โพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยของ "พ่อ"
ศูนย์เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง

ติดต่อเรา

มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ
เลขที่ ๑๑๔ ซอย บี ๑๒ หมู่บ้านสัมมากร สะพานสูง กรุงเทพฯ ๑๐๒๔๐
สำนักงาน ๐๒-๗๒๙๔๔๕๖ (แผนที่)
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง 038-198643 (แผนที่)


User login

เตรียมรับวิกฤติ “วันสิ้นโลก”

  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_handler_argument::init() should be compatible with views_handler::init(&$view, $options) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_argument.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter::options_validate() should be compatible with views_handler::options_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter::options_submit() should be compatible with views_handler::options_submit($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter_term_node_tid::value_validate() should be compatible with views_handler_filter::value_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/modules/taxonomy/views_handler_filter_term_node_tid.inc on line 0.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_style_default::options() should be compatible with views_object::options() in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_style_default.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_row::options_validate() should be compatible with views_plugin::options_validate(&$form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_row.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_row::options_submit() should be compatible with views_plugin::options_submit(&$form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_row.inc on line 0.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter_boolean_operator::value_validate() should be compatible with views_handler_filter::value_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter_boolean_operator.inc on line 0.

          “วันสิ้นโลก 2012” แม้ว่าจะเป็นเพียงหนังฮอลีวูดที่สะกดคนดูให้ตื่นเต้นและลุ้นไปกับตัวเอกของเรื่องในการหนีเอาชีวิตรอดกับวินาศภัยวันสิ้นโลก แต่ข้อมูลของเหตุที่มาวันสิ้นโลกก็อ้างอิงมาจากหลายแหล่งก็ดูจะสอดคล้องกัน ทั้งปฏิทินของชาวมายันที่บังเอิญมาสิ้นสุดในเดือนธันวาคม 2012 รวมทั้งข้อมูลของนักวิทยาศาสตร์ที่ว่าแกนโลกจะพลิกกลับขั้ว ซึ่งจะมีผลทำให้เกิด ลมพายุสุริยะ  โลกจะไร้สนามแม่เหล็ก อันเป็นเหตุให้เกิด แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด เหมือนกับที่บรรยายฉายภาพไว้ในหนัง
          แม้ว่า “วันสิ้นโลก 2012” จะเป็นเพียงหนังก็ตาม แต่ก็ได้สร้างความประหวั่นพรั่นพรึงให้กับผู้ดูไม่น้อย เพราะธรรมชาติในระยะสิบปีมานี้ได้ส่งสัญญานเตือนภัยมาให้กับมนุษย์เป็นระยะ ๆ เหตุการณ์แผ่นดินไหวล่าสุดที่เฮติก็เปรียบเสมือนกลองที่รัวขึ้นอีกครั้งของสัญญาณเตือนภัยว่าวันสิ้นโลกที่กำลังกล่าวขวัญถึงอาจเป็นเรื่องจริงที่มนุษย์ไม่อาจหลีกเลี่ยงก็ได้ ไม่ว่าหายนะจะเกิดขึ้นจริงในปี 2012 หรือไม่แต่มนุษย์โลกเราก็ยอมรับแล้ว เรากำลังเดินทางสู่ หายนะ ด้วย “ฝีมือ” ของเราเองด้วยการจุดไฟเผาให้ “โลกร้อน” เหมือนไฟบรรลัยกัลป์
เราจะหยุดวิกฤติ “วันสิ้นโลก” อย่างไร
          ผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่า หากวิถีการดำรงชีวิตของมนุษย์ที่ยังต้องอิงวัตถุเป็นปัจจัยหลักยังคงดำเนินอยู่แบบนี้ต่อไป โลกในอีก 10-20 ปีข้างหน้าจะเป็นโลกที่หน้าตาไม่เหมือนเดิม เพราะการใช้และทำลายทรัพยากรอย่างไร้ขอบเขตนั้นมีผลทำให้ระบบนิเวศของโลกเปลี่ยนแปลงไปจนเลยจุดที่เรียกว่า tipping point หรือจุดที่ไม่อาจหวนกลับได้อีก โลกจะมีสภาพหนาวเย็น ขาดแคลนอาหาร น้ำ พลังงาน มนุษย์จะอยู่อย่างแร้นแค้น สำหรับประเทศไทยเป็นที่คาดการณ์ว่าน้ำจะท่วมขนาดที่กรุงเทพฯจะจมหายเป็นเมืองใต้บาดาลทั้งเมือง ก่อนเหตุการณ์นี้จะมาถึงเราต้องตั้งคำถามว่า เราได้ลงมือกระทำอะไรบางอย่างที่เป็นการป้องกันแล้วหรือยัง
ประเทศไทยถูกจัดให้เป็นประเทศหนึ่งที่จะได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนอยู่ในขั้น “หนักหน่วง” แม้จะเป็นประเทศโชคดีที่ยังมีทรัพยากรพื้นฐานดีกว่าประเทศอื่น แต่ด้วยมีจุดอ่อนในการบริหารจัดการ การเตรียมการ การป้องกันจึงยังอยู่ในอาการ ลูกผีลูกคน ทั้งนี้ผลกระทบจากโลกร้อนที่แสดงอาการแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ ไม่ว่าจะเป็น น้ำท่วม ภัยแล้ง ดินถล่มยังขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันด้านสิ่งแวดล้อมและคนของประเทศนั้นด้วย การหยุดวิกฤติในประเทศไทยจึงต้องอาศัย “ปัจจัยภายใน” ของประเทศไทยเป็นหลัก และความสำเร็จในการหยุดวิกฤติจึงไม่อาจขึ้นอยู่กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ มีความจำเป็นที่จะต้องอาศัยการระดมสรรพกำลัง “พลังฝ่ามือ” ในรูปแบบเบญจภาคีอันประกอบด้วยภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคประชาชน ภาคเอกชน ภาคประชาสังคมและสื่อ จึงจะมีโอกาสที่ภารกิจนี้จะบรรลุ
• ภาครัฐ ที่เปรียบเสมือน “หัวแม่มือ” ตามบทบาทถือเป็นหัวเรือใหญ่ของขบวนเรือ หยุดวิกฤติ เพราะมีทั้งเงิน คน ข้อมูล อุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือ และ อำนาจ และโดยภาระหน้าที่แล้วก็ถือเป็นภารกิจโดยตรง  แต่สภาพความจริงของกลไกรัฐที่เข้าขั้น “inefficient and corrupted” แปลแบบเอาความง่าย ๆ ว่า “ห่วยและเ..ี้ย” ทำให้ภาครัฐไม่ได้รับความไว้วางใจ ปัญหาการจัดการผู้ประสบภัยสึนามิที่ยังคาราคาซังอยู่คงเป็นเครื่องยืนยันถึงประสิทธิภาพอันน้อยนิดนี้ได้ดี และนี่เป็นสาเหตุใหญ่แห่ง “ความเสี่ยงสูง” ของประเทศไทยอย่างยากที่จะปฏิเสธได้ แต่อย่างไรก็ตามแม้จะมีอาการอัมพฤตษ์ แต่เพราะเป็น ผู้คุมกำลัง ภาครัฐก็ยังต้องมีบทบาทนำในขบวนหยุดวิกฤตินี้ให้ได้   เมื่อระบบใหญ่ไม่ทำงาน ก็ถึงเวลาที่ต้องปลุก“ข้า ราชะ การ”  ฟันเฟืองเล็ก ๆ ที่กระจายอยู่ตามกระทรวงกรมกองต่าง ๆให้เปิดต่อมจิตสำนึกให้ “กล้า” สลัดโซ่ตรวน ออกมาจากพันธนาการความเลวร้ายในระบบราชการให้ได้ ไม่ต้องทำอะไรมากเพียงแค่ยึดหลักเทวขุนนาง 10 ประการ คือ 1 ความรู้ดี 2 มีสัจจะ 3 เสียสละเพื่อสังคม 4 นิยมประชาธิปไตย 5 ใช้เหตุผล 6 อดทนต่อหน้าที่ 7 หลีกหนีอบายมุข  8 หาความสุขจากธรรมะ 9 เลิกละทิฐิ 10 มีสติครองตน ในการปฏิบัติหน้าที่ เราก็จะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงถึงขั้น หยุดวิกฤติ ของประเทศได้อย่างแน่นอน
• ภาควิชาการ ที่เป็น “นิ้วชี้” สามารถชี้ผิดชี้ถูก เป็นคลังสมอง ปัญญาของประเทศ หากทำหน้าที่ “ชี้นำ” ให้สังคมอุดมปัญญา แทน อุดมปัญหา ก็จะเป็นอีกหนึ่งภาคส่วนที่สามารถช่วยหยุดวิกฤติให้ประเทศได้ ปฏิเสธไม่ได้ว่าบุคลากรในภาควิชาการจำนวนมากที่อยู่ในระบบราชการมานานก็ได้รับเอาวัฒนธรรม NATO (No Action Talk Only) มาไว้เป็นวัฒนธรรมของตนเองเรียบร้อยแล้ว การศึกษาเสวนาทางวิชาการจำนวนมากกลายเป็นการลับคมปาก คมมีดทางตัวอักษรที่แทบไม่ได้มีส่วนช่วยใหสังคมให้ดีขึ้นเลย แต่สิ่งที่อันตรายและน่ากลัวที่เกิดขึ้นแล้วในวงวิชาการประเทศสยามขณะนี้คือ การรับจ้าง “ทุน” ในการชี้ผิดให้เป็นถูก และชี้ถูกให้เป็นผิด  หาก “คลังสมอง” ของประเทศคิดผิดเสียแล้ว ก็คงยากที่จะหวังพึ่งภาคส่วนอื่นๆ ได้  ในกระบวนการหยุดวิกฤติเราจึงต้องการนิ้วชี้ ที่ “ชี้ตรง” บนคุณธรรมและผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นที่ตั้ง
• ภาคประชาชน คือ “นิ้วกลาง” ที่เป็นศูนย์กลาง และสำคัญที่สุด ในบริบทของวิกฤติโลกทั้งหมดนี้ ภาคประชาชนคือ ผู้ที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศอยู่ในชนบทและภาคเกษตรกรรม ที่ต้องพึ่งพิงทรัพยากรธรรมชาติ หากกลไกในการหยุดวิกฤติไม่ได้ผล ภาคประชาชนจะกลายเป็นกลุ่มคนที่ “ลำบาก” มากที่สุด เพราะปัจจัยการผลิตจะถูกทำลายไปจนหมดสิ้น การหวังรอคอยความช่วยเหลือเมื่อวิกฤติมาเยือนเหมือนเฉกเช่นที่ผ่านมาจึงไม่ใช่หนทางที่ควรเลือกอีกต่อไป  การประกาศอิสรภาพให้หลุดออกมาจากระบบอุปถัมภ์ ยืดอกพึ่งตนเองตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจะเป็นหนทางเลือกเพียงทางเดียวที่เหลืออยู่สำหรับภาคประชาชน หมดเวลาที่ตนเองจะเป็นแพะรับบาปแห่งวิกฤติ ไม่มีทางเลือกอื่นใดนอกเสียจากจะต้องเชื่อมั่นในตนเอง เชื่อมั่นในภูมิปัญญา เชื่อมั่นในองค์ความรู้ที่ตกทอดสืบมาจากบรรพบุรุษ หยุดเป็น “หนูทดลอง” ให้ใครต่อใครปั่นหัวเล่นได้แล้ว เพียงภาคประชาชน”ตื่น” ที่เหลือก็จะสยบไปเอง
• ภาคเอกชน ถือเป็น “นิ้วนาง”  ที่ถึงเวลาที่ต้องถอดแหวนเครื่องประดับราคาแพงออกเพื่อร่วมขบวนหยุดวิกฤติโลก ภาคเอกชนมักถูกกล่าวหาว่าเป็น ตัวการสำคัญของเหตุ วิกฤติ เนื่องจากเป็นผู้ที่ได้ประโยชน์ในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ คติที่มุ่งหากำไรเข้ากระเป๋าตนเองโดยขาดความรับผิดชอบ เป็นต้นเหตุแห่งน้ำเสีย การตัดไม้ อากาศเป็นพิษ ฯลฯ เสียงเรียกร้องจึงดังกระหึ่มให้ภาคเอกชนสวมบทบาทผู้ร้ายกลับใจด้วยการแสดงความรับผิดชอบในการ “คืนกำไรสู่สังคม” ภาคเอกชนจะเป็น “พระเอก” ในขบวนหยุดวิกฤติโลกได้ก็ด้วย “สำนึกรับผิดชอบ” ที่มาจากเนื้อแท้ แต่มิใช่ทำตามเสียงเรียกร้องโดยใช้ CSR (Corporate Social Responsibility) มาเป็นเครื่องบังหน้า ภาคเอกชนที่ฉลาดก็คงคิดได้เองว่า “ทองคำ” ที่ภาคเอกชนกำลังขุดอยู่ เป็นส่วนหนึ่งของโลกใบนี้ หากปราศจาก “โลก” ก็ปราศจาก “ทองคำ”  การรักษาโลกจึงเท่ากับการรักษาทองคำให้ตนเอง หากคิดไม่ได้ก็สมควรที่นิ้วนางจะถูกตัดออกไป
• ภาคประชาสังคมและสื่อ  เปรียบเสมือน “นิ้วก้อย” ที่เรียวเล็ก ทำหน้าที่เกี่ยวก้อย เชื่อมประสาน เพิ่มเติม เสริมแต่งส่วนอื่น ๆ  บอกเล่าเรื่องราว ข้อเท็จจริงและ สะท้อนปัญหา นิ้วก้อยนี้จึงเป็น “นางเอก” ที่ทวีความสำคัญในขบวนหยุดวิกฤติ เป็นความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ว่า ในขณะที่ นิ้ว อื่นๆ ของสังคมไทยกำลังอ่อนแอ นิ้วก้อย ที่เป็นภาคประชาสังคมและสื่อกำลังแข็งแรง เติบโต และสามารถทำหน้าที่แก้ไขสิ่งที่ผิดให้เป็นถูกได้ โดยเฉพาะ “สื่อ” ในยุคโลกไร้พรมแดน ที่สามารถสวมบทบาททั้งในทางสร้างสรรค์ และทางทำลาย ด้วยประสิทธิภาพ ความเร็ว และปริมาณที่ “สื่อ” สามารถเข้าถึง สื่อจึงมีสิทธิ์เป็น “พระเอกตัวจริง” ที่จะหยุดวิกฤติโลกได้ หรือในทางตรงกันข้าม ก็เป็น “ผู้ร้าย” ที่สามารถทำให้โลกย่อยยับไปกับตา
แผนเตรียมรับกับ วิกฤติ และ ภัยพิบัติ
          เมื่อรู้ว่าวิกฤติภัยพิบัติจะมา สิ่งที่จำเป็นที่สุดในการเตรียมรับมือ คือ การมีแผน ทั้งแผนก่อนเกิดภัย ขณะเกิดภัย และหลังเกิดภัย ทั้งระบบข้อมูล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้รับผิดชอบ  การประสานงาน  ใครต้องทำอะไรที่ไหนอย่างไร รวมทั้งแผนการเคลื่อนย้ายอพยพ ในกรณีมีการเสียชีวิต การบาดเจ็บ เด็ก คนแก่ คนเจ็บ คนตาย จะทำอย่างไร อาหาร น้ำ ยา จะลำเลียงอย่างไร อุปกรณ์ เครื่องไม้เครื่องมือ จะต้องใช้อะไรบ้าง ทั้งหมดจะต้องถูกระบุและเตรียมการในแผนให้ครบถ้วน การไม่มีแผนนั้นน่ากลัว แต่สิ่งที่น่ากลัวกว่าคือแผนที่ไร้ประสิทธิภาพ มีผู้รู้หลายท่านกล่าวไว้ว่า “กฎหมาย กฎระเบียบของประเทศไทยดีมาก ขาดแต่คนลงมือปฎิบัติ”  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตั้งแต่ฉบับที่ 1-11 ตอกย้ำข้อเท็จจริงนี้ได้ดี  ตัวอย่างหนึ่งที่จะเป็นบทพิสูจน์ถึงประสิทธิภาพของการใช้แผน คือ แผนป้องกันภัยพิบัติด้านการเกษตรปี 2553 ที่รัฐบาลเพิ่งประกาศใช้เร็ว ๆ นี้ ถ้าว่ากันตามตัวอักษร แผนฉบับนี้ก็ถือเป็นแผนป้องกันที่เขียนขึ้นอย่างมีมาตรฐาน มีการกำหนดหน่วยงานรับผิดชอบชัดเจน กำหนดภารกิจของแต่ละหน่วยงานในแต่ละช่วงเวลา  ระยะเวลา งบประมาณ แต่ข้อน่าวิตกคือ แนวคิดของการรับมือกับภัยพิบัติที่มีภาครัฐเป็น “พระเอก” แต่ผู้เดียวโดยขาดการประสานร่วมมือกับภาคส่วนอื่นของสังคม รวมทั้งการใช้กลไกเดิม ๆ ที่ไร้ประสิทธิภาพในสถาณการณ์ฉุกเฉิน เร่งด่วน จะทำให้แผนดังกล่าวมีสภาพเป็นเพียง เสือกระดาษ อีกตัวหนึ่งหรือเปล่า คงต้องรอดูกัน
คนไทยจะอยู่กับ “วิกฤติ” อย่างไร
          ถ้าเชื่อว่าทุกปัญหามีทางออก วิกฤติก็จะแปรสภาพเป็นโอกาส อันที่จริง “ภัยพิบัติ” ทางธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็น พายุดีเปรชชั่น น้ำท่วม ดินถล่ม ฯลฯ ล้วนเป็นพัฒนาการทางธรรมชาติที่อยู่คู่กับสังคมมนุษย์มานาน และในอดีตไม่ได้ถูกมองว่าเลวร้ายอะไร ในสังคมตะวันออกที่มีวัฒนธรรมอยู่อย่างประสานกลมกลืนกับธรรมชาติ ภัยทางธรรมชาติที่กล่าวมาทั้งหมดก็มิได้ถูกมองว่า “เป็นปัญหา” เพราะมันเป็นอยู่ของมันอย่างนั้นแล้ว มนุษย์ก็จัดสรร การดำรงชีวิตให้สอดคล้องกับลักษณะทางธรรมชาติที่เป็นอยู่ ปัญหาทุกอย่างก็จะหมดไป วิถีชีวิตของคนไทยในอดีตก่อนที่เราจะรับเอาวิธีคิดแบบ “เอาชนะธรรมชาติ” ของตะวันตกมา เราก็อยู่อย่างกลมกลืนสอดคล้องกับภูมิอากาศของประเทศไทยมานาน การปลูกสร้างบ้านเรือนก็ออกแบบให้สอดรับกับธรรมชาติที่เป็นประเทศร้อน เป็นที่ลุ่ม ยกเรือนให้สูง หน้าน้ำเราก็อยู่กับน้ำได้อย่างมีความสุข เดินทางทางน้ำ ค้าขายทางน้ำ มีเทศกาล กิจกรรมต่าง ๆ กับน้ำ เวลาน้ำมา ก็ขนของหนีน้ำขึ้นเรือน ไม่เห็นต้องเดือดเนื้อร้อนใจ มีเรือไว้เดินทางสัญจรไปมา  เพียงแค่ยอมรับ ปรับตัวกับสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง ชีวิตก็ลงตัว ปัญหาใหญ่ที่กลายเป็นวิกฤติ เพราะคนติดสบาย ตามใจกิเลส ตามแนวคิดทุนนิยม ตะวันตก จึงหักหาญ เอาชนะ ดัดแปลงแก้ไขธรรมชาติจนเลยขอบเขต เมื่อเลยจุดที่ธรรมชาติจะยอมรับได้ ธรรมชาติก็เกิดการปรับสมดุลของตัวเองครั้งใหญ่ มนุษย์จึงรับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  หนทางออกง่ายนิดเดียว ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเกราะกำบังชีวิต เพราะ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”คือเสาเข็มทางปัญญาที่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงตกผลึกทางความคิด จากประสบการณ์อันยาวนานของพระองค์เอง กรั่นกรองออกมาเป็นแนวคิดมอบให้กับพสกนิกรไทยใช้เป็น “เครื่องมือ” ในการดำรงชีวิตท่ามกลางกระแส “วิกฤติ” วันสิ้นโลก   
แต่เมื่อทำดีถึงที่สุดก็ยังไม่หลุดพ้น ก็คงต้อง “ชั่งหัวมัน” ตามรอยพระองค์ท่านเหมือนกัน

อาจารย์ยักษ์ มหา'ลัยคอกหมู


 

แหล่งที่มา: 
คม ชัด ลึก 16 มกราคม 2553