โพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยของ "พ่อ"
ศูนย์เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง

ติดต่อเรา

มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ
เลขที่ ๑๑๔ ซอย บี ๑๒ หมู่บ้านสัมมากร สะพานสูง กรุงเทพฯ ๑๐๒๔๐
สำนักงาน ๐๒-๗๒๙๔๔๕๖ (แผนที่)
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง 038-198643 (แผนที่)


User login

กระบวนการขับเคลื่อนทางสังคม (1)

  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_handler_argument::init() should be compatible with views_handler::init(&$view, $options) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_argument.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter::options_validate() should be compatible with views_handler::options_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter::options_submit() should be compatible with views_handler::options_submit($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter_term_node_tid::value_validate() should be compatible with views_handler_filter::value_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/modules/taxonomy/views_handler_filter_term_node_tid.inc on line 0.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_style_default::options() should be compatible with views_object::options() in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_style_default.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_row::options_validate() should be compatible with views_plugin::options_validate(&$form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_row.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_row::options_submit() should be compatible with views_plugin::options_submit(&$form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_row.inc on line 0.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter_boolean_operator::value_validate() should be compatible with views_handler_filter::value_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter_boolean_operator.inc on line 0.

          ขณะที่กำลังเขียนต้นฉบับอยู่นี้ คือวันที่ 19 ธันวาคม มีการจัดงาน “เจาะลึกภัยพิบัติ พลิกวิกฤตให้เป็นทางรอด” ขึ้นที่มหาวิทยาลัยศรีปทุม เพื่อเป็นการติดตามวิกฤติภัยพิบัติธรรมชาติและความพยายามในการหาทางออกร่วมกัน  

          อาจารย์ยักษ์ได้เข้าร่วมฟังความคิดเห็นจากผู้รู้ต่างๆ ในงาน และได้เห็นว่าขณะนี้คนเริ่มวิตกกังวลเรื่องภัยพิบัติธรรมชาติมากขึ้น แต่ความจริงแล้ว สิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเตือนไว้มีมากกว่าภัยพิบัติธรรมชาติ พระองค์ทรงเตือนไว้ถึงวิกฤติที่จะมีถึง 4 ด้าน ซึ่งวิกฤติภัยธรรมชาติเป็นเพียงด้านเดียวเท่านั้น อีก 3 ด้าน คือ วิกฤติเศรษฐกิจ ข้าวยากหมากแพง วิกฤติโรคระบาดทั้งในคน สัตว์ พืช และวิกฤติความขัดแย้งทางสังคม และสงคราม ซึ่งปีนี้เราได้เห็นครบทั้ง 4 วิกฤติเกิดขึ้นพร้อมกันในปีเดียว

          อาจารย์ยักษ์เองได้มีโอกาสรับใช้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาท จึงมองเห็นปัญหานี้มานานแล้ว และพยายามจะจัดตั้งขบวนการทางสังคมขึ้นเผชิญหน้ากับภัยพิบัติ ซึ่งจะต้องเตรียมการทั้งก่อนเกิดจะรับมืออย่างไร และหลังเกิดเหตุการณ์จะฟื้นฟูอย่างไร จึงอยากจะเล่าแนวคิด แนวปฏิบัติอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เพื่อจะหยุดภัยพิบัติให้ผู้อ่านได้รับรู้ ซึ่งมีทางเดียวที่จะสู้กับภัยพิบัติได้ คือต้องทำเป็นขบวนทั้ง 5 ขบวน ทั้งภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคประชาชน ภาคเอกชน ภาคประชาสังคมและสื่อมวลชน ต้องเข้ามาร่วมกัน ซึ่งสิ่งนี้เรียกว่า “การทำงานเป็นขบวนการ” และเป็นขบวนการต่อสู้กับภัยพิบัติที่สำคัญ

          วิธีการสร้างขบวนการทางสังคม หรือภาษาวิชาการเรียกว่า “การขับเคลื่อนขบวนการทางสังคม” เพื่อเตรียมรับภัยพิบัติ แบ่งเป็น 7 ขั้นตอน ที่ทำได้ง่ายๆ

          ทว่าก่อนที่จะไปถึงการขับเคลื่อนดังกล่าว ควรทำความเข้าใจที่มาที่ไปของการวางแผนรับมือเหตุการณ์วิกฤติ ที่อาจารย์ยักษ์วางแผนล่วงหน้ามาตั้งแต่ปี พ.ศ.2525 อันเกิดจากประสบการณ์ที่เผชิญหน้ากับภัยพิบัติสงครามในยุคสงครามเย็น ซึ่งเป็นยุคแห่งความขัดแย้งระหว่างความคิดสุดโต่งสองขั้วได้แก่ ทุนนิยม-เสรีนิยม และสังคมนิยม-คอมมิวนิสต์

          ช่วงนั้นทั่วโลกมีความเชื่อกันว่าไทยจะเป็นประเทศสุดท้ายในคาบสมุทรอินโดจีน ที่ล่มลงภายใต้ทฤษฎีโดมิโน แต่ด้วยความอัจฉริยภาพของพระเจ้าอยู่หัวฯ จึงทรงใช้การพัฒนาประเทศเพื่อให้งานพัฒนาไปหนุนเสริมการจัดตั้งกองกำลังภาคประชาชนในพื้นที่ ให้สามารถทำมาหากินได้ และรักษ์ถิ่นฐาน พร้อมที่จะร่วมเป็นกองกำลังภาคประชาชนประจำถิ่น เพื่อปกป้องแผ่นดินในยามนั้น

          อาจารย์ยักษ์ได้มีโอกาสติดตามการทรงงานของพระองค์ท่านมาตลอดแล้วก็เห็นว่า ภาครัฐที่จะร่วมกันสนองพระราชดำริในครั้งนั้น ไม่สามารถต้านภัยพิบัติทุกด้านได้เด็ดขาด เพราะกองกำลังภาครัฐอย่างเดียวมีค่าใช้จ่ายสูงมาก สูงกว่าข้าศึกที่รายล้อมประเทศอยู่ในยามนั้นถึง 3 เท่า ดังนั้น หากเราต้องสร้างกองกำลังเปรียบเทียบเพื่อให้มีกองกำลังมากเพียงพอ นั่นแปลว่าเศรษฐกิจไทยจะต้องล่มสลายอย่างแน่นอน

          ครั้งนั้น จึงมีการปรับตัวครั้งใหญ่เรียกว่าเป็นการ “ระดมสรรพกำลัง” ทุกภาคส่วนของสังคมไทยมาช่วยกันหยุดยั้งการรุกรานจากรอบประเทศ โดยจัดตั้งเป็น “กองกำลังภาคประชาชน” ขึ้น เรียกว่า กองกำลังอาสาสมัครภาคประชาชน นอกจากนั้นยังมีการจัดตั้งกองกำลังกึ่งทหาร เช่น กองอาสารักษาดินแดน ตำรวจตระเวนชายแดน ทหารพราน ซึ่งทั้งหมดนี้มีค่าใช้จ่ายเท่าเทียมกับการจัดตั้งกองกำลังของฝ่ายตรงข้าม ดังนั้น รัฐบาลพลเอกเปรมในสมัยนั้น จึงมีการปรับตัวครั้งใหญ่เพื่อดำเนินการตามแนวทางระดมสรรพกำลังดังกล่าว

           อาจารย์ยักษ์ในฐานะที่เป็นคนเขียนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งทำงานทั้งในบทบาทของสภาความมั่นคงแห่งชาติและสภาการพัฒนางานเศรษฐกิจ ก็เป็นคนหนึ่งที่ร่วมเขียนแผนการระดมสรรพกำลังของสังคมทุกด้านมาหยุดภัยพิบัติทางสงคราม

          จากประสบการณ์ครั้งนั้น แม้ว่าจะหนักหนา แต่อาจารย์ยักษ์มองเห็นว่าครั้งนี้หนักกว่า เพราะสงครามนั้นยังมีสิทธิ์ส่งทูตไปเจรจาได้ แต่สงครามกับธรรมชาตินั้นไม่สามารถส่งทูตไปเจรจาต่อรองใดๆ ทั้งสิ้น และจะดำเนินการสำเร็จได้อย่างไร โปรดติดตามสัปดาห์หน้า

"อาจารย์ยักษ์ มหา’ ลัยคอกหมู"

 

แหล่งที่มา: 
คมชัดลึก 25 ธันวาคม 2553