โพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยของ "พ่อ"
ศูนย์เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง

ติดต่อเรา

มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ
เลขที่ ๑๑๔ ซอย บี ๑๒ หมู่บ้านสัมมากร สะพานสูง กรุงเทพฯ ๑๐๒๔๐
สำนักงาน ๐๒-๗๒๙๔๔๕๖ (แผนที่)
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง 038-198643 (แผนที่)


User login

2553 สัญญาณหายนะโลก?

  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_handler_argument::init() should be compatible with views_handler::init(&$view, $options) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_argument.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter::options_validate() should be compatible with views_handler::options_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter::options_submit() should be compatible with views_handler::options_submit($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter_term_node_tid::value_validate() should be compatible with views_handler_filter::value_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/modules/taxonomy/views_handler_filter_term_node_tid.inc on line 0.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_style_default::options() should be compatible with views_object::options() in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_style_default.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_row::options_validate() should be compatible with views_plugin::options_validate(&$form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_row.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_row::options_submit() should be compatible with views_plugin::options_submit(&$form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_row.inc on line 0.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter_boolean_operator::value_validate() should be compatible with views_handler_filter::value_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter_boolean_operator.inc on line 0.

โดย จิตติมา บ้านสร้าง 

ตั้งหัวข้อไว้อย่างนี้ ก็ไม่ใช่ว่าอยากจะให้แตกตื่นเพราะปีหน้าค.ศ.2012 ที่เคยเป็นประเด็นมาแล้ว เพียงแค่อยากจะประมวลให้เห็นว่ามีอะไรแปลกๆ เกิดขึ้นบนโลกอย่างที่เรียกว่า “ผิดปกติ”  ซึ่งบ้างก็มีคำอธิบาย แต่บางเรื่องก็ไม่มี

ผ่านปีใหม่มาก็มีการสรุปสถานการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับความแปรปรวนของโลกมากมาย  จนนักวิทยาศาสตร์กำลังกังวลว่าปีที่ผ่านมาจะเป็นปีที่เปลี่ยนโลกไปสู่ยุคภูมิอากาศรุนแรงอย่างถาวร  เพราะสภาพอากาศรุนแรงที่เกิดขึ้นนั้นมีทั้งน้ำท่วมหนักทางใต้ของสหรัฐฯ  คลื่นความร้อนจู่โจมยุโรปและพื้นที่ใกล้เคียงจน 19 ประเทศมีสถิติอุณหภูมิสูงสุดใหม่  โดยเฉพาะปากีสถานที่อุณหภูมิสูงถึง 53.5 องศาเซลเซียส ซึ่งนับว่าร้อนที่สุดในเอเชีย และยังตามมาด้วยอุทกภัยครั้งสาหัส ในขณะที่เมืองมอสโกของรัสเซียก็ร้อนที่สุดในรอบ 1,000 ปี จนเกิดไฟป่าอย่างกว้างขวาง

นักวิทยาศาสตร์ต่างหันมามองรูปแบบของความแปรปรวนนี้ โดยทดสอบด้วยแบบจำลองและพบว่า ความแปรปรวนนี้เป็นเพราะเกิดการเคลื่อนย้ายตำแหน่งของมวลสารต่างๆ ในบรรยากาศที่เกี่ยวข้องกับการเกิดสภาพอากาศต่างๆ บวกกับความร้อนและไอน้ำที่เพิ่มมากขึ้น

และอีกปัจจัยที่สำคัญคือการเปลี่ยนรูปแบบการไหลของกระแสน้ำเพราะการละลายของน้ำแข็งขั้วโลก ทั้งนี้ข้อมูลจากนาซ่าระบุว่าเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาน้ำแข็งที่ปกคลุมมหาสมุทรอาร์กติกมีน้อยกว่าค่าเฉลี่ย 20 ปี และนับว่าเป็นเดือนพฤศจิกายนที่มีน้ำแข็งปกคลุมน้อยเป็นอันดับที่ 2 หลังจากครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อปี 2549  นักวิทยาศาสตร์บอกว่าถ้าแบบจำลองนี้ถูกต้อง ปี 2553 ที่ผ่านมาจะเป็นปีที่เปลี่ยนโลกไปสู่ความรุนแรงของสภาพอากาศในระยะยาวของโลก

ไม่เพียงเท่านั้น ช่วงปลายปีต่อมาจนถึงหลังปีใหม่ยังเกิดการตายหมู่แปลกๆ ของนกและปลาทั่วโลก แม้บางกรณีก็มีการพิสูจน์สาเหตุแล้ว แต่อีกหลายกรณีก็ยังไม่สามารถระบุสาเหตุได้

ในกรณีของนกเริ่มต้นขึ้นที่รัฐอาร์คันซอของสหรัฐอเมริกา ที่นกดำปีกแดงตายยกฝูงราว 5,000 ตัวและเมื่อช่วงคริสต์มาสที่ผ่านมา รัฐหลุยส์เซียน่าก็พบนกตายอีก 500 ตัวเนื่องจากบินต่ำกว่าปกติจนชนสายไฟ แต่ก็ยังเป็นปริศนาอยู่นั่นเองว่าทำไมมันจึงพากันบินต่ำจนชนสายไฟฟ้าตายยกฝูงมากขนาดนี้

เช่นเดียวกับที่รัฐเคนตั๊กกี้พบว่ามีนกดำปีกแดง นกเล็กชนิดหนึ่ง และนกกิ้งโครง หลายร้อยตัวตายในฝั่งตะวันตกของรัฐ  และภายในสัปดาห์แรกของปี นกมากกว่า 100 ตัวตายบนทางหลวงรัฐแคลิฟอร์เนียโดยไม่มีร่องรอยการถูกยิง ส่วนที่รัฐมิสซูรี่ก็มีนกขนาดเล็กอีกกว่า 30 ตัวตายโดยไม่ทราบสาเหตุ

ประเทศญี่ปุ่นก็มีนกตายโดยไม่ทราบสาเหตุ แต่มีการสันนิษฐานว่าอาจเป็นเพราะโรคไข้หวัดนกระบาด

ส่วนที่สวีเดนฝูงนกตระกูลอีการาว 100 ตัวก็นอนตายเกลื่อนบนท้องถนนที่เต็มไปด้วยน้ำแข็ง สถาบันสัตวแพทย์สวีเดนระบุสาเหตุว่าเป็นเพราะการจุดพลุและดอกไม้ไฟ

โรมาเนียก็มีการวิเคราะห์เหตุการณ์นกนับสิบตัวที่ตายไปก่อนหน้านี้ พบว่าในกระเพาะอาหารของพวกมันมีกากองุ่นที่เหลือทิ้งจากการผลิตไวน์แต่ก็ไม่มีคำอธิบายอะไรที่มากกว่านี้

ที่อิตาลีระบุสาเหตุที่นกพิราบชนิดหนึ่งยกฝูงตายถึง 1,000 ตัวว่า เป็นเพราะการกินเมล็ดทานตะวันที่มีคนเอามาทิ้งไว้จนเกินขนาดและไม่ย่อย แต่ก็มีร่องรอยของสารสีน้ำเงินเปื้อนอยู่บนจะงอยปาก ซึ่งนักสัตววิทยาเชื่อว่าอาจมีสารพิษที่ทำให้ร่างกายขาดออกซิเจนเป็นปัจจัยร่วมด้วย

ส่วนปลาที่ยกฝูงตายทั่วโลก เชื่อว่าเป็นเพราะความหนาวเย็นที่ผิดปกติ เช่น ปลา spot fish 2 ล้านตัวตายที่รัฐแมรี่แลนด์ ก็ถูกระบุว่าเป็นเพราะความหนาวเย็นและการขยายพันธุ์มากจนเกินไป ซึ่งเหตุการณ์นี้เคยเกิดขึ้นอย่างน้อย 2 ครั้งแล้วในปี 2519 และ 2521 ในกรณีของปลาเริ่มที่บราซิล ที่มีปลาหลายชนิดน้ำหนักรวมถึง 1 แสนตัน ตายลอยมาเกยชายฝั่งของรัฐปาราน่า ทางภาคใต้ ซึ่งนักชีววิทยาทางทะเล ยังไม่สามารถระบุสาเหตุได้ แต่ก็สันนิษฐานไว้หลายอย่างเช่น สารเคมีจากน้ำมันรั่วเมื่อเดือนที่แล้ว ความไม่สมดุลของสิ่งแวดล้อมหรือการล้างท้องเรือ หรือแม้กระทั่งการเทปลาทิ้ง  ถัดมาที่นิวซีแลนด์ก็มีปลาตายเกลื่อนหาดโดยไม่รู้สาเหตุเช่นกัน

ส่วนที่ชายฝั่งรัฐแมรี่แลนด์ สหรัฐอเมริกา ก็มีปลา spot fish นับหมื่นยกฝูงตายเช่นกัน แม้จะรู้สาเหตุว่าเป็นเพราะความหนาวเย็นจัด แต่ที่เป็นปริศนาก็คือปลาเหล่านี้ปกติจะเคลื่อนย้ายฝูงไปหาน้ำที่อบอุ่นก่อนเดือนธันวาคม แต่ปีนี้ทำไมปลาเหล่านี้ไม่อพยพไปหาน้ำที่อุ่นกว่าก่อนที่ฤดูหนาวจะมาถึงเหมือนทุกปี

ที่รัฐฟลอริด้า คนที่นั่นพบว่าปลาหลายร้อยตัวลอยน้ำตาย ซึ่งเป็นการตายมากที่สุดเท่าที่พวกเขาเคยเห็น มีการระบุสาเหตุภายหลังว่าเป็นเพราะความหนาวเย็น

ส่วน drum fish ที่รัฐอาร์คันซอก็ตายนับแสนตัวเพราะโรคระบาด และมีการตายยกฝูงของปูกำมะหยี่ที่อังกฤษกว่า 40,000 ตัว โดยระบุสาเหตุว่า 95% ตายเพราะความหนาวเย็น

และล่าสุดท่าเรือที่ชิคาโก้ ปลาตระกูลเฮอร์ริ่งก็ลอยตายในน้ำแข็งเต็มท่าเรือ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์ป่าบอกว่าเป็นเรื่องผิดปกติ และก็ไม่สามาถบอกถึงสาเหตุได้เช่นเคย

ปรากฎการณ์เหล่านี้เมื่อไม่มีคำอธิบายที่ชัดเจน ก็ทำให้เกิดกระแสการวิพากษ์วิจารณ์ว่าจะเป็นสัญญาณวันสิ้นโลกตามคำทำนายในปีค.ศ.2012 หรือไม่

แต่ที่แน่ๆ ความแปรปรวนอย่างรุนแรงของสภาพอากาศในปีที่ผ่านมา กระทบถึงสังคมมนุษย์โดยตรงแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินจากฝนตกหนัก น้ำท่วม โคลนถล่ม คลื่นความร้อน วิกฤตความหนาวเย็น ผลกระทบที่ตามมาเป็นลูกโซ่ที่เพิ่งเกิดขึ้นก็คือ ข่าวราคาผลผลิตทางการเกษตรสูงขึ้นเพราะผลผลิตขาดตลาด เนื่องจากเสียหายเพราะภัยพิบัติที่เกิดขึ้นทั่วโลก เช่นไฟป่าที่รัสเซียทำให้ธัญพืชที่เข้าสู่ตลาดโลกลดลง เพราะรัสเซียมีสัดส่วนในตลาดโลกถึง 11% และน้ำท่วมออสเตรเลียก็ทำให้สินค้าการเกษตรหายไปจากตลาดโลกอีก 11% ขณะที่ราคาข้าวโพดก็สูงขึ้นเพราะอาร์เจนติน่าผู้ส่งออกข้าวโพดรายใหญ่ประสบภัยแล้งอย่างรุนแรง โดยองค์การสหประชาชาติระบุว่า เมื่อเดือนธันวาคมราคาพืชผลทางการเกษตรโดยเฉพาะน้ำตาล ธัญพืช และพลังงานสูงทุบสถิติเดิมเมื่อปี 2551

วิกฤตราคาอาหารและพลังงานนี้ จะกระทบโดยตรงต่อประเทศยากจนที่มีประชากรมาก อย่างเช่นปริมาณอาหารที่หายไปจากสังคมโลก ในขณะที่ความต้องการบริโภคยังเท่าเดิม ทำให้เกิดการประท้วงขึ้นอย่างรุนแรงแล้วที่ตูนีเซีย มีผู้เสียชีวิตนับสิบคน  และหากปีนี้จะยังมีภัยธรรมชาติที่รุนแรง สถานการณ์ขาดแคลนอาหารของโลกก็จะยิ่งตึงเครียดมากขึ้น

ล่าสุดอินโดนีเซียก็กำลังเร่งแก้ปัญหาการขาดแคลนผลผลิตทางการเกษตร  โดยจะเริ่มโครงการเสริมความมั่นคงทางอาหาร โดยการเพิ่มพื้นที่สำหรับทำการเกษตรอีก 2 ล้านไร่  แต่ที่ดูเหมือนจะทำให้สถานการณ์แย่ลงก็คือ พื้นที่ 2 ล้านไร่ที่จะได้มา ส่วนหนึ่งจะเป็นการเพิกถอนพื้นที่ป่าอนุรักษ์มาจัดสรรให้เป็นพื้นที่ทำเกษตรตามโครงการนี้ ขณะที่ประเทศไทยก็ไม่ได้น้อยหน้า  เพราะทั้งราคาปาล์มน้ำมัน ยางพารา ก็พุ่งสูงขึ้นเพราะขาดแคลนผลผลิตหลังเสียหายจากสถานการณ์น้ำท่วม (และถูกซ้ำเติมด้วยการกักตุนของนายทุน) 

นอกจากอาจจะเป็นสัญญาณบางอย่างแล้ว นี่อาจเป็นปฐมบทของหายนะโลกที่เป็นไปได้จริงกว่าในรูปแบบที่สถาปนาขึ้นมาโดยภาพยนตร์เรื่อง 2012  

แหล่งที่มา: 
www.greenworld.or.th