9 ฐานเรียนรู้
ความรู้ที่น่าสนใจ (Documents on web)
ติดต่อเรา
มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ
เลขที่ ๑๑๔ ซอย บี ๑๒ หมู่บ้านสัมมากร สะพานสูง กรุงเทพฯ ๑๐๒๔๐
สำนักงาน ๐๒-๗๒๙๔๔๕๖ (แผนที่)
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง 038-198643 (แผนที่)
User login
ลิงค์เครือข่าย
ภารกิจเร่งด่วนหลังน้ำลด (1)
อาจารย์ยักษ์ได้รับคำถามมากมายหลังเกิดเหตุการณ์วิกฤตน้ำท่วมภาคใต้อย่างหนักหนาสาหัสแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อนว่า จะรับมือกับภัยพิบัติที่เกิดขึ้นเป็นจริงแล้วนี้ได้อย่างไร ก่อนอื่นอาจารย์ยักษ์ต้องขอย้ำว่าเป็นคนหนึ่งที่เชื่อมานานกว่า 25 ปีแล้วว่า สิ่งที่พระเตือน สิ่งที่ผู้ใหญ่ในอดีตเตือน และสำคัญที่สุด คือ สิ่งที่พระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเตือนว่า ภัยพิบัติธรรมชาติจะเกิดขึ้นทั้ง 4 ด้านนี้จะเกิดขึ้นจริง โดยเฉพาะภัยพิบัติธรรมชาติ ซึ่งเราก็เห็นอยู่แล้วว่า ภัยแล้งก็เจอแน่ๆ น้ำท่วมเราก็เห็นอยู่แล้ว แผ่นดินถล่มเราก็เจอแล้ว แล้วยังจะมีสึนามิที่เพิ่งเกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทยแต่เราก็เจอมาหมดแล้ว เฉพาะในประเทศไทยที่เราเชื่อว่าเป็นหนึ่งในพื้นที่ปลอดภัยแห่งหนึ่งในโลก
อาจารย์ยักษ์เชื่อว่า สิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องทำ คือ การกำหนด “แผนเตรียมการ” หรือแผนเตรียมพร้อมแห่งชาติซึ่งอาจารย์ยักษ์เองในฐานะที่เคยเป็นผู้วิเคราะห์นโยบายและแผน ของกองวางแผนเตรียมพร้อมแห่งชาติมาก่อนจะเล่าย้อนให้ฟังว่า เรามีแผนวิธีคิดที่จะต้องเตรียมการล่วงหน้า ไม่ใช่รอให้เกิดแล้วไปแก้กัน การเตรียมการล่วงหน้านี้มีมากมายและเป็นสิ่งจำเป็นนี่คือเรื่องแรก เสร็จแล้วเรื่องที่สองคือ เราต้องเตรียมพร้อมเผชิญเหตุการณ์ ระหว่างเหตุการณ์เราจะทำอย่างไรเพื่อให้คนเจ็บ คนตายน้อยที่สุด ซึ่งก็มีวิธีการโดยเฉพาะ แต่ขณะเดียวกันสิ่งที่ทั้งเหนื่อยและหนัก และต้องทำต่อเนื่องยาวนาน คือ งานฟื้นฟูหลังจากเกิดเหตุภัยพิบัติแล้ว ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการเข้าไปฟื้นฟู ทั้งฟื้นฟูบ้านเรือน ทั้งฟื้นฟูแหล่งทำมาหากิน แหล่งน้ำ ถนนหนทางในการเดินทาง ฟื้นฟูอาชีพ อีกมากมายที่สำคัญที่สุด คือ ฟื้นฟูจิตใจของคน
ถ้าสังคมเรารวมกลุ่มกันได้ และมีระบบที่พระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเรียกว่า มี “ความรู้” มีความมีน้ำใจ จุนเจือช่วยเหลือและมีน้ำใจต่อกัน ก็สามารถที่จะเตรียมพร้อมได้แน่นอน และหากจะถามว่าเตรียมได้อย่างไรนั้นประการที่หนึ่งซึ่งอาจารย์ยักษ์เพิ่งได้คุยโทรศัพท์กับ ดร.รอยล จิตรดอน เมื่อวานนี้ ท่านก็ได้ให้ข้อมูลว่านักวิทยาศาสตร์เองมีข้อมูลแล้วว่าพื้นที่ไหนมีความเสี่ยงมาก เสี่ยงน้อย เสี่ยงปานกลาง พื้นที่เสี่ยงภัยอยู่ตรงไหน ซึ่งอาจารย์ยักษ์เห็นว่าความรู้เรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่าจะแพร่ลงสู่ประชาชนให้เร็วที่สุด และจัดตั้งให้รู้ว่าเขาอยู่ในพื้นที่ที่เสี่ยงภัย และจะต้องเผชิญกับภัยน้ำท่วม ภัยแล้ง แผ่นดินถล่ม หรือภัยพิบัติแบบใด จะต้องเจอกับแผ่นดินไหว หรือสตรอมเซิร์ส สึนามิ ให้เขารู้ว่าคุณอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยและชีวิตจะต้องเตรียมมากกว่าคนที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่เสี่ยง ถึงเวลาแล้วที่ความรู้เหล่านี้ต้องแพร่ลงถึงชาวบ้านให้มากที่สุด นี่คือขั้นที่หนึ่ง จากทั้งหมดสามขั้นตอน เตรียมการก่อนเกิดเหตุ เตรียมพร้อมเผชิญเหตุการณ์ และแผนฟื้นฟูหลังเกิดเหตุการณ์
ในขั้นแรกเมื่อเรามีข้อมูล เราจะทราบว่าจะเตรียมทำอย่างไร เมื่อรู้ว่าอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย และหากเราบอกแล้วเขากลับบอกว่า โอ๊ย...ไม่มีหรอก บรรพบุรุษอยู่มาหลายชั่วคนไม่เคยมีมาก่อน ฉันไม่เตรียมหรอก ไม่มีแน่นอน... เราก็ต้องชี้แจงเขาว่า นั่นเป็นความเชื่อเก่า ปัจจัยต่างของโลกได้เปลี่ยนแปลงไปแล้วในยุคสมัยนี้และก็มีบทพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้น ก็เกิดขึ้นแล้ว พื้นที่ที่ไม่เคยท่วมเลยตลอดชั่วอายุคน คนอายุ 70-80 ปีบอกว่าเกิดมาไม่เคยเห็นแบบนี้เลย ตอนนี้ก็ได้เกิดขึ้นแล้ว ทั้งแผ่นดินไหว น้ำท่วม แผ่นดินแยก ดินถล่ม ซึ่งเป็นผลมาจากความเปลี่ยนแปลงของโลกยุคปัจจุบัน ที่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ยืนยัน ฉบับหน้าอาจารย์ยักษ์จะขอมาเล่าต่อถึงแนวทางฟื้นฟู ป้องกัน และเตือนภัยพิบัติธรรมชาติ +
อาจารย์ยักษ์ มหา'ลัยคอกหมู