โพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยของ "พ่อ"
ศูนย์เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง

ติดต่อเรา

มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ
เลขที่ ๑๑๔ ซอย บี ๑๒ หมู่บ้านสัมมากร สะพานสูง กรุงเทพฯ ๑๐๒๔๐
สำนักงาน ๐๒-๗๒๙๔๔๕๖ (แผนที่)
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง 038-198643 (แผนที่)


User login

เทคโนโลยีแห่งความพอเพียง (2)

  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_handler_argument::init() should be compatible with views_handler::init(&$view, $options) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_argument.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter::options_validate() should be compatible with views_handler::options_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter::options_submit() should be compatible with views_handler::options_submit($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter_term_node_tid::value_validate() should be compatible with views_handler_filter::value_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/modules/taxonomy/views_handler_filter_term_node_tid.inc on line 0.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_style_default::options() should be compatible with views_object::options() in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_style_default.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_row::options_validate() should be compatible with views_plugin::options_validate(&$form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_row.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_row::options_submit() should be compatible with views_plugin::options_submit(&$form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_row.inc on line 0.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter_boolean_operator::value_validate() should be compatible with views_handler_filter::value_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter_boolean_operator.inc on line 0.

          หากยังจำกันได้ย้อนไปไม่ถึงร้อยปี คนส่วนใหญ่ยังไม่มีพาหนะที่ทันสมัยที่จะพาผู้คนไปไหนมาไหนได้ดังใจคิด เมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้าขึ้นความใฝ่ฝันที่จะบินได้เหมือนนกก็เป็นจริงเมื่อการประดิษฐ์เครื่องบินประสบความสำเร็จ และมนุษย์ก็แหวกเครื่องกีดขวางของธรรมชาติเดินทางข้ามน้ำข้ามมหาสมุทรถึงกันได้ แต่ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ก็ได้ออกมายืนยันแล้วว่าเทคโนโลยีที่แหวกเครื่องกีดขวางทางธรรมชาติชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องบิน รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องอำนวยความสะดวกสารพัดชนิด คือตัวการสร้าง “ภาวะโลกร้อน” ชั้นดี และเป็นตัวเร่งให้มนุษย์เดินทางมาสู่ “หน้าผาแห่งหายนะ” ทางธรรมชาติเร็วขึ้น
          สังคมทันสมัยที่สามารถสร้างปราการเขื่อนกั้นน้ำขนาดใหญ่ไม่ให้กลืนกินคนของประเทศตนเองอย่างเนเธอร์แลนด์ ณ วันนี้ได้ตัดสินใจหันกลับมาใช้เทคโนโลยีรุ่นพ่อรุ่นแม่ เลือกใช้จักรยานแทนการใช้รถยนต์ส่วนตัว คนในสังคมที่รู้พิษภัยของเทคโนโลยีเกินสมัยเริ่ม  “ถอยหลังเข้าคลอง” กลับไปดำเนินชีวิตใช้สิ่งประดิษฐ์ดั้งเดิม บางบ้านไม่ให้มีแม้กระทั่งโทรทัศน์ ประดิษฐกรรมส้วมโบราณที่กักเก็บ “กากที่มีประโยชน์” เริ่มกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง คำว่า permaculture (permanent + agriculture) หรือ วิถีเกษตรยั่งยืน กำลังเป็นทางเลือกในการดำเนินชีวิตใหม่ของผู้คนจากสังคมเมืองจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ
          แล้วประเทศไทยในฐานะที่เรามีวิถีเกษตรยั่งยืนมาแต่โบราณกาลกำลังจะเดินไปทางไหนกัน เราจะเดินต่อไปทั้งๆ ที่รู้ว่าเส้นทางที่กำลังเดินนั้นนำเราไปสู่ “หน้าผาแห่งหายนะ” กระนั้นหรือ ถึงเวลาแล้วยังที่เราจะหันกลับมามองอย่างจริงจัง และหาคำตอบเสียทีว่า เราต้องการเทคโนโลยีแบบไหนที่เหมาะกับตนเอง
หากมองทางเลือกของเทคโนโลยีที่เหมาะกับสังคมไทยโดยใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเครื่องนำทาง ก็จะแจ่มชัดว่าเราควรเลือกใช้เทคโนโลยีบนเงื่อนไขดังต่อไปนี้
• เป็นเทคโนโลยีที่คนไทยสามารถพึ่งตนเอง และ ผลิตได้เองเป็นส่วนใหญ่
• เป็นเทคโนโลยีที่เหมาะกับวัฒนธรรม ภูมิศาสตร์กายภาพ และวิถีชีวิตของคนไทย
• เป็นเทคโนโลยีที่มีคุณธรรมต่อธรรมชาติ ไม่ทำลายธรรมชาติ และคำนึงถึงข้อจำกัดที่มีอยู่
• เป็นเทคโนโลยีที่มีประโยชน์สูงสุด และมีประโยชน์ต่อคนหมู่มาก ไม่ใช่สร้างมาเพื่อคนกลุ่มเดียว
• เป็นเทคโนโลยีคงทนมีอายุการใช้งานยืนยาว
• เป็นเทคโนโลยีเพื่อความจำเป็น ไม่ใช่ความฟุ่มเฟือย สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
• เป็นเทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหา ไม่ใช่สร้างปัญหา
• เป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับฐานะ และไม่เร่งให้เกิดช่องว่างของสังคมที่มากขึ้น
          หากหลักดังกล่าวถูกนำมาเป็นบรรทัดฐานในการเลือกใช้ หรือพัฒนาเทคโนโลยีของประเทศ เราจะพบว่า มีเทคโนโลยีหลายอย่างที่ไม่มีความจำเป็นกับสังคมไทยเลย แต่ถูกระบบคิดการตลาดแบบทุนนิยมนำพาเข้ามา ยกตัวอย่างเช่น เทคโนโลยีการสื่อสารดาวเทียมติดรถยนต์ที่ใช้กับรถยนต์ส่วนบุคคลที่เริ่มใช้กันเกร่อในเมือง ในขณะที่บางหมู่บ้านยังไม่มีแม้กระทั่งถนน หรือไฟฟ้า 
          และในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมทั้ง นา สวน ไร่ การพัฒนาเครื่องไม้เครื่องมือทางการเกษตรควรได้รับความสนใจ ไม่ใช่ใส่ใจแต่ภาคอุตสาหกรรม
          อาจารย์ยักษ์อยากฝากหลักคิดข้างต้นให้นักสร้างนวัตกรรมคนไทยสร้างเทคโนโยลีแห่งความพอเพียงให้เต็มบ้านเต็มเมืองโดยไม่ต้องพึ่งพาหรือลอกเลียนฝรั่งเสียที

อาจารย์ยักษ์ มหา'ลัยคอกหมู
 

แหล่งที่มา: 
คม ชัด ลึก 20 มิถุนายน 2552