โพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยของ "พ่อ"
ศูนย์เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง

ติดต่อเรา

มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ
เลขที่ ๑๑๔ ซอย บี ๑๒ หมู่บ้านสัมมากร สะพานสูง กรุงเทพฯ ๑๐๒๔๐
สำนักงาน ๐๒-๗๒๙๔๔๕๖ (แผนที่)
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง 038-198643 (แผนที่)


User login

มาเป็น บีเวอร์ สร้างฝายกันเถอะ

  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_handler_argument::init() should be compatible with views_handler::init(&$view, $options) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_argument.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter::options_validate() should be compatible with views_handler::options_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter::options_submit() should be compatible with views_handler::options_submit($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter_term_node_tid::value_validate() should be compatible with views_handler_filter::value_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/modules/taxonomy/views_handler_filter_term_node_tid.inc on line 0.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_style_default::options() should be compatible with views_object::options() in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_style_default.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_row::options_validate() should be compatible with views_plugin::options_validate(&$form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_row.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_row::options_submit() should be compatible with views_plugin::options_submit(&$form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_row.inc on line 0.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter_boolean_operator::value_validate() should be compatible with views_handler_filter::value_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter_boolean_operator.inc on line 0.

          คงมีเพียงคนไม่กี่คนที่ยังจำได้ว่า เป็นเวลามากกว่า 30 ปีแล้ว ตั้งแต่ปี 2521 ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้พระราชทานพระราชดำริ เรื่อง “ฝาย” ให้เป็นทางเลือกที่สำคัญในการฟื้นฟูป่า หยุดไฟป่า สร้างความหลากหลายทางชีวภาพให้กับระบบนิเวศ รวมทั้งเป็นแหล่งส่งน้ำให้กับเกษตรกร
          ระยะเวลา 30 ปีในการสร้างงานชิ้นใดชิ้นหนึ่งต้องถือว่าเป็นระยะเวลาที่งานหรือโครงการนั้นเติบใหญ่เป็นหนุ่มฉกรรจ์มีความมั่นคงแข็งแรงเต็มที่ สำหรับ “ฝาย” ที่พระองค์ทรงชี้ให้เห็นว่าเป็นทางเลือกของการดูแลรักษา ป่า น้ำ ธรรมชาติให้กับคนไทยนั้น เป็นอีกหนึ่งในตัวอย่างของการ “เกิดก่อนกาล” ครั้งที่ ฝาย ถูกดำริให้เป็นทางเลือกที่ ดี ง่าย และ ถูก ในการดูแลทรัพยากรธรรมชาติ ผู้คนจำนวนมาก ทั้งนักวิชาการ นักการศึกษา นักเศรษฐศาสตร์ และคนระดับปัญญาชนกลับมองว่า “เชย” “โบราณไม่ทันสมัย” หลายส่วนงานที่ต้องสนองพระราชดำริ ก็ต้องทำไปอย่างช่วยไม่ได้ หรือ อย่างไม่เข้าใจ เฉกเช่นเดียวกับโครงการพระราชดำริจำนวนมากที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนแต่กลับไม่ได้รับการเอาใจใส่เท่าที่ควร เพราะถูกมองว่ากำลัง “ถอยหลังเข้าคลอง” เวลาผ่านไป 30 ปี “ฝาย” ที่ควรเติบใหญ่เป็นกำลังสำคัญในการดูแลปกป้องธรรมชาติจึงยังเป็นเพียงเด็กเตาะแตะที่ยังไร้กำลัง
          การสร้างฝายเพิ่งจะมาเฟื่องฟู เป็นกระแสนิยมไม่กี่ปีมานี้ รวมทั้งเป็นพระเอกยอดฮิตในฐานะแนวคิดที่หลายองค์กรใช้เป็น “เครื่องมือ” ในการประชาสัมพันธ์หน่วยงานตนเองว่ามีส่วนร่วมเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสที่พระองค์ทรงครองราชย์มา 60 ปี  สังคมไทยมีลักษณะเด่นอย่างหนึ่งคือ ทำอะไรแบบ “ไฟไหม้ฟาง” และ “ฉาบฉวย” ดูกันที่เปลือกมากกว่าแก่น อาจารย์ยักษ์จึงเกรงว่าเมื่อวาระเฉลิมพระเกียรติซาลง แนวคิดที่เป็นประโยชน์ที่พระองค์ได้วางรากฐานไว้ก็จะถูกลบเลือนไป จึงอยากจะขอให้ “ฝาย” ไม่ใช่แค่เป็น “ทางเลือก” แต่เป็น “ทางที่ต้องเลือก” เพราะ ฝาย ไม่ใช่เป็นเพียงภูมิปัญญาท้องถิ่นและความชาญฉลาดของคนโบราณในการเก็บรักษาน้ำและความชุ่มชื้นของป่าเท่านั้น แต่ที่สำคัญ ฝาย สะท้อน “ชุดความคิด” ของภูมิปัญญาที่ เคารพ นอบน้อม และถือว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ  มิใช่อหังกา จ้องจะเอาเปรียบเอาชนะธรรมชาติ การสร้าง ฝาย ของคนโบราณจึงเป็นการดัดแปลงเพื่ออยู่ร่วมกับธรรมชาติ เป็นการใช้วัสดุต่างๆ ที่หาง่ายจากธรรมชาติ เช่น หิน กรวด ไม้ไผ่  ฝาย ทำง่ายมากใช้แรงงานคนไม่กี่คน เพียงวันเดียวก็เสร็จ เข้าคอนเซ็ป ดี ง่าย และถูก  แม้ขนาดสัตว์ตัวเล็ก ๆ อย่าง บีเวอร์ ก็สามารถทำฝายได้
          ในช่วงที่โครงการต้นกล้าอาชีพกำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก หากรัฐบาลเอาจริงเอาจัง ช่วงชิงในโอกาสที่คนกำลังตกงาน ระดมพลังคนตกงานมาเป็น บีเวอร์ สร้างฝายให้เกิดพร้อมกันทั่วประเทศนอกจากจะให้คนตกงานมีงานทำแล้ว เรายังจะได้ธรรมชาติที่สมบูรณ์กลับคืนมา คิดง่ายๆ ว่า 80,000 หมู่บ้านทั่วประเทศ เพียงมีพลัง บีเวอร์ 4 หรือ 5 คน ต่อหมู่บ้าน งบประมาณสร้างฝายเพียง ฝายละ 5,000 บาทรวมค่าแรง รัฐก็จะใช้งบประมาณเพียง 400 ล้านบาทในการสร้างฝาย 80,000 ฝายภายในระยะเวลาสั้นๆ  ถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุดเพราะประเทศไทยจะได้ผืนป่าที่ชุ่มชื้นกลับมาอย่างรวดเร็ว ไฟป่าจะหยุดในชั่วพริบตา เพราะฝายทำหน้าที่เป็น fire break แนวกันไฟธรรมชาติอย่างดี ยิ่งถ้ารัฐมีวิสัยทัศน์มองการณ์ไกล สร้างคูเหมืองส่งน้ำไปยังเทือกสวนไร่นาของชาวบ้าน เราจะได้พืชพันธุ์ธัญญาหารที่อุดมสมบูรณ์มากขึ้น สร้างฝายเพียงหนึ่งอย่างเราจะได้ประโยชน์ถึงห้าอย่างกลับมา ความชุ่มชื้น หยุดไฟป่า ที่เพาะพันธุ์ของกุ้งหอยปูปลา ความหลากหลายทางชีวภาพ ข้าวปลาธัญญาหาร เห็นประโยชน์อย่างนี้แล้ว เรามาสร้าง พลังบีเวอร์สร้างฝายกันเถอะ

อาจารย์ยักษ์ มหา'ลัยคอกหมู  

แหล่งที่มา: 
คม ชัด ลึก 23 พฤษภาคม 2552