โพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยของ "พ่อ"
ศูนย์เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง

ติดต่อเรา

มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ
เลขที่ ๑๑๔ ซอย บี ๑๒ หมู่บ้านสัมมากร สะพานสูง กรุงเทพฯ ๑๐๒๔๐
สำนักงาน ๐๒-๗๒๙๔๔๕๖ (แผนที่)
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง 038-198643 (แผนที่)


User login

การเมืองแบบ “พอเพียง”

  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_handler_argument::init() should be compatible with views_handler::init(&$view, $options) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_argument.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter::options_validate() should be compatible with views_handler::options_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter::options_submit() should be compatible with views_handler::options_submit($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter_term_node_tid::value_validate() should be compatible with views_handler_filter::value_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/modules/taxonomy/views_handler_filter_term_node_tid.inc on line 0.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_style_default::options() should be compatible with views_object::options() in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_style_default.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_row::options_validate() should be compatible with views_plugin::options_validate(&$form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_row.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_row::options_submit() should be compatible with views_plugin::options_submit(&$form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_row.inc on line 0.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter_boolean_operator::value_validate() should be compatible with views_handler_filter::value_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter_boolean_operator.inc on line 0.

          สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองของสังคมไทยในปัจจุบัน สะท้อนถึงระบบการเมืองที่ “ไม่พอเพียง” คงไม่มีนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์คนไหนปฏิเสธได้ว่า ประชาธิปไตยที่เรียกขานในประเทศไทยนั้นแท้ที่จริง เป็นประชาธิปไตย 5 นาที เมื่อประเทศมีการเลือกตั้ง คนทั้งประเทศก็ถูกหลอกให้เชื่อว่า ประเทศมีประชาธิปไตยแล้ว ในขณะที่ความเป็นจริง ตัวแทนที่ถูกเลือกเข้าไปนั้นเป็น “ตัวแทน” ของชนชั้นที่ทำหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์ให้กลุ่มของตนกลุ่มเล็ก ๆ เพียงกลุ่มเดียว เมื่อการเมืองทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมที่ยังไม่มีความพอเพียง การเมืองจึงไม่สามารถสะท้อน ความพอเพียง ออกมาได้  ในขณะเดียวกัน การเมือง ที่ไม่พอเพียง ก็เป็นอุปสรรคมิให้การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเกิดความพอเพียงได้เช่นกัน  เมื่อการเมืองไทย ถูกกำหนดโดย นายอำนาจ และ นางสาวเงิน นายอำนาจ และ นางสาวเงิน ก็ต้องกำหนดให้ความเป็นไปของระบบเศรษฐกิจ และ คนมารับใช้ตนเช่นกัน เป็นวัฏจักรแห่งความชั่วร้ายวนเวียนไปเช่นนี้

          แล้วการเมืองที่พอเพียงนั้น เป็นอย่างไร เราจะสร้างการเมือง ที่พอเพียงขึ้นมาได้อย่างไร การเมืองที่พอเพียงนั้นคือ ระบบการเมือง ที่เอื้อให้คนในสังคมมีที่ยืนของตนเอง กลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างลงตัว มีความหลากหลาย มีความแตกต่าง  และองค์ประกอบที่เป็นเงื่อนไขที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้เกิดความพอเพียง คือมีความรู้ (สัมมาทิฐิ) และ คุณธรรมเป็นตัวกำกับ โลกแห่งตลาดการค้าเสรีหลอกให้เราเชื่อว่า “คนเราเท่ากัน” และต้องทำให้คนเราเท่ากัน เมื่อคนเราเท่ากัน การแข่งขันเสรีจึงเป็นสิ่งยุติธรรม แต่ความเป็นจริงของสังคมมนุษย์คือ สังคมแต่ละสังคมมีประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม พัฒนาการที่ไม่เหมือนกัน และ ไม่เท่ากัน  การนำระบบหนึ่งมาครอบบนอีกระบบหนึ่งจึงก่อให้เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” และกลายเป็นปมปัญหาของระบบเศรษฐกิจทั้งโลก  บนเวทีการแข่งขันที่ถูกหลอกให้เชื่อว่า เราเท่ากัน  คนที่แข็งแรงกว่ามีความพร้อมมากกว่า จึงเป็นฝ่ายชนะ และเป็นฝ่ายครอบครองอยู่ร่ำไป  ความรู้สึก “อยุติธรรม” จึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

          “ความแตกต่าง” และ “ความไม่เท่ากัน” เป็นธรรมชาติของสรรพสิ่ง ในสังคมมนุษย์ ผู้ที่แข็งแรงกว่าจึงมีภารกิจต้องดูแลผู้ที่อ่อนแอกว่า คนที่มีมากกว่าจึงต้องเป็นฝ่ายให้ กับคนที่มีน้อยกว่า “การให้” หรือ “ทาน” จึงเป็นปัจจัยหนึ่งของการเมืองและสังคมที่พอเพียง  หากมนุษย์อยู่บนสัญชาติญาณแห่งการ “แย่งชิง” โดยไม่รู้จัก “ให้” มนุษย์ก็ไม่ต่างอะไรกับ “สัตว์” ที่คำนึงถึงการอยู่รอดตามสัญชาติญาณดิบเท่านั้น หากเป็นเช่นนั้น สังคมมนุษย์ก็จะต้องแย่งชิงรบราฆ่าฟันกันโดยไม่มีที่สิ้นสุด

          การเมืองที่พอเพียงจึงจำเป็นที่ต้องสร้างขึ้นบนพื้นฐานของคุณธรรมและสัมมาทิฐิ ตัวอย่างเช่น มีความรู้อย่างเที่ยงแท้ว่า ทรัพยากร นั้นมีจำกัด การแบ่งปันทรัพยากรนั้นมิอาจทำให้เท่าเทียมได้ แต่หากผู้นำการเมืองตั้งอยู่บนคุณธรรมและสัมมาทิฐิ ก็จะมีสติปัญญารับรู้ว่า อะไรสำคัญกว่าอะไร อะไรเป็นประโยชน์แก่คนหมู่มาก เช่น การปันน้ำระหว่างภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรมนั้นอะไรสำคัญกว่าอะไร การปล่อยให้ทรัพยากรตกไปอยู่กับคนกลุ่มน้อย การปล่อยให้ ผู้นำ ใช้อำนาจในการกอบโกยผลประโยชน์ใส่ตนเอง และพวกพ้อง  การปล่อยให้คอร์รัปชั่นเป็น “คุณค่า” ที่สังคมยอมรับ ทั้งหมดล้วนเป็นการเมืองที่ไม่พอเพียง และ นำไปสู่ความไม่ยั่งยืน

ขณะนี้คนไทยมีทางเลือกแค่ทางเลือกเดียวในการสร้างการเมืองแบบพอเพียงให้เกิดขึ้น ไม่ใช่เลิก “ยุ่ง” กับการเมือง แต่ทำการเมืองให้ “หายยุ่ง” โดยใช้ธรรมะเป็นธงนำ

แหล่งที่มา: 
คม ชัด ลึก 14 มิถุนายน 2551