โพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยของ "พ่อ"
ศูนย์เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง

ติดต่อเรา

มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ
เลขที่ ๑๑๔ ซอย บี ๑๒ หมู่บ้านสัมมากร สะพานสูง กรุงเทพฯ ๑๐๒๔๐
สำนักงาน ๐๒-๗๒๙๔๔๕๖ (แผนที่)
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง 038-198643 (แผนที่)


User login

อาสาสมัคร ภาคประชาชน รับมือภัยพิบัติ

  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_handler_argument::init() should be compatible with views_handler::init(&$view, $options) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_argument.inc on line 745.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter::options_validate() should be compatible with views_handler::options_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter.inc on line 589.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter::options_submit() should be compatible with views_handler::options_submit($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter.inc on line 589.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter_term_node_tid::value_validate() should be compatible with views_handler_filter::value_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/modules/taxonomy/views_handler_filter_term_node_tid.inc on line 303.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_style_default::options() should be compatible with views_object::options() in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_style_default.inc on line 25.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_row::options_validate() should be compatible with views_plugin::options_validate(&$form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_row.inc on line 135.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_row::options_submit() should be compatible with views_plugin::options_submit(&$form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_row.inc on line 135.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter_boolean_operator::value_validate() should be compatible with views_handler_filter::value_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter_boolean_operator.inc on line 149.

                เมื่อคราวที่แล้ว อาจารย์ยักษ์พูดเรื่องการจัดการน้ำภาคประชาชนไปแล้ว โดยชี้ให้เห็นการมองภาพรวมของการจัดการน้ำร่วมกันทั้งภาครัฐภาคประชาชน เพราะหากคิดเรื่องการจัดการน้ำภาครัฐอย่างเดียว ทิ้งภาคประชาชน รับประกันว่าไม่สำเร็จแน่ แต่หากสนับสนุนให้ภาคประชาชนลุกขึ้นมาจัดการน้ำนอกระบบ น้ำฝนที่ตกลงมาในท้องไร่ ท้องนา ในที่ลุ่ม ให้ไหลลงอ่างเก็บน้ำที่ขุดขึ้นมาในที่ดินของแต่ละคนจะเป็นการลดปริมาณน้ำฝนที่ไหลหลากได้ ภาครัฐควรเข้ามาสนับสนุนให้ภาคประชาชนจัดการน้ำด้วยตนเองภายใต้แนวคิด โคก หนอง นา โมเดล คือขุดดินทำหนองน้ำ เอาดินมาทำโคก ทำคันนาสูงเมตรนึงไว้เก็บน้ำ และปลูกป่า 3 อย่างเพื่อประโยชน์ 4 อย่างให้ได้ไม้ 5 ระดับ คือ สูง กลาง เตี้ย เรี่ยดิน และไม้หัวใต้ดิน เพื่อให้รากที่ต่างระดับกันนั้นสานกันเป็นร่างแหกักเก็บน้ำไว้ได้ นั่นคือการทำงานทางด้านกายภาพหรือการจัดการน้ำบนพื้นโลกในระดับลุ่มน้ำ แต่อีกด้านหนึ่งที่สำคัญและเป็นปัจจัยที่จะทำให้การทำงานภาคประชาชนสำเร็จ คือ การพัฒนาศักยภาพประชาชน ให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องของการจัดการน้ำ ซึ่งเป็นการป้องกันภัยพิบัติ เป็นส่วนหนึ่งของภาพรวมการจัดการภัยพิบัติ 3 ช่วงเวลา คือ ก่อนเกิดเหตุ (ป้องกัน) ขณะเกิดเหตุ (สื่อสาร-เตือนภัย) และหลังเกิดเหตุ (ฟื้นฟู) เพราะทุกวันนี้คนจำนวนมากไม่มีข้อมูลความรู้ ความเข้าใจว่าจะเกิดภัยพิบัติอะไรขึ้นในบ้านเมืองของเรา และไม่รู้ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์จะเผชิญเหตุได้อย่างไร หลังเกิดเหตุการณ์จะฟื้นฟูบ้านเรือน จิตใจ อาชีพ ฟื้นฟูดินอย่างไร ทั้งยังไม่มีโอกาสที่จะรับรู้หรือเรียนรู้เลย

                

          ในปีสองปีที่ผ่านมานี้ มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติและสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง ได้รับการขอร้องจากหลายหน่วยงานด้วยกัน ทั้งหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ทีมพยาบาลโรงพยาบาลจังหวัดนครปฐม และ สสส. ให้จัดหลักสูตรอบรมเพื่อเตรียมคนให้พร้อมรับกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นต่อสังคมทั้งภัยพิบัติธรรมชาติ โรคระบาดในคน ในสัตว์ พืช วิกฤตเศรษฐกิจข้าวยาก หมากแพง หรือแม้แต่ความขัดแย้งทางสังคมที่เกิดขึ้นนี้ เราจะเอาชีวิตรอดได้อย่างไร มีหลักสูตรที่เราพัฒนาขึ้นจากพื้นฐานของการ “คิดพึ่งตน”  จัดฝึกอบรมไปแล้ว  6 รุ่น โดยรุ่นที่ 6 เพิ่งจัดอบรมไปเมื่อวันที่ 13-18 กันยายนนี้ รุ่นนี้มีเครือข่ายหลายภาคส่วนเข้ามาร่วมกัน ทั้งเครือข่ายคริสตจักรจากทั่วประเทศ อาสาสมัครของเครือข่ายเราเองและภาคประชาชนที่สมัครมาอย่างอิสระ ได้เข้ามาอบรมกันจำนวนกว่า 50 คน มีเนื้อหาสาระที่เน้นให้นำกลับไปทำการป้องกันภัยพิบัติได้ด้วยตนเอง ทั้งการบำรุงดินด้วยคาถา เลี้ยงดิน ให้ดินเลี้ยงพืช สร้างสมดุลนิเวศกลับคืนจากการปลูกป่า 3 อย่าง เพื่อประโยชน์ 4 อย่าง เน้นให้ปลูกในพื้นที่บ้าน วัด โรงเรียน ที่สามารถดูแลได้ด้วยตัวเอง หลักสูตรการพึ่งตนด้านพลังงานด้วยการทำไบโอดีเซล ไบโอแก๊ส ซึ่งกลับบ้านไปทำได้เลย บ้านใครบ้านมัน ชุมชนใครชุมชนมัน
 
            
          จากนั้นฝึกให้อาสาสมัครมีสติพร้อมรับมือภัยพิบัติ เป็นการฝึกความพร้อมขณะเกิดเหตุ รู้จักการสื่อสารเพื่อการเตือนภัย การวางแผนอพยพโยกย้าย การจัดการกลุ่มคนที่หลากหลาย การใช้เชือกเพื่อการช่วยเหลือ การใช้เรือทั้งเรือท้องแบน เรือเจ็ตสกี ไปจนถึงการสื่อสารที่ใช้วิทยุสื่อสาร อินเตอร์เน็ท โทรศัพท์ร่วมกัน นอกจากนั้นยังฝึกพลังกายให้พร้อมรับมือ เป็นการซ้อมเพื่อให้เห็นจุดอ่อนของแต่ละคนว่า เมื่อต้องเผชิญเหตุการณ์ในสถานการณ์จริงแล้ว สามารถรอดผ่านไปได้แค่ไหน หรือมีจุดอ่อนที่ต้องกลับไปพัฒนาอย่างไร หลังการอบรมมีการทำแผนงานเพื่อนำกลับไปทำตามความสนใจ ตามพื้นที่ของแต่ละกลุ่ม และเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายพร้อมช่วยเหลือกัน ซึ่งเมื่อฟังเสียงสะท้อนจากผู้เข้าอบรมก็พบว่าพวกเขารู้สึกว่าได้รับประโยชน์เป็นอย่างมากทั้งที่ผู้เข้ารับการอบรมมีความหลากหลายทั้งเด็กและผู้ใหญ่ อาชีพก็หลากหลาย ทั้งหมอ พยาบาล วิศวกร แม่บ้าน เกษตรกร  แต่ที่พวกเขามีความเหมือนกันคือ ความสนใจว่าสังคมเกิดอะไรขึ้น ภัยพิบัติทั่วโลกปีนี้เกิดอะไรบ้าง มีความแห้งแล้งรุนแรงที่ไหน มีโรคระบาดอย่างไร คนเหล่านี้อยากจะรู้ ที่สำคัญที่สุดเขาอยากจะรู้ว่าเขาจะเอาตัวรอดอย่างไรและจะช่วยเหลือ อุ้มชู ลูกหลานของเขาและคนอื่นๆ ให้รอดพ้นหรืออยู่กับสภาวะวิกฤตจนถึงขั้นเอาชีวิตให้รอดได้อย่างไร ถือว่าเป็นภารกิจสำคัญยิ่ง ซึ่งหากได้รับการสนับสนุนอย่างจริงจังจากภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคเอกชน ภาคสื่อมวลชนและมูลนิธิต่างๆ ก็จะสามารถอุ้มชูคนได้เป็นจำนวนมากจริงๆ
 
                             
          อาจารย์ยักษ์ก็ได้แต่หวังว่า ทางรอดแบบวิถีบ้าน บ้าน ด้วยอาสาสมัครภาคประชาชน บนหลักคิด “การพึ่งตน” จะเป็นทางรอดหนึ่งซึ่งช่วยคนได้จริงๆ ในเวลาที่วิกฤตใกล้จะมาถึง หากใครสนใจลองรวมกลุ่มกันแล้วติดต่อมาคุยกันได้ ที่ 038 263 078 +
แหล่งที่มา: 
พอแล้วรวย วันเสาร์ที่ 22 กันยายน 2555