9 ฐานเรียนรู้
ความรู้ที่น่าสนใจ (Documents on web)
ติดต่อเรา
มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ
เลขที่ ๑๑๔ ซอย บี ๑๒ หมู่บ้านสัมมากร สะพานสูง กรุงเทพฯ ๑๐๒๔๐
สำนักงาน ๐๒-๗๒๙๔๔๕๖ (แผนที่)
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง 038-198643 (แผนที่)
User login
ลิงค์เครือข่าย
ความพอเพียงของคนเมือง
หลายคนที่เจอหน้าอาจารย์ยักษ์มักจะตั้งคำถามด้วยความฉงนและดูประหนึ่งจะเชื่อว่าเศรษฐกิจพอเพียงนั้นเป็นเรื่องของคนชนบท การปลูกต้นไม้ เกษตรอินทรีย์ และเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเรื่องที่ห่างไกลกับคนเมือง ไม่ใช่เรื่องที่คนเมืองต้องใส่ใจ ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นความเข้าใจผิดอย่างยิ่ง หากคนเมืองทั้งประเทศยึดถือเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทางแห่งการดำรงชีวิต การกู้วิกฤติสิ่งแวดล้อม การฟื้นฟูธรรมชาติ การธำรงรักษาทรัพยากรให้ยั่งยืนจะกระทำ ด้วยอัตราที่รวดเร็ว เห็นผล และมีนัยสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศสู่ความยั่งยืน
อาจารย์ยักษ์ขอยกตัวอย่างที่เห็นได้ง่าย ๆ ในระดับโลกโดยเอาประเทศอเมริกาเป็นตัวอย่าง เป็นที่รู้ว่า อเมริกาเป็นประเทศที่บริโภคมากที่สุดในโลกถึง 30% หมายความว่า ถ้ามีของต้องกินต้องใช้บนโลกใบนี้ คนรวมกันกว่า 200 ประเทศ ร่วม 6400 ล้านคนจะกินแค่ 70 % ของอาหารทั้งหมด แต่ คนอเมริกันเพียง 200 กว่าล้านประเทศเดียวก็จะกินมากถึง 30% หมายความว่าคนทั้งโลกก็จะเร่งผลิตอาหาร ข้าวของเครื่องใช้ที่ได้มาจากทรัพยากรของประเทศตนเองส่งไปให้คนอเมริกันกินใช้เพราะอยากได้เงิน คนอเมริกันจึงมีบ้านหลังใหญ่ รถคันโต ๆ หลาย ๆ คัน เสื้อผ้าข้าวของ เครื่องประดับอย่างดีด้วยวัตถุดิบมาจากประเทศอื่น ประเทศอเมริกาด้วยความร่ำรวยและใช้เงินซื้อได้กลายเป็น “เมือง”ของโลก เป็นศูนย์กลางของโลก เป็นศูนย์รวมของการบริโภค ความสะดวกสบาย เมื่อมาพูดถึงประเทศไทย กรุงเทพฯก็มิได้แตกต่างกัน เป็นศูนย์กลางของคนรวย ความสะดวกสบาย เป็นแหล่งบริโภคทรัพยากรที่ดูดเอามาจากชนบท มากองรวมกันอย่างล้นเกิน ข้าวข้องเครื่องใช้ต่างถูกผลิตอย่างละเอียดประณีตมุ่งตรงสู่เมืองหลวง เสื้อผ้าดีไซน์เก๋ อาหารชั้นดี ชั้นเลิศที่คัดแล้วต่าง มุ่งตรงสู่เมืองหลวงเพราะมีเงินมากกว่าทรัพยากร
ธรรมชาติทั้งหมดส่วนหนึ่งนอกจากถูกดูดออกไปบำรุงบำเรอ ปรนเปรอความสะดวกสบายของต่างชาติแล้ว อีกส่วนหนึ่งถูกดูดเข้ากรุงเทพฯหมด คนกรุงเทพฯโดยทั่วไปจึงมีลักษณะการดำรงชีวิตคล้ายคนอเมริกันที่ทำเองไม่เป็น ต้องซื้อทุกอย่าง ไม่เพียงเท่านั้น ยังกินใช้บริโภคอย่างล้นเกิน มีบ้านหลายหลังมีรถหลายคัน ข้าวของเครื่องใช้มีมากมายเกินความจำเป็น ไม่เพียงเท่านั้นข้าวของเครื่องใช้ก็ต้องประณีต ดูดี โดยไม่คำนึงว่าขั้นตอนของการทำให้ประณีตดูดีนั้น จำเป็นต้องใช้ทรัพยากรอีกเท่าใด ชีวิตที่ต้องการความสะดวกสบายของสังคมเมือง ได้กลายเป็นต้นเหตุสำคัญของการทำร้ายทรัพยากรธรรมชาติ อย่างชนิดที่ไม่น่าให้อภัย
และในที่สุดก็เป็น “ภัย”กลับมาคุกคามประเทศ ตัวอย่างเล็ก ๆ ที่เห็นกันดาษดื่นก็คือ วัฒนธรรมพร้อมดื่ม ดังเช่นในงานศพ เมื่อก่อนเวลาแขกมาร่วมงาน เจ้าภาพก็จะแจกน้ำในแก้ว เสร็จงานแล้วก็เก็บล้างไม่ต้องสิ้นเปลืองทรัพยากรอะไร ปัจจุบันเราไม่เห็นแก้วน้ำในงานศพอีกต่อไป แต่เป็นน้ำในแก้วพลาสติกซีลฝาเรียบร้อยพร้อมหลอดดูดแทน หากนึกภาพถึงกระบวนการบรรจุน้ำในปริมาณน้ำครึ่งแก้วลงในแก้วพลาสติกซีลฝา เราก็ต้องตกใจว่าแค่การจะกินน้ำครึ่งแก้ว เราต้องเดือดร้อนใช้พลาสติกทั้งตัวแก้ว ฝา และหลอดอีกเท่าไหร่ ใช้พลังงานความร้อน ทิ้งน้ำเสียลงคู คลอง ใช้สารเคมี เพื่อผลิตพลาสติก หลอดดูด อีกตั้งเท่าไหร่ เราดูดน้ำไม่ถึงครึ่งนาทีก็หมดแล้ว แต่การทิ้งภาระเป็นขยะกองทับถมให้ ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เราไม่จำเป็นต้องรับรู้ เพียงเพราะเราต้องการ “ความสบาย”คิดถึงตรงนี้แล้ว อาจารย์ยักษ์ต้องยกสัจธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาที่ชี้ให้เห็นความจริงว่า “ความสบายคือที่มาของความวินาศ”
“อาจารย์ยักษ์ มหา’ลัยคอกหมู”