โพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยของ "พ่อ"
ศูนย์เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง

ติดต่อเรา

มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ
เลขที่ ๑๑๔ ซอย บี ๑๒ หมู่บ้านสัมมากร สะพานสูง กรุงเทพฯ ๑๐๒๔๐
สำนักงาน ๐๒-๗๒๙๔๔๕๖ (แผนที่)
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง 038-198643 (แผนที่)


User login

นวัตกรรมพระสังข์เรียกปลา

  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_handler_argument::init() should be compatible with views_handler::init(&$view, $options) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_argument.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter::options_validate() should be compatible with views_handler::options_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter::options_submit() should be compatible with views_handler::options_submit($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter_term_node_tid::value_validate() should be compatible with views_handler_filter::value_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/modules/taxonomy/views_handler_filter_term_node_tid.inc on line 0.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_style_default::options() should be compatible with views_object::options() in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_style_default.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_row::options_validate() should be compatible with views_plugin::options_validate(&$form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_row.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_row::options_submit() should be compatible with views_plugin::options_submit(&$form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_row.inc on line 0.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter_boolean_operator::value_validate() should be compatible with views_handler_filter::value_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter_boolean_operator.inc on line 0.

ในสมัยเด็กๆ อาจารย์ยักษ์เป็นคนที่ชอบกินปลามาก และจะคุ้นเคยกับกรรมวิธีในการเรียกปลาให้มาชุมนุมกันของคนโบราณ เข้าใจว่าน่าจะเป็นวิธีการเดียวกันที่พระสังข์ใช้เรียกปลา วิธีการง่ายๆ ที่ชาวบ้านสมัยก่อนใช้กันมี สองสามวิธี วิธีหนึ่งที่นิยมกันคือการทำคอกโดยใช้ไม้สี่เหลี่ยมวางอยู่ริมน้ำหรือริมบึง ในคอกจะใส่หญ้า ฟาง ผสมกับขี้วัวขี้ควาย หมักทิ้งไว้ ไม่นานเราจะเริ่มสังเกตเห็นปลาเล็กปลาน้อยมาวนเวียนอยู่รอบๆ คอกกินไรแดงไรขาว อีกนวัตกรรมหนึ่งที่ชาวบ้านโบราณคุ้นเคยกันในการเรียกชุมนุมปลาก็คือ “ลูกตุ้ม” ชนิดเดียวกับ “ระเบิดจุลินทรีย์” ที่เราปาลงทะเล ลงแม่น้ำในกิจกรรมจากภูผาสู่มหานที เมื่อสัปดาห์ก่อน ชาวบ้านจะใช้ดินเลน ดินโคลนตามตลิ่งผสมกับรำข้าว ขี้วัว ขี้ควาย ปั้นเป็นลูกๆ แล้วไปวางไว้ขอบตลิ่งตามแม่น้ำลำคลอง อีกไม่นานเกินรอก็จะเห็นปลามาตอดบริเวณ “ลูกตุ้ม” ประดิษฐกรรมพระสังข์เรียกปลาของชาวบ้านอีกแบบหนึ่งก็คือ “ซั้ง” หรือ กล่ำ หรือ เญงาะ ในภาษาอีสาน ชาวบ้านจะใช้ทางมะพร้าว หรือกิ่งแสม มัดผูกกับกิ่งไม้ หรือไม้ไผ่ ถ่วงด้วยก้อนหิน หรือ ผูกติดกับโขดหินใต้น้ำ ซั้งทำหน้าที่ให้ร่มเงา เป็นที่อยู่อาศัยของปลาเล็กปลาน้อย ชาวบ้านจึงใช้ซั้งเป็นที่อนุบาลสัตว์น้ำ และจะสังเกตว่าถ้าซั้งไหนไม่มีผู้คนไปรบกวน ก็จะมีปลามาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ถ้าซั้งไหน มีผู้คนมารบกวนบ่อยๆ ปลามาพักอาศัยอยู่ประเดี๋ยวประด๋าวแล้วก็ไป
ทั้งหมดนี้เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านของคนที่อยู่กับท้องน้ำ รู้จักสังเกต รู้วัฎจักร วงจรชีวิตในน้ำ จนมาเป็นนวัตกรรมพระสังข์เรียกปลาแบบต่างๆ จากวัสดุธรรมชาติง่ายๆ เสียดายที่ภูมิปัญญาเหล่านี้ถูกละเลย ถูกลืม เพราะถือว่าเป็นของชาวบ้าน โบร่ำโบราณ พิสูจน์ในทางวิทยาศาสตร์ไม่ได้ เมื่อกล่าวถึงการพิสูจน์หรือยอมรับในทางวิทยาศาสตร์ ภูมิปัญญาท้องน้ำของชาวบ้านดังกล่าวก็ไม่ต่างอะไรกับภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย ที่ถูกตีตราว่าไม่ได้มาตรฐาน ไม่ถูกหลักทางวิทยาศาสตร์ ต่อเมื่อการรักษาแพทย์แผนใหม่จนมุมแล้ว แพทย์แผนไทยซึ่งเป็นองค์ความรู้ของชาวบ้านจึงได้ลืมตาอ้าปากอีกครั้ง ภูมิปัญญาชาวบ้านเกี่ยวกับสัตว์น้ำก็คงหลีกหนีชะตากรรมนี้ไม่พ้นเหมือนกัน เราเชื่อว่านวัตกรรมโบราณไม่ว่าจะเป็น คอก ลูกตุ้ม หรือ ซั้ง นอกจากจะก่อให้เกิดอาหารประเภทไรแดง ไรขาว ซึ่งเป็นอาหารของสัตว์น้ำแล้ว สิ่งประดิษฐ์เหล่านี้ยังส่งผลให้ออกซิเจนในน้ำเพิ่มขึ้นด้วย
ก่อนกิจกรรมจากภูผาสู่มหานทีที่จังหวัดชุมพร ทีมงานก็ได้จัดกิจกรรมฟื้นฟูทะเลไทยล่วงหน้าไปก่อน 2 เดือนโดยใช้นวัตกรรมชาวบ้านง่ายๆ ดังกล่าว ทีมงานนักวิทยาศาสตร์ทางทะเลได้ขอติดตามไปวัดผลค่า ออกซิเจนละลายในน้ำ โดยจะวัดค่า D.O ก่อนเริ่มกิจกรรม ซึ่งปรากฏว่าหลังจากที่ทีมงานได้ปาระเบิดจุลินทรีย์แล้วประมาณครึ่งชั่วโมงแล้วให้มีการวัด D.O ใหม่ ค่า D.O ขึ้นมา จาก 5 เป็น 8 แต่ทีมนักวิทยาศาสตร์ทางทะเลเองก็งงจนไม่กล้าปักใจเชื่อว่าค่า D.O ที่เพิ่มขึ้นเป็นฝีมือของระเบิดจุลินทรีย์ที่เราปาลงทะเล
ถึงเวลาที่นักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่จะยอมรับและเรียนรู้ว่า ความธรรมดา ของศาสตร์โบราณ ก็เป็นความไม่ธรรมดา เหมือนกัน คนโบราณที่ไม่ต้องท่องตำรามากมายแต่ฉลาดในการสังเกต เข้าใจธรรมชาติก็สามารถส่งผ่านวิถีชีวิต วัฒนธรรม องค์ความรู้ให้กับคนรุ่นต่อๆ ไปได้อย่างดี ผิดกับคนสมัยใหม่ที่ยึดติดกับกรอบ “วิทยาศาสตร์สมัยใหม่” อย่างไม่ลืมหูลืมตา จนจะนำพาเอาโลกาพินาศไปภายในระยะไม่ถึงร้อยปีที่วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ก่อเกิดมา

อาจารย์ยักษ์ มหา'ลัยคอกหมู

แหล่งที่มา: 
คม ชัด ลึก 4 กรกฎาคม 2552