โพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยของ "พ่อ"
ศูนย์เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง

ติดต่อเรา

มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ
เลขที่ ๑๑๔ ซอย บี ๑๒ หมู่บ้านสัมมากร สะพานสูง กรุงเทพฯ ๑๐๒๔๐
สำนักงาน ๐๒-๗๒๙๔๔๕๖ (แผนที่)
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง 038-198643 (แผนที่)


User login

รำลึกบูรพาจารย์ ประสานศิษย์ (2)

  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_handler_argument::init() should be compatible with views_handler::init(&$view, $options) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_argument.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter::options_validate() should be compatible with views_handler::options_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter::options_submit() should be compatible with views_handler::options_submit($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter_term_node_tid::value_validate() should be compatible with views_handler_filter::value_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/modules/taxonomy/views_handler_filter_term_node_tid.inc on line 0.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_style_default::options() should be compatible with views_object::options() in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_style_default.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_row::options_validate() should be compatible with views_plugin::options_validate(&$form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_row.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_row::options_submit() should be compatible with views_plugin::options_submit(&$form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_row.inc on line 0.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter_boolean_operator::value_validate() should be compatible with views_handler_filter::value_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter_boolean_operator.inc on line 0.

​ครั้งที่แล้วอาจารย์ยักษ์เล่าถึงการทำโพลในสมัยนั้นซึ่งมีผลต่อสังคมไทยมากถึงขนาดสร้างให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในสังคมได้จริง เป็นผลจากการท้าทายเชิง “ลองวิชา” ซึ่งอาจารย์แสวงก็ให้ได้แสดงให้ดูแล้วว่าหากมีการวางกลยุทธที่ดีผลของการนำทฤษฎีมาแปลงเป็นภาคปฏิบัตินั้นทำได้จริง หลังจากเหตุการณ์ครั้งนั้นก็หนังสือพิมพ์ติดต่อมาที่อาจารย์ยักษ์หลายฉบับ รวมทั้งทางสถาบันการศึกษาก็ติดต่อมาว่าอยากให้ตั้ง “สำนักโพล” ขึ้นมาโดยให้อาจารย์ยักษ์เป็นผู้บริหาร หนึ่งในนั้นที่จำได้ก็มีอาจารย์ อมร รักษาสัตย์ ท่านอยากให้รื้อฟื้นหน่วยงานสำนักโพลขึ้นเพื่อที่จะทำหน้าที่ให้บริการต่อสังคม แต่ว่าสมัยที่อาจารย์ยักษ์ลาไปเรียนนั้นตัวเองก็มีตำแหน่งทางราชการเรียกได้ว่าเป็นข้าราชการทำงานอยู่กับพระเจ้าอยู่หัวอยู่สำนักงาน กปร. ก็ได้กลับมาคุยกับผู้บังคับบัญชา ท่านก็ว่าโอกาสในชีวิตหนึ่งนั้นน้อยนักที่จะได้ทำงานรับใช้พระเจ้าแผ่นดินและเมื่ออยู่ในตำแหน่งนี้จะกลับไปเกลือกกลั้วกับการเมืองนั้นก็ดูว่าจะไม่สมควร ความคิดในการตั้งสำนักโพลจึงตกไป แต่ก็ชี้ให้เห็นว่าแม้บุคคลสำคัญในบ้านในเมือง โดยเฉพาะสื่อมวลชนก็สนใจการทำ Political poll มากว่าเป็นเครื่องมือที่สามารถชี้ทางสว่างให้กับสังคมได้จริงและหากผู้นำประเทศได้ปฏิบัติตามก็จะเป็นประโยชน์เกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริงในยุคโน้น

และเมื่อรำลึกถึงอาจารย์ ผศ.ดร.แสวง รัตนมงคลมาศ เหล่าบรรดาลูกศิษย์ก็มีเรื่องราวของพลังอำนาจในการทำนายเหตุการณ์อนาคตของ “อาจารย์แหวง” มาเล่าให้กันฟัง หนึ่งในเรื่องเล่าที่ทุกคนจำกันได้ดีคือเรื่องชื่อของผู้หญิง 3 คนที่จะมามีบทบาทในการชี้นำประเทศซึ่งอาจารย์แหวงพูดเอาไว้เมื่อ 20 ปีที่แล้ว ซึ่งตอนนั้นก็ไม่ได้มีคนสนใจแต่ตอนนี้พอนึกได้ก็พากันอึ้ง ทึ่ง เพราะวันนั้นอาจารย์แสวงบอกว่า “พวกมึงคอยดูนะ ในอนาคตประเทศนี้จะอยู่ในมือของผู้หญิง 3 คนนี้........” ซึ่งก็มีปู มีอ้อ มีแดงแต่วันนั้นอาจารย์ใช้ศัพท์ที่ค่อนข้างเป็นธรรมดามากๆ เป็นภาษาบ้าน บ้าน เรียกนำหน้าชื่อผู้ที่เป็นที่รู้กันอยู่ว่าทุกวันนี้มีบทบาทอย่างมากในสังคมไทย เลยทำให้พวกเราจำกันได้ดียิ่ง มายุค 3G ในปัจจุบันยิ่งย้ำให้นึกถึงวันที่อาจารย์เล่าเรื่องสตรี 3 ท่านนั้น

​นอกจากเรื่องคำทำนายครั้งนั้นยังมีเรื่องราวอีกมากมายไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการพัฒนาชนบทที่อาจารย์แสวงพยายามที่จะนำพานักศึกษาออกไปสัมผัสกับความเป็นจริงในชนบท ให้ได้ไปรู้ไปเห็นว่าชนบทมันล่มสลายแน่ๆ ในอีกไม่นานชนบทจะไม่เหลือคนทำการเกษตรอยู่เลยและจะไม่มีคนทำนาแล้ว ซึ่งก็ต้องสู้ด้วยการเอาหลักคิด เอาทฤษฎี เอาความรู้ เอาศาสตร์ที่มีอยู่ไปช่วยชาวนาให้อยู่รอดให้ได้โดยหันมาทำเกษตรผสมผสานให้เลี้ยงตัวได้และพยายามจะแปลงปรัชญาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวคือปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การปฏิบัติให้ลงสู่พื้นดินเป็น Ground Theory โดยหัวใจหลักคือ “ควาย” ใช้ควายเป็นกำลังการผลิตแทนน้ำมัน ใช้ควายแทนเครื่องจักร ซึ่งควายจะผลิตปุ๋ย ผลิตหลายสิ่งหลายอย่าง ให้กลับกลายเป็นความสมบูรณ์ของท้องนา โดยไม่ต้องไปพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ ในขณะที่พานักศึกษาลงไปเรียนรู้ก็ทำให้เป็นเหมือนห้องทดลองวิจัยทางสังคมหรือที่รู้จักกันในนาม Social Lab สร้างให้เกิดขึ้นที่อุบลราชธานี เรียกว่า “โรงเรียนโรงนา” เป็นที่รู้จักกันทั่วไป

ผลจากการวิจัยปฏิบัติการทดลองการพัฒนาสังคมชนบทโดยมีเป้าหมายเพื่อดึงคนไว้ชนบท เพื่อไม่ให้กิจการท้องนา โรงนาล่มสลายก็ได้มาเป็นเกษตรกรตัวอย่างจำนวนหนึ่งซึ่งแม้จะไม่มาก จำนวนประมาณเพียงแค่ 200 คน ที่พิสูจน์ได้ว่าการประคองวิถีชีวิตชนบทเอาไว้ได้โดยไม่ต้องทิ้งท้องไร่ ท้องนานั้นทำได้จริง และได้นักศึกษากลุ่มหนึ่งที่ได้พัฒนามาด้วยการลงมือทำจริงตามแนวทางนี้

การพัฒนาแนวทางนี้ อาจารย์แสวงมองว่าในวิถีชีวิตของสังคมชนบทนั้นเป็นสังคมท้องไร่ ท้องนา อยู่กับวัวกับควาย อยู่กับการอาบน้ำโอ่ง แต่เมื่อสังคมเปลี่ยนไปชนบทล่มสลายหนุ่มสาวจากท้องนาก็จะทิ้งโอ่งมาสู่อ่าง คือทิ้งชีวิตชนบทอาบน้ำโอ่งเข้ามาอาบน้ำอ่าง ซึ่งมี 2 นัยยะคือคนที่ประสบความสำเร็จมั่งคั่งร่ำรวยก็ปลูกบ้าน ปลูกช่อง มีอ่างน้ำอาบอยู่สบาย ส่วนคนที่ไม่ประสบความสำเร็จก็ต้องไปหากินอยู่ในอ่างกลายสภาพจากชีวิตสบายในท้องนามาเป็นชีวิตลำเค็ญในสังคมเมือง จริงหรือไม่จริงสภาพสังคมทุกวันนี้ก็เป็นคำตอบเป็นอย่างดี เรื่องราวของอาจารย์แสวงยังมีอีกหลายเรื่องที่อยากบอกเล่า ขอยกไปบอกกล่าวในสัปดาห์หน้า +

แหล่งที่มา: 
พอแล้วรวย วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน 2555