โพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยของ "พ่อ"
ศูนย์เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง

ติดต่อเรา

มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ
เลขที่ ๑๑๔ ซอย บี ๑๒ หมู่บ้านสัมมากร สะพานสูง กรุงเทพฯ ๑๐๒๔๐
สำนักงาน ๐๒-๗๒๙๔๔๕๖ (แผนที่)
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง 038-198643 (แผนที่)


User login

ปั่นจักรยานผ่านไฟบัลลัยกัลป์

  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_handler_argument::init() should be compatible with views_handler::init(&$view, $options) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_argument.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter::options_validate() should be compatible with views_handler::options_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter::options_submit() should be compatible with views_handler::options_submit($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter_term_node_tid::value_validate() should be compatible with views_handler_filter::value_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/modules/taxonomy/views_handler_filter_term_node_tid.inc on line 0.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_style_default::options() should be compatible with views_object::options() in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_style_default.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_row::options_validate() should be compatible with views_plugin::options_validate(&$form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_row.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_row::options_submit() should be compatible with views_plugin::options_submit(&$form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_row.inc on line 0.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter_boolean_operator::value_validate() should be compatible with views_handler_filter::value_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter_boolean_operator.inc on line 0.

           ขบวนปั่นจักรยานกู้วิกฤต คืนชีวิตให้แผ่นดิน จากภูผา...สู่มหานที (น่าน-ชลบุรี) เริ่มขึ้นแล้วเมื่อวันที่ 5 มีนาคมที่ผ่านมา คณะนักปั่นเกือบ 200 คนไปรวมตัวกันที่ต้นน้ำน่าน บ้านน้ำป้าก อ.ท่าวังผา จ.น่าน เพื่อปั่นเปิดขบวนจากน่านสู่สวนเอเดน อ.เวียงสา โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน คุณพงษ์ศักดิ์ วังเสมอ ให้เกียรติเข้าร่วมเป็นประธานเปิดขบวนจักรยาน ในพืธีเปิดตัวนักปั่นนั้นก็ได้มีการพูดคุยกันเรื่องปัญหาของการเก็บกักน้ำ ที่ชาวบ้านไม่สามารถเก็บน้ำฝนที่ตกลงมาไว้ได้เลย เพราะป่าต้นน้ำเหลืออยู่น้อยเต็มที

 
          หลังจากปั่นระยะทางใกล้ๆ ประมาณ 60 กิโลเมตรมาพักค้างที่สวนเอเดน คณะนักปั่นก็ต้องเจอกับเส้นทางสุดหิน ชนิดที่นักปั่นรุ่นเก๋าๆ พากันบอกว่า ผ่านวันนี้ไปได้ก็รอดแล้ว คือเส้นทางจากสวนเอเดนผ่านแนวเขา มุ่งหน้าสู่เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ ซึ่งอาจารย์ยักษ์ก็ยอมรับว่าภารกิจนี้สุดหินจริงๆ เพราะนอกจากจะต้องปั่นขึ้นภูเขาที่สูงชันแล้ว ยังต้องปั่นผ่านหมอกควันของไฟป่าที่เผาไหม้ป่าต้นน้ำไปทั่วทุกภูเขาที่เราผ่านกันมา
          เมื่อได้มีโอกาสพูดคุยกับชาวบ้าน และได้บรรยายที่บ้านศิษย์มาบเอื้อง ชื่อ เด่น เป็นศิษย์รุ่น 323 ที่ได้มาอบรมพร้อมผู้อำนวยการเขื่อนสิริกิติ์ แล้วกลับมาทำบ้านตัวเองในพื้นที่ 28 ไร่ ให้เป็นตัวอย่างให้ได้ โดยพยายามที่จะปลูกป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่างเหมือนที่เครือข่ายเราสอน เพราะเด่นถูกท้าทายว่าทำไม่จริง ทำไม่ได้หรอก ถ้าทำได้อาจารย์ยักษ์จะขึ้นไปเยี่ยม เด่นก็ได้เพียรพยายามมุ่งมั่นที่จะทำ เพียงเวลาครึ่งปีเท่านั้นก็เห็นความเปลี่ยนแปลง เมื่ออาจารย์ยักษ์ปั่นจักรยานมาเยี่ยมในครั้งนี้ เด่นก็ดีใจมาก พาขึ้นไปบนภูเขากับเจ้าหน้าที่ที่ได้มาต้อนรับดูแลชาวคณะนักปั่น เมื่อขึ้นไปบนภูเขาสิ่งที่ชัดเจนที่สุด คือ ปีที่แล้วไฟไม่ค่อยมีแต่ปีนี้ไฟมากผิดปกติ เหมือนกับมีการส่งสัญญาณให้รีบเผา รีบบุกยึดที่ดินขึ้นมาพร้อมๆ กันทุกๆ ที่ ทำให้อาจารย์ยักษ์นึกขึ้นมาได้ว่า รัฐมีนโยบายการส่งเสริมการปลูกสวนยางเพื่อหยุดไฟป่า ด้วยเขาคิดกันว่าถ้าปลูกยางพาราแล้ว ชาวบ้านย่อมไม่ยอมให้ไฟไหม้ป่าเด็ดขาด แต่เท่าที่ดูแล้ว คนปลูกยางก็ไม่ใช่ชาวบ้าน เป็นคนต่างถิ่นทั้งนั้นที่ขึ้นไป ฟังข้อมูลจากหลายๆ ส่วนทั้งจาก อบจ. อบต. และชาวบ้านเอง พบว่า มีนายทุนบุกขี้นมาซื้อที่ในนามของชาวบ้านเป็นจำนวนมหาศาล บนทะเลเขาหัวโล้นที่ไฟไหม้ตลอดนั้น เป็นพื้นที่ไม่มีสิทธิ์ ไม่มีโฉนด ไม่มีนส.3 อย่างมากก็เป็นพื้นที่อนุญาตให้ทำกิน และส่งต่อลูกหลานได้ ไม่มีทางที่คนต่างถิ่นจะเข้ามายึดครองได้ นอกจากจะใช้ชื่อชาวบ้านเป็นนอมินี เพื่อกว้านซื้อที่ดิน ตลอดเส้นทางที่สวนยางเพิ่มมากขึ้น ก็เห็นป่าถูกผ้าใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้น หมอกควันเต็มไปหมด บางส่วนของป่าที่ถูกเผานานแล้ว ก็เห็นแต่ตอไม้เป็นตะโกสีดำ ปีนี้คนภาคเหนือคงเจ็บป่วยกันเยอะ รัฐบาลก็จะประกาศเป็นเขตภัยพิบัติหมอกควันอีกเหมือนเดิม ให้งบประมาณลงไป แต่แล้วก็มองไม่เห็นว่าจะมีทางทำอะไรได้ นอกจากจะเกณฑ์ชาวบ้านเอาไม้ไปไล่ตีดับไฟกัน สุดท้ายไฟบัลลัยกัลป์ด้วยน้ำมือมนุษย์จะเผาผลาญภูเขาจนหมด เพราะคนไทยนี่แหละที่เป็นนอมินีให้คนต่างชาติมาปลูกยางยิ่งรัฐบาลส่งเสริมเข้าไปอีก ชาวบ้านก็ยิ่งเข้าใจว่า จะดับไฟป่าต้องเดินตามรัฐ คือปลูกยางพาราให้เต็มพื้นที่
          อาจารย์ยักษ์เห็นอย่างนี้ก็กลัวว่าจะซ้ำรอยที่กระทูน เพราะยางพาราที่ส่งเสริมให้ปลูกกันนั้นเป็นพืชระบบรากชั้นเดียว น้ำไหลลงไปจนถึงโคนราก จะยกเอาทั้งแผงสวนยางถล่มลงมา เหมือนมีต้นซุงทะลักลงมาทั้งแผง ซึ่งเคยเกิดขึ้นแล้วที่ สุดท้ายแล้วสวนยางที่น่าน ที่อุตรดิตถ์ จะถลล่มลงมาทับบ้าน ทับคนในเมือง ที่เป็นตลาด เป็นย่านการค้า อยู่ในที่ลุ่มเชิงเขา
 
 
          ขณะที่เป็นห่วง เป็นใยกัน ก็มีเรื่องให้น่าดีใจ เพราะหลังจากที่อาจารย์ยักษ์มาบรรยายที่นี่ 2 ครั้ง และเจ้าหน้าที่เขื่อนสิริกิติ์ได้ไปอบรมที่มาบเอื้องกลับมาก็ได้กลับมาทำฝายกันเป็นเรื่องเป็นราว ได้ผลชัดเจนเป็นร้อยๆ ฝาย ทำให้เห็นชัดว่า ป่าบริเวณไหนที่ทำฝายจะเขียวขึ้นชัดเจน ทั้งนายอำเภอและผอ.เขื่อนสิริกิติ์ พูดเหมือนกันว่า ในหลวงพูดถูกต้องชัดเจนว่า ปลูกป่าไม่ต้องทำอะไร นอกจากกันไม่ให้คนเข้าไปบุกรุกทำลาย และป้องกันไม่ให้เกิดไฟป่าเพราะเมล็ดพันธุ์ไม้ที่หมกตัวอยู่ในดินจะงอกงามเป็นป่าต่อไป  ป่าที่มีการทำฝายจะสมบูรณ์น้ำฝนที่ตกลงมาจะถูกซับลงไว้ใต้ดินได้มาก เพราะว่าระบบรากของไม้ป่านั้นมีหลายชั้นมาก ทั้งรากแก้ว รากฝอย รากแขนง รากขน พันกันอยู่หลายชนิด จนยึดดินไว้ได้เป็นขั้นๆ การที่ดินจะถล่มลงมานั้นจะไม่เกิดขึ้นแน่นอน ต่างกับป่าที่ส่งเสริมให้ปลูกไม้เศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว ระบบรากก็มีชั้นเดียว เวลาน้ำหลากมาก็พากันพังทลายลงมาได้ทั้งแผง การส่งเสริมให้ปลูกยางเพื่อหยุดไฟป่านั้น แม้รัฐจะมองว่าหยุดไฟป่าได้จริง แต่ก็เหมือนกับลิงแก้แห แก้ไฟป่าได้ ก็ไปผูกเงื่อนดินถล่มเอาไว้อีกชั้น
          เช้านี้นักปั่นจะแบ่งเป็นสองกลุ่ม ปั่นรณรงค์ในตลาด และปั่นไปทำฝายที่โรงเรียนบ้านซำบ๊อ กับชาวบ้าน หลังจากนั้นเส้นทางจะพานักปั่นไปเจอกับเรื่องราวอะไรบ้าง อาจารย์ยักษ์จะเก็บมาบอก แต่ตอนนี้ต้องขอตัวไปปั่นจักรยานต่อก่อนนะครับ +
 
อาจารย์ยักษ์ มหา’ลัยคอกหมู
แหล่งที่มา: 
พอแล้วรวย คม ชัด ลึก ฉบับวันเสาร์ที่ 10 มีนาคม 2555