9 ฐานเรียนรู้
ความรู้ที่น่าสนใจ (Documents on web)
ติดต่อเรา
มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ
เลขที่ ๑๑๔ ซอย บี ๑๒ หมู่บ้านสัมมากร สะพานสูง กรุงเทพฯ ๑๐๒๔๐
สำนักงาน ๐๒-๗๒๙๔๔๕๖ (แผนที่)
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง 038-198643 (แผนที่)
User login
ลิงค์เครือข่าย
ยุทธศาสตร์ภาคประชาชน เพื่อรับมือวิกฤติการณ์ (1)
ช่วงที่ผ่านมา อาจารย์ยักษ์รู้สึกว่าสัญชาตญาณมดของตัวเองค่อนข้างจะทำงาน เกิดเป็นความกังวลใจแปลกๆ ใน ช่วงหลายวันมานี้ แต่เมื่อมองดูสภาพสังคมปัจจุบันก็เข้าใจว่า ทำไมสัญชาตญาณมดจึงได้ทำงาน เหตุสำคัญคง เป็นเพราะภัยพิบัติธรรมชาติที่เกิดขึ้นถี่ในช่วงนี้ แต่แนวทางแก้ปัญหาของรัฐยังเดินไปตามแนวทางเดิมๆ ซึ่งเห็น กันอยู่แล้วว่าเป็นการแก้ปัญหาผิดทาง นอกจากนั้นปัญหาเศรษฐกิจก็กำลังลุกลามไปทั่วโลก ราคาน้ำมันแพง อาหารขาดแคลน ฯลฯ ซึ่งแสดงให้เห็นชัดเจนว่าจะส่งผลสะเทือนถึงประเทศเราอย่างแน่นอน เมื่อมองไปที่การเมืองก็พบแต่ความสับสน วุ่นวาย ขัดแย้งกันภายในจนไม่มีเวลามาแก้ปัญหาของประชาชน ซึ่ง ประเด็นนี้ถือเป็นเรื่องใหญ่มาก เพราะรัฐกุมไว้ทั้งกำลังคน ทรัพยากร และงบประมาณ สุดท้ายอาจารย์ยักษ์มอง เห็นความพยายามของสังคมกระแสหลักที่กำลังดิ้นรนเพื่อเอาตัวรอด ที่จะส่งผลกระทบอย่างแรงต่อสังคม อาจารย์ยักษ์ดูแล้วก็เห็นแต่ประเด็นความขัดแย้งที่จะรุนแรงขึ้น และแนวทางที่เป็นไปได้มีทางเดียว คือ ภาค ประชาชนจะต้องวางยุทธศาสตร์เพื่อขับเคลื่อนพวกเรากันเอง อย่างเป็นกระบวนและเป็นขบวนเพื่อรับภาวะวิกฤติ ซึ่งจะมาถึงทุกคน เหมือนท่ามกลางกระแสน้ำที่หลากมา จะมีต้นไม้ มีขอนไม้ สวะลอยมา หากเราดึงเอาสวะมา เกี่ยวกับขอนไม้ ก็กลายเป็นเกาะขึ้นกลางน้ำ หากเราดึงสวะเข้ามาเรื่อยๆ ดึงอะไรต่างๆ ที่ลอยตามน้ำมาขึ้นมาไว้ เป็นกอที่ใหญ่ขึ้นพอสำหรับเป็นที่พักพิง สิงสาราสัตว์ลอยตามน้ำมาก็ช่วยดึงขึ้นมาไว้ ก็จะเป็นที่พึ่งของคนของสัตว์ ได้ เป็นโอกาสที่เกิดขึ้นในภาวะวิกฤติ แต่จะทำอย่างไรให้เกิดขึ้นเป็นจริงนั้น ก็เป็นเรื่องยาก แต่ก็ต้องทำ เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ ก็มองว่า ในท่ามกลางวิกฤติการณ์นี้ กลุ่มเรายังพอจะเป็นที่พึ่งได้บ้าง แม้จะยังไม่ แข็งแกร่ง แต่เราก็เตรียมการมาหลายปีแล้ว พอพึ่งตัวเองได้และเตรียมการฝึกคนในให้เข้มแข็งมากขึ้น ให้มี พลังมากขึ้น เพื่อยกระดับศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ สู่ “ค่ายกสิกรรมธรรมชาติ” ให้เป็นที่พึ่ง ที่อพยพเวลาเกิด วิกฤติ ส่วนการวางกำลังนั้น อาจารย์ยักษ์มองว่า ถึงเวลาแล้วที่จะต้องเชื่อมโยงกับทุกฝ่ายให้ครบเบญจภาคี โดยต้อง แบ่งงานคนในให้ชัดเจน เยาวชนรุ่นเล็กมีแรง มีกำลังต้องเคลื่อนแรงและเร็ว ขณะนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปลุก กระแสเยาวชนขึ้น ให้วัยรุ่น ให้เยาวชน ได้เข้ามาร่วมกำลัง เป็นเปลือก เป็นกระพี้ให้ได้ยิ่งดี จากนั้นฝึกให้เขา แม่นทฤษฎี มีวิญญาณ ประสานเซียนได้ ขึ้นเป็นผู้นำในกลุ่มเยาวชนด้วยกันเองได้ นี่คืองานหลักในการสร้างกอง กำลังรุ่นเยาว์เพื่อทำงานขับเคลื่อนภาคประชาชน ประการที่สอง กลุ่มคนรุ่นกลางจะเน้นหนักในการทำงานขับเคลื่อนลุ่มน้ำ โดยใช้ตัวอย่างความสำเร็จของการขับ เคลื่อนเครือข่ายจากภูผาสู่มหานที ที่ลุ่มน้ำพะโต๊ะ จ.ชุมพร ซึ่งเกิดจากการเชื่อมโยงภาคราชการ คือ พงศา ชูแนม จากหน่วยอนุรักษ์จัดการพื้นที่ต้นน้ำพะโต๊ะเชื่อมกับวริสร รักษ์พันธุ์ ภาคเอกชนจากชุมพร คาบาน่าที่ปลายน้ำ และสื่อมวลชนเข้าร่วมสนับสนุน สื่อหลักคือทีวีบูรพาและสื่อมวลชนในพื้นที่เข้ามาร่วมมากมาย ส่วนภาคประชาชนนั้น ถูกจัดตั้งขึ้นมาเต็มไปหมด ทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ และภาควิชาการในนามของกรม ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ก็เข้ามาจับมือร่วมด้วย โดยการนำเครื่องมือมาตรวจวัดคุณภาพน้ำ กลายเป็นองค์ ประกอบ 5 ภาคีที่จริงจัง และผู้ว่าราชการจังหวัดให้การสนับสนุน การขับเคลื่อนลุ่มน้ำพะโต๊ะจึงสำเร็จ แต่ โมเดลความสำเร็จนี้ไม่ใช่เป็นเพียงโมเดลเดียวที่ทำได้ การทำงานของเครือข่ายในลุ่มน้ำอื่นๆ ยังมีโมเดลที่เกิด ขึ้นจากการนำของภาคีอื่นๆ แต่ประสบความสำเร็จเช่นเดียวกัน และเป็นต้นแบบให้ทีมรุ่นกลางขับเคลื่อนใน โมเดลเดียวกัน อาทิตย์หน้า อาจารย์ยักษ์จะมาเล่าให้ฟังถึงยุทธศาสตร์ภาคประชาชนที่จะพลิกขึ้นมาเพื่อรับมือภาวะวิกฤติและ การเกิดขึ้นของ “ค่ายกสิกรรมธรรมชาติ” ค่ายอพยพที่มีทั้งอาหาร ที่พัก และความรู้ที่ได้วางแผนรับมือทั้ง ก่อนเกิดเหตุการณ์ ขณะเกิดเหตุ และหลังเกิดเหตุการณ์ไว้พร้อมแล้ว "อาจารย์ยักษ์ มหา'ลัยคอกหมู"