9 ฐานเรียนรู้
ความรู้ที่น่าสนใจ (Documents on web)
ติดต่อเรา
มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ
เลขที่ ๑๑๔ ซอย บี ๑๒ หมู่บ้านสัมมากร สะพานสูง กรุงเทพฯ ๑๐๒๔๐
สำนักงาน ๐๒-๗๒๙๔๔๕๖ (แผนที่)
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง 038-198643 (แผนที่)
User login
ลิงค์เครือข่าย
ประชาธิปไตย ธรรมมานิยมแห่งประเทศสยาม 1
ในภาวะการเมืองประเทศที่กำลังร้อนแรงขณะนี้ อาจารย์ยักษ์ขออนุญาตพักเรื่องพืชพลังงานและเข้าร่วมวงถก “สภากาแฟ” กับคอการเมือง ในฐานะ “ศิษย์ดีเด่น” ด้านพัฒนาสังคม และผู้รู้ด้านรัฐศาสตร์อีกคนหนึ่งของประเทศ ต้องถือเป็นภารกิจที่ต้องร่วมใช้หนี้คืนแผ่นดิน เพราะนำเงินภาษีของประชาชนมาใช้ในการเล่าเรียน ขอร่วมวงนำเสนอความเห็นต่อสิ่งที่สังคมกำลังให้ความสนใจ และกำลังหาทางออกในการฝ่าวิกฤตการเมืองน้ำเน่า
เป็นที่ยอมรับกว่า การเมือง การปกครองที่อ้างอิงระบอบประชาธิปไตยโดยอาศัยการเลือกตั้งและรัฐสภาเป็นสถาบันหลักของประเทศไทย ได้ก้าวมาถึงทางตันของการแก้ปัญหาประเทศ และการดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมในสังคม แม้แต่ประเทศที่เชื่อกันว่าเป็นแม่แบบแห่งระบอบประชาธิปไตยเองเช่นสหรัฐอเมริกา ความเชื่อมั่นศรัทธาในระบบรัฐสภาก็เริ่มสั่นคลอนเพราะระบบการเมือง การปกครองที่ดำรงอยู่ในขณะนี้ไม่สามารถเป็นที่พึ่งหรือเป็นคำตอบให้กับสังคมเพื่อให้สังคมดำรงอยู่และดำเนินไปในทิศทางแห่งการพัฒนาแบบยั่งยืนได้ ยิ่งเมื่อประเทศไทยเจอวิกฤตด้านต่างๆ ที่กำลังถาโถมอยู่ในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นวิกฤตเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ภัยธรรมชาติ ระบอบประชาธิปไตย 4 วินาทีโดยผ่านการรวมศูนย์อำนาจที่รัฐสภาก็แสดงออกอย่างชัดเจนว่าไม่อยู่ในสภาพที่จะรับมือกับการแก้ปัญหาของประเทศได้เลย มิหนำซ้ำการเมือง 4 วินาที กำลังสะท้อนภาพแห่งความเสื่อมทรุด และไร้ศรัทธาจากประชาชนอย่างถึงที่สุด ถึงขั้นประกาศ เอา “อารยะขัดขืน” เป็นมาตรการในการแสดงออกถึงการไม่ยอมรับ “การบริหารจัดการประเทศ” ในแบบเดิมอีกต่อไป สิ่งที่สังคมต้องเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาสในสถานการณ์ขณะนี้คือ การร่วมกันหาทางออก ทางเลือกใหม่ที่เป็นรูปธรรมสู่การแก้ปัญหาอย่างแท้จริงในการแก้ปัญหา สิ่งแรกที่ประเทศไทยต้องหาคำตอบให้กับตนเองให้ได้ก่อนว่า สำนึกสังคม (social conscience) ของคนทั้งสังคมจะเอา “ทุนนิยม” หรือ “เศรษฐกิจพอเพียง” เพราะทั้งสองสิ่งนี้จะให้คำตอบต่อการ บริหารจัดการ ประเทศที่แตกต่างกันไป เพราะถ้าประเทศไทยเลือก “ทุนนิยม” การบริหารจัดการประเทศก็ต้องมุ่งสู่ ทุน เงินตรา และการใช้ทรัพยากรทุกอย่างไปเพื่อให้ได้เงินตราเข้ามา ผลิตทุกอย่างเพื่อการขายเป็นอันดับแรก การศึกษาก็ต้องมุ่งให้ผู้คนแสวงหากำไร ตีค่าแรงงานมนุษย์เป็นทุน เปิดให้มีการแข่งขันเสรี ถ้าใครเก่งกว่าก็ต้องยอมรับว่าจะเป็นผู้ที่มีมากกว่า ไม่ใช่ความผิดอะไร แต่ถ้า “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นทางเลือกแห่งสำนึกสังคม “เงินตรา” ก็จะเป็นสิ่งสุดท้ายที่สังคมให้ความสำคัญ พื้นฐานแห่งการดำรงชีพ พื้นฐานแห่งการพึ่งตนเอง ตามสถานะ และศักยภาพจะมาก่อน การแบ่งปัน ช่วยเหลือจุนเจือกันจะมาก่อน คุณธรรมและสัมมาทิฐิจะมาก่อน ติดตามต่อในฉบับหน้า