดคือเด็กต้องไม่ทิ้งพ่อ แม่ ต้องไม่ทิ้งถิ่น ต้องกตัญญูต่อแผ่นดินเป็นเป้าหมายใหญ่ ท่านใดเห็นด้วยกับอาจารย์ยักษ์ว่าเราต้องช่วยกันคนละไม้คนละมือด้วยการจับมือกับท้องถิ่นให้พัฒนาการศึกษาร่วมกัน ก็ติดต่อมาที่มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติที่โทร. 02 729 4456 หรือติดต่ออาจารย์ยักษ์โดยตรงที่ facebook/Wiwat Salyakamthorn ขอบพระคุณมากครับ +