9 ฐานเรียนรู้
ความรู้ที่น่าสนใจ (Documents on web)
ติดต่อเรา
มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ
เลขที่ ๑๑๔ ซอย บี ๑๒ หมู่บ้านสัมมากร สะพานสูง กรุงเทพฯ ๑๐๒๔๐
สำนักงาน ๐๒-๗๒๙๔๔๕๖ (แผนที่)
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง 038-198643 (แผนที่)
User login
ลิงค์เครือข่าย
ยุทธการถอยหลังเข้าคลอง ตอน รักษ์ไม่จางที่บางปะกง 3
ในการขับเคลื่อนภารกิจ คืนชีวิตให้สายน้ำ ในยุทธการถอยหลังเข้าคลอง รักษ์ไม่จางที่บางปะกง เราได้ขุนพลนักรบหนุ่ม อ.ไตรภพ โคตรวงษา แห่งสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ เป็นขุนพลเอกในการเชื่อมประสานกองรบที่กระจัดกระจายอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ ของแปดริ้ว นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว เชื่อมร้อยพลังเข้าด้วยกัน ประกอบร่างในรูปแบบเบญจภาคี แสดงแสนยานุภาพปักธงรบ ณวันที่ 20 กันยายน 2552 ซึ่งถือเป็นวันอนุรักษ์คูคลองแห่งชาติ และประกาศก้องว่า ณ บัดนี้เราจะมิยอมให้ผู้ใดทำลายสายน้ำอันศักดิ์สิทธิ์ ลุ่มน้ำบางปะกง ได้อีกต่อไปแต่เบื้องหลังความสำเร็จของยุทธการถอยหลังเข้าคลองนี้มิได้เกิดจากเงินตรา อาวุธยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัยใด ๆ แต่เกิดจากศรัทธา ความเพียร ความพยายาม และความรักในท้องถิ่น ความรักในสายน้ำ ของผู้คนจากทุกกลุ่มทุกอาชีพที่อาศัยสายน้ำนี้ในการดำรงชีวิต
สำหรับหัวหน้าขบวนอย่าง อ. ไตรภพ เป็นการปฏิบัติภารกิจอย่างเต็มภาคภูมิในฐานะ รา-ชะ-ภัฏ ที่มีความหมายอันลึกซึ้งว่า “คนของพระราชา” เพราะภารกิจข้อที่สำคัญข้อหนึ่งของคนที่เรียกตัวเองว่า รา-ชะ-ภัฏ คือการ “มีส่วนยุทธการรักษ์ไม่จางร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล ยั่งยืน” ที่บางปะกงจึงเป็นการขับเคลื่อนบนพื้นฐานความรักที่ยิ่งใหญ่สองประการ รักสายน้ำ และ รักในหลวง แต่ความเป็นจริงที่พบเห็นคือ มีกำลังรบเล็ก ๆ ในรูปแบบของกลุ่มก้อน ชมรมต่าง ๆ ที่กระจัดกระจายอยู่ในท้องถิ่นที่ได้ปฏิบัติภารกิจในการดูแลสายน้ำบางปะกงกันอยู่แล้วตามกำลังและความสามารถของตนเอง เช่น กลุ่มรักษ์บางปะกง กลุ่มรักษ์ป่าชายเลน ฯลฯ แต่กำลังในการ “รักษา”นั้นไม่ทันกับพลัง “การทำลาย”อันมหึมาที่มากับอุตสาหรรม เกษตรกรรมปุ๋ยเคมี ปศุสัตว์ นากุ้ง ซึ่งต่างใช้เคมีภัณท์ในขบวนการผลิตและการเพาะปลูก และระบายของเสีย กากพิษทั้งหมดลงสู่แม่น้ำ พลังการป้องกัน รักษา จึงดูปวกเปียก ไร้เรี่ยวแรง ไม่ทันการ เปรียบเสมือนกับการเอา “ไม้ซีกงัดไม้ซุง”
ยุทธการถอยหลังเข้าคลองแห่งลุ่มน้ำบางปะกงจึงเป็นการจัดทัพ ระดมสรรพกำลังของเหล่า “ไม้ซีก”เข้าด้วยกัน และดึงพลานุภาพเล็ก ๆ ของไม้ซีกเหล่านี้ออกมาประกอบร่างเป็น เบญจภาคี ที่ทรงพลังเพื่อต่อกรกับไม้ซุง พลังเบญจภาคีดังกล่าวประกอบด้วย ภาคีภาครัฐที่นำโดยกองทัพภายใต้การนำของพลตรียศนันท์ หร่ายเจริญ ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 11 ค่ายสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา คุณสุรพล พงษ์ทัดศิริกุล สำนักงานชุมชนพอเพียง โดยมี ดร. สุมิท แช่มประสิทธิ์เป็นตัวแทน ภาคีภาควิชาการ ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์โดยมี ผศ. เอนก เทพสุภรณ์กุล อธิการบดีเป็นตัวแทน ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการท่องเที่ยว การโรงแรมและธุรกิจการบินโรงเรียนวัดเปี่ยมนิโครธาราม โรงเรียนวัดเกาะจันธาราม โรงเรียนพุทธิรังสีพิบูล โรงเรียนบ้านวังรี จากปราจีนบุรี โรงเรียนบ้านกุดแต้ จากสระแก้ว สำนักงาน กศน.
จากหลายพื้นที่ ภาคีภาคประชาชนประกอบด้วย เครือข่ายอนุรักษ์ชายฝั่งทะเล เครือข่ายรักษ์ลุ่มน้ำบางปะกง เครือข่ายท่องเที่ยวลุ่มน้ำบางปะกง ชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมฉะเชิงเทรา ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพ ฉะเชิงเทรา เครือข่ายคุ้มครองบางคล้า เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา กลุ่มพัฒนาม้าไทย ภาคตะวันออก ภาคีภาคประชาสังคมได้แก่ ชมรมร่มบินบูรพาและศูนย์ปฏิบัติการการบินสิริภาจุฑาภรณ์ภายใต้มูลนิธิอนุรักษ์และพัฒนาอากาศยานไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ สสส. สำนักงานองค์กรเครือข่ายงดเหล้า กรีนพีซ กองทุนวิจัยและอนุรักษ์ช้างไทยที่นำขบวนช้างมาร่วมเรียกร้องทวงสิทธิ์แห่งสายน้ำคืน สำหรับสื่อที่ร่วมกันขับเคลื่อนในครั้งนี้ก็มี ทีวีบูรพา ธันวาโปรดักชั่น เอเอสทีวี ภาคีภาคเอกชนประกอบด้วย ชุมพรคาบาน่า เมืองโบราณ และเหล่าประชาชนอีกจำนวนมากที่เข้าร่วมยุทธการฟื้นฟูลุ่มน้ำบางปะกงในครั้งนี้ เพราะต่างก็หวังว่าเราจะสามารถร้องเพลง “โอ้งามแท้บางปะกง ใครได้เห็นเมื่ออัศดงค์ ก็คงสุดกล่าวคำเฉลย ยากจะกล่าวชมให้สมความงามนั้นเลย”ได้อย่างเต็มภาคภูมิจริง ๆ อีกครั้ง
“อาจารย์ยักษ์ มหา’ลัยคอกหมู”