โพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยของ "พ่อ"
ศูนย์เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง

ติดต่อเรา

มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ
เลขที่ ๑๑๔ ซอย บี ๑๒ หมู่บ้านสัมมากร สะพานสูง กรุงเทพฯ ๑๐๒๔๐
สำนักงาน ๐๒-๗๒๙๔๔๕๖ (แผนที่)
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง 038-198643 (แผนที่)


User login

เกษตรกรรมไทยหลัง 2012

  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_handler_argument::init() should be compatible with views_handler::init(&$view, $options) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_argument.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter::options_validate() should be compatible with views_handler::options_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter::options_submit() should be compatible with views_handler::options_submit($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter_term_node_tid::value_validate() should be compatible with views_handler_filter::value_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/modules/taxonomy/views_handler_filter_term_node_tid.inc on line 0.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_style_default::options() should be compatible with views_object::options() in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_style_default.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_row::options_validate() should be compatible with views_plugin::options_validate(&$form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_row.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_row::options_submit() should be compatible with views_plugin::options_submit(&$form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_row.inc on line 0.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter_boolean_operator::value_validate() should be compatible with views_handler_filter::value_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter_boolean_operator.inc on line 0.

ถึงคราแผ่นดินไทยถูก พม่า” ยึดครอง

ข่าวน้ำท่วม ภัยแล้ง ไฟป่า ดินถล่มที่คนไทยเริ่มจะชินชาว่ากำลังกลายเป็น วัฎจักรของระบบนิเวศไทย ข่าวแม่น้ำโขงแห้ง น้ำในเขื่อนเหลือไม่พอให้เกษตรกรทำนา ทำให้ผู้คนตั้งคำถามว่า “อนาคตของเกษตรไทยจะเป็นอย่างไร” ในระหว่างที่เขียนบทความอยู่นี้ ข่าวโศกนาฏกรรมน้ำท่วมใหญ่ที่ปากีสถานกำลังเป็นข่าวดังไปทั่วโลก ตามข่าวน้ำท่วมปากีสถานครั้งนี้สร้างความทุกข์เข็ญให้กับประชากรชาวปากีสถานไม่แพ้โศกนาฏกรรมในเฮติ หรือ บางทีอาจจะรุนแรงกว่า คาดว่าประชากรประมาณ 14 ล้านคนจะได้รับผลกระทบอย่างหนัก ภาพหมู่บ้านทั้งหมู่บ้านจมอยู่ใต้น้ำ พื้นที่ไร่นาเสียหายอย่างยับเยิน เวลาปิดตานึกภาพถึงที่นา ที่ทำกินของเกษตรกรไทยในอีก ๕ หรือ ๑๐ ปีข้างหน้าทีไร ภาพที่เห็นก็เป็นภาพทุกข์เข็ญของเกษตรกรไทยที่สิ้นเนื้อประดาตัวจากภัยนานาชนิดไม่ว่าจะเป็น น้ำท่วม ภัยแล้ง ไฟป่า ดินถล่ม ไม่ต่างจากคนปากีสถานในขณะที่หลายคนกำลังหัวใจพองโตเพราะเชื่อว่าภาวการณ์ที่โลกกำลังวิกฤติอย่างนี้ นี่คือโอกาสทองของเกษตรไทย อาหารแพง สินค้าเกษตรได้ราคา  สมควรจะเป็นยุคทองของเกษตรไทยเสียไม่ว่า  ถ้ามองจากหลักตรรกะ ก็ควรเป็นจริงตามนั้น แต่การพัฒนาเกษตรของประเทศไทยไม่เคยเป็นไปตามหลักตรรกะ จึงกล้ายืนยันว่า “อนาคตของเกษตรไทยไปไม่รอด” 

เกษตรไทยในอดีตและปัจจุบันจากแผน ๑ ถึงแผน ๑๐

เกษตรไทยยุคก่อนแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ ๑ ปี ๒๕๐๔ ถือเป็นยุคที่ได้ชื่อว่า “อู่ข้าว อู่น้ำ”อุดมสมบูรณ์ไปด้วยข้าวปลาอาหาร การเกษตรไทยในยุคนี้เป็นการเกษตรที่มีความหลากหลาย ยังเป็นเกษตรเพื่อการยังชีพ เลี้ยงตนเองและครอบครัวเป็นหลัก หากมีมากพอก็ค้าขายกันภายในประเทศ เกษตรกรไทยในยุคนี้เน้นการพึ่งตนเองเป็นหลัก อาศัยสภาพแวดล้อมที่อิงธรรมชาติ การเกษตรเป็นไปตามฤดูกาล และยังเป็นเกษตรกรรมที่ไร้สารพิษอย่างสิ้นเชิง อาศัยองค์ความรู้ในชุมชนที่สืบทอดจากบรรพบุรุษ มาในปี ๒๕๐๔ของการประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ ๑ เกษตรไทยก็เข้าสู่ยุคที่เรียกว่า “ปฏิวัติเขียว”เปลี่ยนจากการทำเกษตรที่มีพืชหลากหลายมาเป็นเกษตรเชิงเดี่ยว จากเกษตรเพื่อยังชีพและค้าขายภายในประเทศก็เปลี่ยนมาเป็นเพื่อการค้าและส่งออก จากเกษตรที่อิงธรรมชาติก็เริ่มใช้ปุ๋ยเคมี เพื่อเร่งการผลิต ใช้ยาฆ่าแมลง กำจัดศัตรูพืช จากการปลูกพืชตามฤดูกาลก็เปลี่ยนมาเป็นปลูกพืชที่สนองความต้องการของ “ตลาด”และอุตสาหกรรมอาหาร เกษตรไทยในอดีตที่เป็นไปตามเงื่อนไขปัจจัยภายในและธรรมชาติแวดล้อมของตนเอง มาในปัจจุบันเป็นเกษตรที่ผูกติดอยู่กับ การค้าเต็มรูป และความต้องการของตลาดโลก

แม้ว่าปัจจุบัน ประเทศไทยจะยังได้รับการยอมรับว่าเป็นประเทศที่มีความสำคัญในฐานะ “ครัว”ที่ป้อนอาหารสู่โลก แต่ความมั่นคงทางอาหารภายในของประเทศกลับน้อยลง ในปี ๒๕๒๘ พืชเกษตรหลักของไทยคือข้าว ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากราคาโลกที่ตกต่ำเป็นประวัติการณ์ ตามด้วยการระบาดอย่างหนักของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ราคาที่ผันผวนของสินค้าเกษตรมีผลทำให้รูปแบบของการปลูกพืชของเกษตรกรไทยไม่แน่นอน เป็นไปตามแรงเหวี่ยงของปัจจัยภายนอก เช่น เมื่อราคาน้ำตาลดี เกษตรกรก็พากันปลูกอ้อย เมื่อยางพาราดี ก็ปลูกยาง เมื่อมันสำปะหลังดีก็ปลูกมันสำปะหลัง การหันหลังกลับอย่างสิ้นเชิงให้กับการเกษตรเพื่อความพอเพียงในการยังชีพ ทำให้เกษตรไทยเดินทางไปสู่จุดที่ “ไม่สามารถพึ่งตนเองได้”เข้าสู่วังวนแห่งวัฏจักรของหนี้สิน การต้องพึ่งพาสารเคมีนำเข้า และเทคโนโลยีประดิษฐ์แทนธรรมชาติ ทำให้ต้นทุนในการผลิตของเกษตรกรไทยถีบทะยานขึ้นไปอย่างที่ไม่สามารถควบคุมได้ เมื่อพืชเกษตรที่พากันปลูกจำนวนมากราคาตก ทำให้เกษตรกรขาดทุน เป็นหนี้ เป็นวงอุบาทว์อย่างนี้มาหลายทศวรรษ สิ่งที่ซ้ำเติมภาคเกษตรไทยคือความอ่อนเปลี้ยไร้ประสิทธิภาพของภาครัฐในการดูแล บริหารจัดการภาคเกษตรไทยบวกกับสื่อสารวัฒนธรรมและระบบการศึกษาที่ชุดกระชากคนเก่งออกจากภาคเกษตรไปเป็นกำลังสำคัญของภาคการค้า อุตสาหกรรม และบริการจนหมดสิ้น

ดูเหมือนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติทุกฉบับได้ให้ความสำคัญกับภาคเกษตรในฐานะที่เป็นหัวใจของประเทศ ดังเริ่มต้นฉบับที่ ๑ ที่ระบุเป้าหมายชัดเจนของการพัฒนาประเทศด้านการเกษตรที่ครอบคลุมถึง ๔ ด้านทั้งด้านการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติที่จำเป็นต่อภาคเกษตร เช่น ดิน ป่าไม้และน้ำ การวิจัยค้นคว้า และทดลองการเกษตรแผนใหม่เพื่อยกระดับคุณภาพการผลิต การช่วยเหลือดูแลจากภาครัฐ และสุดท้ายมีเป้าหมายรวมถึงการยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร   มาในแผน ๒ การพัฒนาการเกษตรนอกจากจะเน้นการยกระดับคุณภาพของสินค้าเกษตรไทยด้านปริมาณและคุณภาพ ในแผนยังย้ำชัดเจนว่า “ให้ผลประโยชน์จากการผลิตตกอยู่กับเกษตรกรให้มากที่สุด มาในแผน ๓ และ ๔ การพัฒนาด้านเกษตรของไทยก็ยังคงเน้นส่งเสริมการขยายการผลิตเพื่อการส่งออกอย่างต่อเนื่อง มีการเปิดพื้นที่ป่าเพื่อใช้ในการเกษตรอย่างมโหฬาร ในยุคระหว่างแผน๓ ๔ และ ๕ (๒๕๑๕-๒๕๒๙) มีการขยายโครงสร้างพื้นฐานเพื่อส่งเสริมการเกษตรและการพัฒนาประเทศด้านอื่น ๆ อย่างขนานใหญ่ไม่ว่าจะการสร้างเขื่อน ถนน และสาธารณูปโภคอื่น ๆ ในยุคนี้การเกษตรไทยได้เปลี่ยนรูปเป็นไปเพื่อการส่งออกและป้อนสู่อุตสาหกรรมโดยสิ้นเชิง และเกษตรไทยถูกผลักให้จมดิ่งเข้าสู่เขี้ยวเล็บของโลกาภิวัตน์อย่างยากที่จะถอนตัว ในช่วง ๒๕ ปีนี้ (๒๕๐๔-๒๕๒๙)  เนื้อที่การเพาะปลูก เพิ่มจาก ๔๙.๓ ล้านไร่เป็น ๑๐๙.๔ ล้านไร่ มีการเปิดพื้นที่ บุกรุกพื้นที่ป่าอย่างมโหฬารส่งผลให้เนื้อที่ป่าของประเทศลดลงเหลือเพียง ๓๗% แม้จะมีการระบุอย่างชัดเจนถึงเป้าหมายในการพัฒนาภาคเกษตรเพื่อการยกระดับทั้งผลผลิตและคุณภาพชีวิตของเกษตรกรไทย แต่สิ่งที่ระบุไว้ในแผน ๖ และ ๗ เท่ากับยอมรับความล้มเหลวของแผนพัฒนาเกษตรที่ผ่านมา เพราะทั้งแผน ๖ และ ๗ ต้องกลับมาเน้นการแก้ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำระหว่างสังคมเมืองและชนบท แม้รัฐจะเห็นความสำคัญของภาคเกษตรที่อยู่ในชนบท แต่ในทางปฏิบัติทุกอย่างกลับไปรวมศูนย์ที่ภาคอุตสาหกรรมและเมือง ซึ่งส่งผลให้แผน ๘ และ ๙  (๒๕๔๐-๒๕๔๙) ต้องระบุว่าการพัฒนาเกษตรและชนบทเปลี่ยนทิศทางมาอยู่ที่การสร้างความเท่าเทียมและการฟื้นฟูฐานทรัพยากรเป็นหลัก ปัจจุบันประเทศไทยอยู่ภายใต้แผนพัฒนาฉบับที่ ๑๐ (๒๕๕๐-๒๕๕๔) สิ่งที่น่าสนใจคือ แผนพัฒนาฉบับนี้กลับลำสู่เศรษฐกิจพอเพียงและความสมดุล เป้าหมายการพัฒนาชนบทเขียนไว้ว่า ให้ชุมชนอยู่เย็นเป็นสุข มีกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตและการจัดสวัสดิการชุมชน มีความมั่นคงด้านอาหาร มีดุลยภาพในการดำรงชีวิตภายใต้ศักยภาพของฐานทรัพยากรและวิถีวัฒนธรรมที่ดีงามในชุมชน มีการบริหารจัดการที่ดี มีความสามารถในการพึ่งตนเอง มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงในบริบทสังคมไทยภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ และนำไปสู่การลดปัญหาความยากจน

เป้าหมายการพัฒนาข้างต้นกลับมีอุดมคติที่จะพาสังคมชนบทไทยกลับไปสู่สภาพก่อนปี ๒๕๐๔ ก่อนมีแผนพัฒนาใดๆ ทั้งสิ้น ทั้งความมั่นคงทางอาหาร ทั้งวัฒนธรรมชุมชนที่ดีงาม ทั้งความสามารถในการพึ่งตนเอง เป็นสภาพชนบทไทยก่อนที่เราจะรู้จักฝรั่ง และยอมให้อิทธิพลฝรั่งเข้ามา “กำกับ”ประเทศไทย ผ่านแผนพัฒนาฉบับต่าง ๆ สิ่งที่น่าเศร้าคือการเกษตรที่เน้นการค้า การส่งออกในช่วงสี่ห้าทศวรรษที่ผ่านมาได้ “ทำลาย”ชนบทที่เคยดีงาม อุดมสมบูรณ์ไปจนหมดสิ้น ไม่เพียงเท่านั้นเกษตรกรจำนวนมากเป็นเหมือนคนล้มละลาย เป็นหนี้สินล้นพ้นตัว การขยายการผลิต และการเร่งผลผลิตที่ก่อให้เกิดวัฒนธรรมการใช้สารเคมีในปริมาณมากและต่อเนื่องยาวนานในภาคเกษตรไทย ได้สะสมถึงขั้น “ก่อพิษ”เป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อมและสุขภาพของคนไทยทั้งประเทศ  “ดินเสื่อม น้ำเสื่อม อากาศเสื่อม คนเสื่อม อาหารเสื่อม”นี่คือ คือข้อสรุปของภาพเกษตรไทยในยุคทศวรรษนี้ สิ่งที่ต้องตั้งคำถามคือการกลับลำมาแก้ปัญหาเกษตรไทยในแผน ๑๐ โดยใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหนทางนำไปสู่ “ความสุขและความดีงาม”ของชนบทเหมือนในอดีต ๕๐ ปีที่แล้ว ในสภาพที่ประเทศ “หมดตัว”นี้ สายไปหรือเปล่า

 เกษตรไทยในอนาคต

การพยากรณ์อนาคตของเกษตรไทยก็คงไม่ต้องไม่พึ่งหมอดูที่ไหน ใช้หลัก อิทัปปัจจยตาของพระพุทธเจ้าที่ว่า “เพราะมีสิ่งนี้  จึงมีสิ่งนี้”“เพราะไม่มีสิ่งนี้ จึงไม่มีสิ่งนี้”ก็น่าจะให้คำตอบได้ว่าอนาคตของเกษตรไทยจะเป็นอย่างไร หลักอิทัปปัจจยตาคือหลักเหตุและผลนั่นเอง เหตุดี ผลจึงดี เหตุไม่ดี ผลจึงไม่ดี เหตุเพราะมีผู้นำดี ผลประเทศจึงดี เหตุเพราะมีครูดี ผลลูกศิษย์จึงดี ในทางกลับกัน  เหตุเพราะมีผู้นำไม่ดี ผลประเทศจึงไม่ดี เหตุเพราะมีครูไม่ดี ผลลูกศิษย์จึงไม่ดี หากใช้หลักนี้ เราก็พอจะทายได้แม่นว่าเกษตรไทยในอีก ๕-๑๐ ปีข้างหน้าจะไปโลด หรือ จะไปล่วง โดยการกลับมาดูจากเหตุ และผลต่อเนื่องของเหตุ  หากตั้งสมมุติฐานว่าเกษตรไทยจะไปโลดมีอนาคตที่สดใส ก็เป็นเพราะเกษตรไทยมีวันนี้ที่สดใส วันนี้ที่สดใสของเกษตรไทยก็เพราะมีเงื่อนไขต่าง ๆที่เอื้อทั้งเงื่อนไขภายนอก คือทิศทางนโยบายของภาครัฐ หน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบ และเงื่อนไขภายในคือตัวเกษตรกรเองความรุนแรงทางการเมืองที่ผ่านมาหยก ๆ ขมวดปมอยู่ที่ปัญหา ความยากจนของคนในชนบท ความเหลื่อมล้ำทางสังคม ความไม่เท่าเทียม สองมาตรฐาน ซึ่งสะท้อนภาพ “วันนี้ที่ไม่สดใส”ของเกษตรไทย แต่อะไรทำให้เกษตรไทย ชนบทไทยจึงมีสภาพ “วนในอ่าง”ตกอยู่ภายใต้วัฏจักรแห่งความชั่วร้าย และในสภาพที่ภัยธรรมชาติโหมกระหน่ำ เกษตรไทย ณ วันนี้จึงเหมือนต้อง มนต์สาป  เราได้พูดถึงแผนพัฒนาที่ไม่ได้ทำหน้าที่ของตนเองเป็นเหตุชั้นที่หนึ่ง ถึงตรงนี้เราลองมาสำรวจกันสักนิดว่าในระดับปฏิบัติการ เกษตรไทยเกี่ยวข้องกับหน่วยงานไหนบ้าง และเค้าต้องมีหน้าที่อะไร จะทำให้เราชัดเจนถึงเหตุ ชั้นที่สอง และ สามารถทำนายผลได้หน่วยงานหลักของการดูแลเกษตรกรไทย คือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่มีหน่วยงานย่อยในระดับกรมมากกว่า ๑๐ กรมที่เกี่ยวข้องกับชีวิตและชะตากรรมของเกษตรกรไทย ในที่นี่จะขอยกตัวอย่างการแก้ปัญหาภัยพิบัติด้านเกษตรที่ผ่านมาเพื่อให้เห็นการเชื่อมโยงการทำงานของกรมต่าง ๆ ภายในกระทรวงเกษตร ฯ ในการป้องกันและแก้ปัญหาภัยพิบัติด้านเกษตร กระทรวงเกษตร ฯ ได้ประกาศออกมาเป็นแผนแบบบูรณาการที่รวบรวมเอาหน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาด้วยกัน โดยระบุภารกิจในหน่วยงานที่รับผิดชอบดังนี้

๑. กรมชลประทาน   มีหน้าที่บริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์น้ำ วางแผนจัดสรรน้ำที่ใช้ในการเพาะปลูกให้สอดคล้องกับน้ำต้นทุน วางแผนป้องกันน้ำท่วม น้ำแล้ง

๒. กรมประมง  จัดทำทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำ ประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนภัยเกษตรกรให้คำแนะนำด้านวิชาการ วางแผนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เหมาะสมกับช่วงฤดูกาล

๓. กรมปศุสัตว์  จัดทำทะเบียนผู้เลี้ยงสัตว์ ให้คำแนะนำในการวางแผนการเลี้ยงสัตว์ ดูแลสุขภาพสัตว์ วางแผนอพยพสัตว์และสร้างแหล่งเก็บกักน้ำถาวรสำหรับสัตว์ในฤดูแล้ง การเตรียมเสบียงสัตว์และเวชภัณฑ์เพื่อสนับสนุนในกรณีที่ขาดแคลนติดตามสถานการณ์ รายงานความเสียหาย และการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์

๔. กรมพัฒนาที่ดิน  จัดทำแผนที่เสี่ยงภัย เฝ้าระวังและคาดหมายพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดภัยเพื่อแจ้งเตือนเกษตรกร และให้คำแนะนำการปลูกพืชในเขตที่ดินที่เหมาะสม รวมถึงได้จัดทำแผนงาน/โครงการต่างๆ เพื่อช่วยป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยพิบัติด้านการเกษตร

๕. กรมวิชาการเกษตร  ประชาสัมพันธ์ให้คำแนะนำในการดูแลพืช การป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่ถูกต้องเหมาะสม และได้จัดเตรียมสำรองพันธุ์พืช รวมถึงจัดชุดเฉพาะกิจเคลื่อนที่เร็วเพื่อฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรม และจัดฝึกอบรมอาชีพด้านการเกษตรแก่เกษตรกรผู้ประสบภัย

๖. กรมส่งเสริมการเกษตร  จัดทำทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกพืช ติดตามสถานการณ์เพื่อประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนภัยแก่เกษตรกร และให้คำแนะนำในการดูแลพืช วางแผนการปลูกพืชให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ แนะนำการป้องกันกำจัดศัตรูพืช รวมทั้งดำเนินการสำรวจความเสียหายและให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยด้านการเกษตร

๗. กรมการข้าว  ติดตาม เฝ้าระวัง สถานการณ์การระบาดของศัตรูข้าวเพื่อแจ้งเตือนภัยแก่เกษตรกร ประชาสัมพันธ์และให้คำแนะนำในการดูแลรักษา วางแผนการปลูกข้าวให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ผ่านสื่อต่างๆ รวมทั้งจัดเตรียมสำรองเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีและจัดทำแผนการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวเพิ่มเติม

๘. สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ดำเนินการก่อสร้างแหล่งน้ำ ขุดลอกคูคลองในพื้นที่เขตปฏิรูปที่ดินฯ รวมถึงสนับสนุนเครื่องสูบน้ำ รถบรรทุกน้ำและให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเขตปฏิรูปที่ดินฯ

๙. สำนักฝนหลวงและการบินเพื่อการเกษตร  จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงประจำภาคเพื่อดำเนินการปฏิบัติการฝนหลวงตามแผนปฏิบัติการ หรือตามคำร้องขอของเกษตรกร

๑๐. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร วิเคราะห์สถานการณ์ พยากรณ์แนวโน้มการผลิตและการตลาดพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ การประเมินมูลค่าความเสียหายด้านเศรษฐกิจการเกษตรจากการเกิดภัยพิบัติ รวมถึงการกำหนดมาตรการต่างๆในการช่วยเหลือเกษตรกร

๑๑. กรมส่งเสริมสหกรณ์ จัดทำและตรวจสอบความสมบูรณ์ของข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่การเกษตร ทรัพย์สินหนี้สินเกษตรกร ของสมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร เพื่อให้การช่วยเหลือด้านหนี้สินรวมทั้งฝึกอบรมเพื่อฟื้นฟูอาชีพให้เกษตรกรที่ประสบภัย

หากพิจารณาตามตัวอักษรถึงภารกิจข้างต้นของหน่วยงานต่าง ๆ ในการช่วยเหลือดูแลเกษตรกร ก็ย่อมต้องถือได้ว่าเป็นภารกิจที่เขียนไว้ครอบคลุมดีมาก และหากปฏิบัติการตามนี้จริง กระทรวงเกษตรฯก็ดูเหมือนจะเป็นที่พึ่งได้ แต่มีคำถามที่ต้องถามต่อไปว่า ในภาวะปกติ ๕ ทศวรรษที่ผ่านมา ที่เกษตรกรไทยยังไม่เจอภาวะวิกฤติหนักขนาดนี้ กระทรวงเกษตรฯ ได้เป็นที่พึ่งให้กับเกษตรกรไทยหรือไม่ ถ้าไม่ ในภาวะวิกฤติที่โหมกระหน่ำเช่นนี้ กระทรวงเกษตร ฯ จะลุกขึ้นมาเป็นที่พึ่งของเกษตรกรได้อย่างไร หากกล่าวจากหลักตรรกะ ความล้มเหลวของเกษตรกร คือ ความล้มเหลวของกระทรวงเกษตร ฯ ก็ดูจะไม่ผิดนัก แล้วความล้มเหลวของกระทรวงเกษตรฯมาจากอะไร ข้างล่างน่าจะเป็นคำตอบ  คุณอมเรศ ศิลาอ่อนได้เคยสรุปปัญหาของระบบราชการไทยไว้ได้อย่างค่อนข้างครบถ้วน ๗ ประการด้วยกัน

๑. การบริหารราชการมีการรวบอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางมากเกินไป ปัญหาทุกอย่างจึงมากระจุกตัวที่ศูนย์กลาง

๒. การขยายตัวของระบบราชการ และระบบงานซ้ำซ้อน

๓. กฎระเบียบล้าสมัยแล้ว ขาดการทบทวนหรือยกเลิก สังคมเปลี่ยนเร็ว แต่กฎระเบียบตามไม่ทัน

๔. การแสวงหาผลประโยชน์จากตำแหน่ง หน้าที่ เนื่องจากการแทรกแซงของฝ่ายการเมือง และทั้งจากสาเหตุที่ข้าราชการ มีรายได้ต่ำ เมื่อเทียบกับ ภาคเอกชน

๕. การเน้นความมั่นคงในอาชีพมากเกินไป และมีระบบดูแลจนตาย ทำให้คนในระบบราชการขาดการดิ้นรนพัฒนาตนเอง

๖. การต่อต้านการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็งในลักษณะของอำนาจนิยม

๗. การขาดผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ และกล้าหาญ ผู้นำฝ่ายราชการมักเกรงกลัวนักการเมือง หรือเข้ามาในอำนาจได้เพราะการเมืองจึงต้องยำเกรง

หากปัญหาทั้ง ๗ ข้อของระบบราชการไทยเป็นปัญหาของกระทรวงเกษตร ฯ เช่นกันจนส่งผลให้ภาคเกษตรมีสภาพเป็นเหมือนทุกวันนี้ และหาก กระทรวงเกษตร ฯ ไม่พร้อมที่จะเปลี่ยน หรือ ไม่สามารถเปลี่ยน เราก็คงพยากรณ์อนาคตของเกษตรไทยได้อย่างแม่นยำว่าจะมีทิศทางอย่างไร การทำให้เกษตรไทยให้มั่นคงในสถานการณ์ปัจจุบันไม่เพียงแต่ต้องอาศัยความกล้าหาญ วิสัยทัศน์ และความเข้มแข็งของผู้นำกระทรวงเกษตร ฯ เท่านั้น มันยังเชื่อมโยงไปถึงความกล้าหาญ วิสัยทัศน์ของผู้นำในกระทรวงอื่น ๆ และที่สำคัญ “ผู้นำประเทศ” อย่างไรก็ตามกระทรวงเกษตร ฯ ก็ปฏิเสธบทบาทในฐานะ “ผู้รับผิดชอบ”โดยตรงไม่ได้ เกษตรไทยในวันหน้าเป็นอย่างไรก็คงดูได้จากกระทรวงเกษตรฯ ในวันนี้

 เกษตรไทยในจาก ทุน โลกาภิวัตน์ ถึงภาวะสิ้นแผ่นดิน

นอกจากปัญหาภายในของเกษตรไทยที่อยู่ภายใต้แผนการพัฒนาแห่งชาติที่ผิดเพี้ยน เดินหลงทิศ ยังอยู่ภายใต้การดูแล บริหารงานของหน่วยงานรัฐที่ไร้ประสิทธิภาพ ไม่เพียงเท่านี้เกษตรไทยยังถูกแรงบีบจากอิทธิพลของทุนข้ามชาติให้เป็น “ตลาด”สารพิษ ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง ทำลายความอุดมสมบูรณ์ของแผ่นดิน ผนวกกับการทำให้เป็น “เบี้ย”ตัวหนึ่งของระบบโลกาภิวัตน์ในกระบวนผลิตวัตถุดิบเชิงเดี่ยวป้อนสู่อุตสาหกรรม เกษตรไทยที่เคยอยู่ในภาวะ สมบูรณ์ แข็งแรง  มาบัดนี้เปรียบเสมือนคน ผอมแห้ง แรงน้อยเพราะการพัฒนากระจุกตัวอยู่ที่อุตสาหกรรมและเมือง  ชนบทถูกละเลย เกษตรจำนวนมากได้ละทิ้งท้องถิ่นตนเอง “แปรสภาพ”เป็นแรงงานยากจนในเมือง ในสภาวะที่โลกกำลังวิกฤติเข้าสู่ยุคขาดแคลนอาหาร ทุนอุตสาหกรรมจำนวนมากจึงเริ่มเคลื่อนย้ายเข้ายึดครองภาคเกษตรให้เป็นแหล่งสร้างกำไรในอนาคต เป็นผลให้คนในชนบทจำนวนมากที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์กำลังเร่ง “ขาย”แผ่นดินบรรพบุรุษให้กับทุนต่างชาติ   อีกไม่เกิน ๑๐ ปี เราจะพบเจ้าของแผ่นดินไทย ที่มีหน้าตาเปลี่ยนไป บ้างจมูกโด่ง ผิวดำ บ้างจมูกแบน ผิวเหลือง บ้างจมูกโด่งผิวขาวตาน้ำข้าว ชี้นิ้วสั่งการ แรงงานผิวสีน้ำตาลเข้ม ชาวพม่า เต็มแผ่นดินไทย ส่วนคนไทยก็กลายสภาพเป็น “ลูกจ้าง”หรือไม่ก็ “แรงงานชั้นดี”หมดสิทธิ์ความเป็นเจ้าของแผ่นดินอีกต่อไป

การพัฒนาเกษตรไทยที่ผิดพลาดเมื่อวาน พาเรามาสู่ทางตันในวันนี้ และย่อมดูได้ไม่ยากว่า วันพรุ่งนี้เราจะกำลังเดินทางสู่ปากเหว ผลจากความผิดพลาดในวันวานก็ทำให้คนไทยในวันนี้ไม่มีใครอยากเป็นเกษตรกร ไม่ภาคภูมิใจในอาชีพเกษตรกร ไม่อยากให้ลูกหลานรักในอาชีพเกษตรกร ดูถูกเหยียดหยามอาชีพเกษตรกร เท่านั้นยังไม่พอ เรายังติดในมิจฉาทิฐิ “ข้าวปลาสิของมายา เงินทองสิของจริง” จึงต้องสิ้นชาติ ไร้แผ่นดินด้วยประการฉะนี้แล

อ.วิวัฒน์  ศัลยกำธร