โพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยของ "พ่อ"
ศูนย์เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง

ติดต่อเรา

มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ
เลขที่ ๑๑๔ ซอย บี ๑๒ หมู่บ้านสัมมากร สะพานสูง กรุงเทพฯ ๑๐๒๔๐
สำนักงาน ๐๒-๗๒๙๔๔๕๖ (แผนที่)
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง 038-198643 (แผนที่)


User login

ทางรอดสังคมไทย ฝากไว้กับ 40 ราชภัฏ (1)

  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_handler_argument::init() should be compatible with views_handler::init(&$view, $options) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_argument.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter::options_validate() should be compatible with views_handler::options_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter::options_submit() should be compatible with views_handler::options_submit($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter_term_node_tid::value_validate() should be compatible with views_handler_filter::value_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/modules/taxonomy/views_handler_filter_term_node_tid.inc on line 0.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_style_default::options() should be compatible with views_object::options() in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_style_default.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_row::options_validate() should be compatible with views_plugin::options_validate(&$form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_row.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_row::options_submit() should be compatible with views_plugin::options_submit(&$form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_row.inc on line 0.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter_boolean_operator::value_validate() should be compatible with views_handler_filter::value_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter_boolean_operator.inc on line 0.

เหลียวมองดูความเป็นไปของบ้านเมืองเราวันนี้ อาจารย์ยักษ์ได้แต่ถอนใจและเชื่อมั่นในหัวใจลึกๆ ว่าในสายตาของคนที่เฝ้ามองความอยู่รอดของประเทศในทุกระดับชั้นต่างกังวลใจลึกๆ ถึงอนาคตของประเทศชาติ ว่าเราจะรอด เราจะผ่านวิกฤติการณ์ครั้งนี้ไปได้หรือไม่ วิกฤติการณ์ที่อาจารย์ยักษ์มองเห็นนั้น มีรากเหง้าที่ไม่ได้หยั่งลึกมากมาย แต่พลังการทำลายรุนแรงเหลือประมาณ

วิกฤติอันเกิดจากการพัฒนากระแสหลักที่ทำลายความมั่นคงของรากฐานประเทศไทยเสียย่อยยับ ลงภายในระยะเวลาเพียง 50 ปี ในขณะเดียวกันกระแสการพัฒนาแบบเดียวกันนี้ก็กำลังทำลายอารยธรรมของโลกมนุษย์ที่มีมายาวนานนับพันปี

หนักหนาสาหัสกว่านั้นกำลังทำลายโลกใบนี้ที่มีอายุยืนยาวนับพันล้านปีให้ย่อยยับลงไปในปัจจุบันการพัฒนาที่เอา “ทุน” เป็นที่ตั้ง พัฒนาโดยการสร้างความเจริญอารยะให้เมืองแล้วลงทุนสร้างงาน สร้างความฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อ ให้เมือง ผู้คนในเมืองใช้ชีวิตอย่างมั่งมีศรีสุข ฉาบทาด้วยแก้วแหวน เงินทองประดับประดา ดั่งดวงดาวที่ประดับท้องฟ้ายามราตรี ความงามของแสงระยิบระยับ ลากพาเอาผู้คนหนุ่มสาวจากชนบทเข้ามาแสวงหาความมั่งคั่งในเมือง แสวงหาเงินทองเพื่อแลกกับทุกสิ่งทุกอย่าง แลกกับข้าว ปลา อาหาร ปัจจัย 4 และกับเพื่อนกับมิตร แลกกับมายา แลกแม้กระทั่งใบปริญญาที่ไม่ได้หมายความถึงการได้มาซึ่ง “ความรู้” อีกต่อไป

การศึกษาในสังคมยุคใหม่ได้เบนเข็มจากการศึกษาหาความรู้ เพื่อบ่มปัญญาเป็นการพัฒนาแรงงานเพื่อป้อนเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรม เป็นการศึกษาที่ระบบใช้ระบบเศรษฐกิจทุนนิยม และการค้า เมื่อเด็กหนุ่มสาวเดินทางจากท้องถิ่นมาจึงได้รับการ “พัฒนา” ให้กลายเป็น “แรงงาน” เป็น “ฟันเฟือง” ในสายพานของภาคอุตสาหกรรม การค้า การบริการ และมีงานรัดตัววุ่นวายไม่เหลือเวลาแม้แต่จะกลับไปเหลียวมองหรือเหลือบแลถิ่นฐานที่จากมา

ชนบทวันนี้จึงไม่เหลือคนดี คนเก่ง คนที่มีกำลัง ภาคเกษตรกรรมจึงมีเพียงผู้เฒ่ากับยายแก่ ยักแย่ ยักยัน ทำนา ทำไร่กันไป ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะหมดแรงล้มลง เมื่อนั้นลูกหลานก็รอคอยเวลาขายที่นา ขายทรัพย์สิน โผบินเข้าสู่เมือง เข้ามาแออัดยัดเยียด แย่งกันกิน แย่งกันใช้ แย่งอากาศหายใจกันต่อไป

การพัฒนาที่นำมาสู่สิ่งเหล่านี้ ย่อมต้องมีอะไรที่ผิดพลาด หลายมือชี้ไปที่ “การศึกษา” แต่จะเปลี่ยนระบบการศึกษาได้อย่างไร ด้วยแนวทางไหน เหล่าบรรดาคนพายเรือในอ่างล้วนชี้มือโบ้ยกันไปมา...ไม่มีทีท่าว่าอะไรจะดีขึ้น แล้วทางรอดของประเทศจะอยู่ที่ตรงไหน

ถามอาจารย์ยักษ์ ก็ขอตอบว่าทางรอดของสังคมไทยวันนี้ฝากไว้กับ 40 มหาวิทยาลัยราชภัฏ

ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น...ก็เพราะว่าการกำเนิดมหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 40 แห่งนั้น ตั้งขึ้นจากการมองเห็นปัญหาของระบบที่กำลังกลืนกินตัวเอง มหาวิทยาลัยจึงมีวัตถุประสงค์ที่ตั้งขึ้นโดยมีพระราชบัญญัติเป็นกฎหมายระบุชัดเจนว่าเป็น “สถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น”

โดยพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ.2547 กำหนดให้มหาวิทยาลัยราชภัฏทำหน้าที่ธำรงรักษาท้องถิ่นตอบสนองท้องถิ่น รักษาความหลากหลายของท้องถิ่น และภารกิจหลักทั้ง 4 ประการของมหาวิทยาลัยราชภัฏ คือ 1.การผลิตบัณฑิตเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น 2.การค้นคว้าวิจัยและพัฒนาท้องถิ่น 3.การบริการวิชาการแก่ท้องถิ่น และ 4.ทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่น

จากภารกิจหลักทั้ง 4 ข้อนี้ เห็นได้ชัดเจนว่าเป้าหมายสำคัญของการก่อตั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 40 แห่ง เป็นไปเพื่อคงความยิ่งใหญ่ ความมั่งคั่งของท้องถิ่นไว้ให้ได้

เมื่อเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อท้องถิ่นสิ่งสำคัญอันดับแรกคือ ต้องรู้จักคุณค่าของท้องถิ่น รู้จักภูมิปัญญา อารยธรรม และศาสตร์ต่างๆ ของแต่ละท้องถิ่น แล้วทำหน้าที่เก็บรักษาสืบทอดความรู้นั้นๆ ทั้งในด้านการผลิตคนเพื่อตอบสนองความยิ่งใหญ่ของท้องถิ่น การวิจัยค้นหาองค์ความรู้ที่ยังหลงเหลืออยู่ แล้วทำนุบำรุงความรู้และศาสตร์ต่างๆ ของท้องถิ่นไว้ให้ได้

ขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่สถาบันอุดมศึกษาด้วยการให้บริการองค์ความรู้กลับไปยังท้องถิ่นนั้นๆ ก็จะเป็นการทำหน้าที่ตอบสนองต่อภารกิจทั้ง 4 ประการ ที่ได้รับมอบหมายไว้ และเป็นการทำตามวัตถุประสงค์การจัดตั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ

ทำไมจึงต้องเป็นราชภัฏ ฉบับหน้ามีคำตอบ

"อาจารย์ยักษ์ มหา'ลัยคอกหมู"

 

แหล่งที่มา: 
พอแล้วรวย คม ชัด ลึก 12 มีนาคม 2554