โพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยของ "พ่อ"
ศูนย์เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง

ติดต่อเรา

มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ
เลขที่ ๑๑๔ ซอย บี ๑๒ หมู่บ้านสัมมากร สะพานสูง กรุงเทพฯ ๑๐๒๔๐
สำนักงาน ๐๒-๗๒๙๔๔๕๖ (แผนที่)
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง 038-198643 (แผนที่)


User login

โฮมสกูล กับความพอเพียงทางการศึกษา (1)

  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_handler_argument::init() should be compatible with views_handler::init(&$view, $options) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_argument.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter::options_validate() should be compatible with views_handler::options_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter::options_submit() should be compatible with views_handler::options_submit($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter_term_node_tid::value_validate() should be compatible with views_handler_filter::value_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/modules/taxonomy/views_handler_filter_term_node_tid.inc on line 0.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_style_default::options() should be compatible with views_object::options() in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_style_default.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_row::options_validate() should be compatible with views_plugin::options_validate(&$form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_row.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_row::options_submit() should be compatible with views_plugin::options_submit(&$form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_row.inc on line 0.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter_boolean_operator::value_validate() should be compatible with views_handler_filter::value_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter_boolean_operator.inc on line 0.

          อาจารย์ยักษ์เคยกล่าวในหลายโอกาสว่า การศึกษานั้น ถ้าเปรียบเป็นร่างกายก็คือส่วนที่เป็นสมองส่วนที่เป็นจิตที่ควบคุมการทำงานของร่างกายส่วนอื่นๆ มีความสำคัญยิ่งยวด
สังคมเดินหลงทาง เพราะการศึกษากำลังเดินหลงทาง จากสังคมที่ยึดถือความดี กตัญญู กตเวที เป็นที่ตั้ง เพียง 50 ปีของการพัฒนาการศึกษาแนวตะวันตก เราได้ผลิตมนุษย์สายพันธุ์ใหม่ที่ยึดเอาวัตถุเป็นที่ตั้ง คำว่า คนดี กตัญญู กตเวที เป็นแนวคิดโบราณ เชยๆ ที่ไม่มีคุณค่าอะไรเสียแล้ว
          ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ตอกย้ำคุณธรรมนำความรู้เป็นแรงบันดาลใจให้พระอาจารย์สรยุทธ ชยปัญโญ และพระอาจารย์สังคม ธนปัญโญ สองพระอาจารย์นักพัฒนาแห่งวัดพระบรมธาตุดอยผาส้ม จ.เชียงใหม่ ที่มีดีกรีปริญญาโทจากอเมริกา ลุกขึ้นมาต่อกรกับกระทรวงศึกษาฯ เพื่อผลักดันโฮมสคูลในแบบฉบับเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้เป็นทางเลือกใหม่ของชุมชน 
          พระอาจาย์สังคมย้ำว่า ในแต่ละปีนอกจากพ่อแม่ต้องสูญเสียลูก เพราะลูกต้องย้ายไปเรียนในอำเภอ หรือในเมืองแล้ว พ่อแม่ยังต้องยากจนลงอีก เพราะภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้น ทั้งค่าเรียน ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ไม่เพียงเท่านี้ การจากบ้านของลูกเป็นจุดเริ่มต้นของการทิ้งถิ่น ทิ้งบ้าน ทิ้งพ่อทิ้งแม่ เด็กๆ ที่จะอยู่กับพ่อแม่ก็มักจะเป็นเด็กที่ถูกตราหน้าว่า “เหลือขอ” ไปไหนไม่ได้แล้ว พระอาจารย์เห็นว่า หากเราสามารถเปลี่ยนบ้านให้เป็นโรงเรียน เป็นแหล่งที่เด็กๆ สามารถแสวงหาความรู้ พัฒนาตนเองได้ เด็กก็จะไม่ต้องเดินทางไปเรียนที่อื่น อันที่จริงจุดหมายแรกของการศึกษาคือทำให้คนเป็นคนดี
คนดีนั้น พื้นฐานต้องเป็นคนกตัญญู กตเวที หากการศึกษาสอนให้คนทิ้งพ่อทิ้งแม่เสียแล้ว ความเลวร้ายอย่างอื่นก็ไม่ต้องพูดถึง การโกงกิน คอรัปชั่น ยาเสพติด จึงเป็นปัญหาของสังคมที่ตามมากับความผิดพลาดของการศึกษา โฮมสคูลของพระอาจารย์สรยุทธ และพระอาจารย์สังคม เป็นการศึกษาที่รับผิดชอบร่วมกันระหว่างบ้านและวัด เริ่มต้นด้วยนักเรียน 7 คน จากต่างระดับชั้นกัน เด็กมีบ้าน และวัด เป็นห้องเรียนในการเรียนรู้ทักษะชีวิต และสาระวิชา 8 สาระ โดยมีปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเป้าหมายแห่งการดำรงชีวิต

 

          เด็กๆ จะเริ่มต้นการศึกษาจากปัญหาจริงๆ ที่เด็กๆ ประสบอยู่ และนำเอาปัญหานั้นมาพัฒนาเป็นกระบวนการเรียนรู้ เรียกได้ว่าเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ยกตัวอย่างของการเรียนเรื่องกล้วย เด็กๆ จะสามารถบูรณาการของการเรียนรู้ ทั้งวิชาวิทยาศาสตร์ พฤกษศาสตร์ สิ่งแวดล้อม คณิตศาสตร์ โดยลงมือปฏิบัติจริงๆ เช่น เด็กๆ จะต้องตื่นแต่เช้าไปตัดต้นกล้วย เอาหน่อกล้วยไปเตรียมเป็นอาหารหมู โดยต้องสามารถคำนวณสัดส่วนได้ว่า หมูน้ำหนักเท่าไหร่ ต้องกินอาหารสัดส่วนอย่างไร
          เด็กๆ ต้องรู้ว่า ต้นกล้วยประกอบด้วยอะไร แต่ละส่วนนำเอาไปใช้ประโยชน์อะไรบ้าง เช่น หน่อ ใบ ดอก ลูก และลงมือทำจริง คือ ปลูกกล้วยเป็น นำเอาใบตองมาเป็นภาชนะใส่อาหารเป็น ปรุงอาหารจากกล้วยได้ เช่น กล้วยทอด ต้นกล้วยเป็นอาหารของสัตว์ได้ เช่น อาหารหมู รู้ว่าต้องผสมกับอะไร สัดส่วนเท่าใดจึงจะเป็นอาหารหมูที่มีคุณค่า จะทอดกล้วยอย่างไรให้อร่อย น้ำมันที่ทอดแล้วก็สามารถแปลงกลับมาเป็นไบโอดีเซลใช้ประโยชน์ต่อไปได้อีก โดยไม่เป็นภาระกับสิ่งแวดล้อม
          นัยว่านักเรียนโฮมสกูลบางคนมีเงินเก็บเป็นเรือนหมื่นแล้ว ขนาดคุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์ ที่ปรึกษาของรัฐบาล ขอมาดูงานและชื่นชม ประกาศให้โรงเรียนอื่นเอาเป็นแบบอย่าง อาจารย์ยักษ์ขออนุญาตมาฉายภาพต่อในฉบับหน้าว่า พระอาจารย์สรยุทธ และพระอาจารย์สังคม ใช้เทคนิควิธีการอย่างไร เด็กๆ ของพระอาจารย์จึงเปลี่ยนจากเด็ก “เหลือขอ” กลายมาเป็น “ที่พึ่งพิง” ของพ่อแม่ ชุมชนได้

"อาจารย์ยักษ์ มหา'ลัยคอกหมู"
 

แหล่งที่มา: 
คมชัดลึก 21 มีนาคม 2552