โพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยของ "พ่อ"
ศูนย์เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง

ติดต่อเรา

มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ
เลขที่ ๑๑๔ ซอย บี ๑๒ หมู่บ้านสัมมากร สะพานสูง กรุงเทพฯ ๑๐๒๔๐
สำนักงาน ๐๒-๗๒๙๔๔๕๖ (แผนที่)
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง 038-198643 (แผนที่)


User login

วิจัยแบบไหนไม่ขึ้นหิ้ง (2)

  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_handler_argument::init() should be compatible with views_handler::init(&$view, $options) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_argument.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter::options_validate() should be compatible with views_handler::options_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter::options_submit() should be compatible with views_handler::options_submit($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter_term_node_tid::value_validate() should be compatible with views_handler_filter::value_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/modules/taxonomy/views_handler_filter_term_node_tid.inc on line 0.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_style_default::options() should be compatible with views_object::options() in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_style_default.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_row::options_validate() should be compatible with views_plugin::options_validate(&$form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_row.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_row::options_submit() should be compatible with views_plugin::options_submit(&$form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_row.inc on line 0.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter_boolean_operator::value_validate() should be compatible with views_handler_filter::value_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter_boolean_operator.inc on line 0.

วันนี้ อาจารย์ยักษ์ขอเสนอคำว่า...Socio-Economic Change Adaptation…

เปิดคอลัมน์วันนี้ หากพยายามอ่านออกเสียงให้พอเหมาะสมก็จะคล้ายกับรายการสอนภาษาไทยที่ยาวนาน และติดหูคนไทย ที่จริงแล้วอาจารย์ยักษ์ก็ต้องการเสนอคำที่ว่านั้นจริงๆ ไม่ได้เพียงแค่ล้อเล่น แล้วก็ต้องการให้ติดหูเหมือนกัน เพราะ “Socio-Economic Change Adaptation” หรือการปรับตัวในภาวะความเปลี่ยนแปลงเชิงเศรษฐกิจ-สังคม เป็นเรื่องใหญ่ และจำเป็นต้องให้ความสำคัญ และการให้ความสำคัญกับเรื่องนี้นั้น ก็จะต้องไม่เป็นแค่เพียงการทำไปเพื่อ “ศึกษา-หาความรู้” แต่จะต้องเป็นการศึกษา วิจัยเพื่อนำไปปฏิบัติ

อาจารย์ยักษ์ว่า หมดยุคแล้วที่เราจะทำงานวิจัยเพียงเพื่อสนองกิเลสของตน แต่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้งานวิจัยนั้น มีคุณค่าต่อสังคม หรือใช้ภาษาอังกฤษโก้ๆ ว่า “Don't let our learning lead to Knowledge, Let it lead to Action.” อย่าให้การเรียนรู้ของเรานั้นทำให้เกิดเพียงความรู้ แต่ต้องเรียนรู้เพื่อนำลงสู่การปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่โลกไม่มีเวลาเหลือพอแล้วสำหรับทุกผู้คน

งานวิจัยจึงจำเป็นต้องทำเพื่อตอบคำถามสำคัญของสังคม ในเชิงปฏิบัติให้ได้ จึงจะเรียกได้ว่าเป็นงานวิจัย หมดยุคสมัยงานวิจัยเด็กเล่น งานวิจัยขึ้นหิ้งแล้ว ต้องมาร่วมทำงานวิจัยผลกระทบ และทางออกของสังคมให้ชัดเจน และทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน จับกับสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นและผลกระทบของแต่ละพื้นที่ ที่มหาวิทยาลัยนั้นๆ ตั้งอยู่ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเกิดสึนามิขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่นจะส่งผลกระทบอะไรขึ้นกับเมืองไทย ?

นักวิจัยก็ต้องรู้ว่า ผลกระทบจากการเกิดสึนามิที่ญี่ปุ่น จะกระเทือนถึงมิติใดบ้าง กระเทือนถึงคน กระเทือนถึงราคาน้ำมัน กระเทือนถึงเศรษฐกิจ กระเทือนถึงการย้ายถิ่นฐานของนักลงทุนญี่ปุ่น ก็ใครจะอยากอยู่ในพื้นที่ซึ่งเสี่ยงอันตราย เขาก็เฮละโลมาอยู่ในที่ที่ปลอดภัย แล้วที่ไหนที่ปลอดภัย ก็คือเมืองไทยของเรานี่แหละ ทั้งคนจีนก็เข้ามา คนญี่ปุ่นก็เข้ามา คนจากประเทศต่างๆ พากันเข้ามาอยู่ในเมืองไทย แล้วคนไทยจะปรับตัวยังไง ยิ่งเจอกับคนที่มีความขยัน ฉลาด มีวินัย อย่างจีนกับญี่ปุ่น คนไทยยังจะนั่งสบายอยู่อีกหรือ...แล้วเราจะอยู่ได้หรือ นี่แหละคือผลกระทบที่เกิดขึ้นจริงแล้ว

อาจารย์ยักษ์ขอท้าให้คนที่ไม่เชื่อทั้งหลาย ลองไปดูแถวภาคตะวันออกของไทย ตั้งแต่กรุงเทพฯ ไล่ไปฉะเชิงเทรา ชลบุรี ไประยอง จะเห็นการอพยพเข้ามา ของคนจีน และคนญี่ปุ่นจำนวนมาก เพราะเขาชอบภูมิภาคนี้กันมาก ภูมิภาคที่ เรียกว่า Eastern Seaboard นี่ไง เห็นไหมว่าเราจะต้องเจอกับผลกระทบทั้งบวกและลบชัดเจน

ข้อมูลเหล่านี้แหละที่นักวิจัยจะต้องศึกษาในมิติของสังคม มิติของเศรษฐกิจการค้า การลงทุน มิติด้านภาษี มิติของกฎหมาย มิติของอาหาร งานวิจัยที่จะต้องทำจึงมีเป็นร้อย เป็นพันเรื่อง พอวิจัยได้แล้ว ก็ต้องเอาข้อมูลเหล่านี้แพร่ลงสู่ประชาชนให้เร็วที่สุด ไม่ใช่ได้ผลวิจัยแล้วโยนขึ้นหิ้ง แต่ต้องเอาลงมาแพร่ให้แก่ประชาชนได้รู้ จากนั้นต้องทำต่อ พัฒนาต่อ หายุทธศาสตร์ในการรับมือ และทางออกของการอยู่ร่วมกัน ทำร่วมกับประชาชนในพื้นที่อย่างเป็นระบบ และต่อเนื่อง

หากคิดตามอาจารย์ยักษ์ที่เขียนไว้ทั้ง 2-3 ตอนที่ผ่านมาจะเห็นเลยว่า จำเป็นที่จะต้องมีงานวิจัยจำนวนมาก ในทุกด้าน แล้วต้องทำเป็นชุดๆ กำหนดระยะเวลาไว้ 9 ปี ทำเป็นระยะสั้น ชุดละ 3 ปี ทำ 3 ชุด จากนั้นบอกกับประชาชนว่า หนึ่งปี สองปี สามปีต่อจากนี้ไปจะเกิดอะไรต่อประชาชนบ้าง นี่คืองานวิจัยที่จำเป็นต่อสังคม ที่เรียกว่า Action Research ไม่ใช่ว่ามานั่งแอบเขียนกันอยู่ในห้อง อยู่ในมหาวิทยาลัย ใช้ข้อมูลเก่า เอกสารเก่า ไม่มีทางจะได้งานวิจัยที่ชี้นำกำหนดอนาคตประเทศได้

อาจารย์ยักษ์ว่า ถึงเวลาแล้วที่สถาบันการศึกษา จะได้ทำหน้าที่เป็นที่พึ่งของภาคประชาชน โดยใช้สิ่งที่เป็นจุดเด่น เป็นข้อได้เปรียบ เป็นหัวใจของการศึกษา คืองานด้านวิชาการ ใช้ศาสตร์แห่งการวิจัยมาทำงานเชิงรุกร่วมกับประชาชน เพื่อค้นหายุทธศาสตร์การปรับตัวในภาวะที่สังคมเรากำลังจะต้องเผชิญหน้ากับวัน เวลาของการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งก็คือคำว่า Socio-Economic Change Adaptation ที่กล่าวไว้ข้างต้นนั่นเอง 
     
"อาจารย์ยักษ์ มหา’ ลัยคอกหมู"

แหล่งที่มา: 
พอแล้วรวย คม ชัด ลึก 28 พฤษภาคม 2554