โพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยของ "พ่อ"
ศูนย์เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง

ติดต่อเรา

มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ
เลขที่ ๑๑๔ ซอย บี ๑๒ หมู่บ้านสัมมากร สะพานสูง กรุงเทพฯ ๑๐๒๔๐
สำนักงาน ๐๒-๗๒๙๔๔๕๖ (แผนที่)
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง 038-198643 (แผนที่)


User login

คนไทยไม่ทิ้งกัน? (2)

  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_handler_argument::init() should be compatible with views_handler::init(&$view, $options) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_argument.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter::options_validate() should be compatible with views_handler::options_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter::options_submit() should be compatible with views_handler::options_submit($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter_term_node_tid::value_validate() should be compatible with views_handler_filter::value_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/modules/taxonomy/views_handler_filter_term_node_tid.inc on line 0.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_style_default::options() should be compatible with views_object::options() in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_style_default.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_row::options_validate() should be compatible with views_plugin::options_validate(&$form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_row.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_row::options_submit() should be compatible with views_plugin::options_submit(&$form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_row.inc on line 0.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter_boolean_operator::value_validate() should be compatible with views_handler_filter::value_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter_boolean_operator.inc on line 0.

          ฉบับที่แล้ว อาจารย์ยักษ์เล่าถึงอุตสาหกรรมสมมติอุตสาหกรรมหนึ่ง ที่เปลี่ยนฐานคิดจากความเชื่อตามทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ทุนนิยมและการบริหารงานตามทฤษฎีการตลาด สู่การหันมามองอุตสาหกรรมจากฐานคิดใหม่ “อุตสาหกรรมพอเพียง” ซึ่งเป็นสิ่งที่อาจารย์ยักษ์เรียกว่า Paradigm Shift คือ เปลี่ยนกันตั้งแต่ฐานรากกันเลย หรืออาจกล่าวได้ว่าเปลี่ยนจากทฤษฎีที่อยู่เบื้องหลังหรือภูมิหลังทางทฤษฎี (Theoretical Background) ซึ่งหมายถึงสิ่งที่เราเชื่อและเรายึดมั่นถือมั่น จนสะท้อนออกมาเป็นแนวคิด และส่งผลต่อพฤติกรรมของคน เราเชื่อเช่นนั้น เราจึงคิดอย่างนั้น และทำอย่างนั้น
          ยกตัวอย่าง อุตสาหกรรมสมมติแห่งนี้เคยเชื่อตามทฤษฎีทางการตลาด จึงส่งผลเป็นการดำเนินงานตามแบบที่ทำกันมา คือ จ่ายเงินล่วงหน้าให้เกษตรกรเพื่อผลิตผลิตผลทางการเกษตรให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด เมื่อได้ผลผลิตก็เก็บเกี่ยวเข้าโรงงาน แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปทางการเกษตร ซึ่งการดำเนินการนี้ก็ได้ผลเป็นความมั่งคั่งทางธุรกิจ แต่แม้จะมั่งคั่ง ลึกๆ แล้วเขารู้สึกว่า.ไม่มั่นคง ดังนั้นความรู้สึกไม่มั่นคงนั้นจึงไม่ได้มาจากตัวเลขรายได้ หรือปริมาณการผลิต แต่ความไม่มั่นคงนั้นมาจากส่วนลึกของจิตใจที่ประกอบด้วยหลายเหตุผล ลึกลงไปจนถึงจิตสำนึกที่มีต่อแผ่นดินเกิด ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิธีคิดจากฐานราก จากเชื่อตามทฤษฎีเศรษฐกิจทุนนิยม สู่ความเชื่อใหม่ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง
          เมื่อรากฐานความคิดเปลี่ยน การกระทำก็เปลี่ยน เขามองเห็นแนวใหม่ของบริษัทที่แน่นอนว่า จะต้องเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง แต่การที่จะเปลี่ยนแปลงขนาดนั้น เขาคงต้องอาศัยความกล้าหาญอย่างมาก เพราะเมื่อเป็นเส้นทางสายใหม่ย่อมยังไม่มีใครเป็นต้นแบบพิสูจน์ให้ได้ว่าจะประสบความสำเร็จแน่นอน 100% แต่เมื่อเขาตระหนักแล้ว จึงต้องลงมือทำทันที... เขาคิดว่า ...เกษตรกรซึ่งผลิตวัตถุดิบป้อนให้แก่โรงงานของเขาไม่จำเป็นต้องปลูกพืชอุตสาหกรรมเต็มทั้งหมดของพื้นที่อย่างปัจจุบันนี้ก็ได้ ปลูกแค่ 70% ของพื้นที่ด้วยระบบเกษตรอินทรีย์ แล้วทดลองเปลี่ยนสินค้าที่เคยเป็นเคมี สู่สินค้าอินทรีย์ 
          พื้นที่ส่วนที่เหลือจะแนะให้เกษตรกรปลูกป่า 3 อย่าง เพื่อให้ได้ประโยชน์ 4 อย่าง จากนั้นเขาจะสร้างโรงงานแห่งใหม่เพื่อทดลองผลิตสินค้าอินทรีย์แบบที่ไม่ทิ้งสิ่งของเหลือใช้ และไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมเลย จะยอมลงทุนเป็นเงินเป็นหมื่นล้าน เพราะเขาเชื่อว่าถ้าจะให้มั่นคงแท้จริง ต้องมั่นคงไปถึงทรัพยากรธรรมชาติและสมดุลนิเวศของโลก 
          โรงงานใหม่แห่งนี้จึงจะเป็นโรงงานที่ผลิตพลังงาน 4 ชนิด ครบวงจรสมบูรณ์ คือ หนึ่งผลิตน้ำตาลเพื่อให้พลังงานแก่คน สองผลิตเอทานอลเพื่อให้พลังงานรถยนต์ สามผลิตไฟฟ้าเพื่อให้พลังงานเครื่องจักร และสุดท้ายผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อให้พลังงานแก่ดิน เพราะเขาเชื่อตามหลักที่ว่า “เลี้ยงดินให้ดินเลี้ยงพืช” เมื่อดินกลับมาสมบูรณ์แล้วเกษตรกรที่ผลิตอ้อยอินทรีย์ก็จะได้ผลผลิตดี แม้จะต้องใช้เวลาอยู่บ้าง ซึ่งหากเขาทำสำเร็จจะมีพื้นที่ป่า 3 อย่างที่ให้ประโยชน์ 4 อย่างเพิ่มขึ้นถึงกว่า 1 แสนไร่ จากพื้นที่ปลูกอ้อยรัศมี 5 กิโลเมตรจากโรงงาน อ.บ่อพลอย จ.กาญจนบุรี ป่าที่เพิ่มขึ้นนี้จะได้รับการดูแล และการใช้ประโยชน์หมุนเวียนโดยชาวบ้าน เพราะเป็นป่าในที่ไร่ของเขาเอง และป่านี่แหละที่จะทำให้คืนความชื้นให้แก่ดิน น้ำ และอากาศ 
          หากเป็นจริงดั่งที่เขาหวั่นใจลึกๆ แล้วว่าโลกนี้กำลังย่างเข้าสู่วิกฤติสิ่งแวดล้อมอย่างหนัก ป่าแห่งนี้ก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะสร้างความยั่งยืนให้ชุมชน ให้ลูกหลานของพนักงาน และลูกหลานของเขาเอง...
          เล่ามาถึงตรงนี้อาจารย์ยักษ์ขอเฉลยว่า อุตสาหกรรมนี้ย่อมมิใช่อุตสาหกรรมสมมติ แต่เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมกลุ่มหนึ่ง ชื่อว่า กลุ่มอุตสาหกรรมเคเอสแอล โรงงานผลิตน้ำตาลของคนไทย ที่เปลี่ยนฐานคิดสู่เศรษฐกิจพอเพียง เป็นหนึ่งในต้นแบบอุตสาหกรรมพอเพียงที่กำลังพิสูจน์ทฤษฎีใหม่นี้ และ “เขา” คนนั้นชื่อ คุณจำรูญ ชินธรรมมิตร์ ประธานกรรมการบริษัท น้ำตาลขอนแก่น จำกัด (มหาชน) ผู้ริเริ่มโมเดลอุตสาหกรรมพอเพียง ที่จะเป็นบทพิสูจน์ว่า “คนไทยไม่ทิ้งกัน” นั้น พูดได้จริง ทำได้จริง และ “ทำได้ทันที”

"อาจารย์ยักษ์ มหา’ ลัยคอกหมู"

 

แหล่งที่มา: 
คมชัดลึก 13 พฤศจิกายน 2553