โพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยของ "พ่อ"
ศูนย์เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง

ติดต่อเรา

มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ
เลขที่ ๑๑๔ ซอย บี ๑๒ หมู่บ้านสัมมากร สะพานสูง กรุงเทพฯ ๑๐๒๔๐
สำนักงาน ๐๒-๗๒๙๔๔๕๖ (แผนที่)
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง 038-198643 (แผนที่)


User login

ทุนแห่งเศรษฐกิจพอเพียง

  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_handler_argument::init() should be compatible with views_handler::init(&$view, $options) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_argument.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter::options_validate() should be compatible with views_handler::options_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter::options_submit() should be compatible with views_handler::options_submit($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter_term_node_tid::value_validate() should be compatible with views_handler_filter::value_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/modules/taxonomy/views_handler_filter_term_node_tid.inc on line 0.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_style_default::options() should be compatible with views_object::options() in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_style_default.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_row::options_validate() should be compatible with views_plugin::options_validate(&$form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_row.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_row::options_submit() should be compatible with views_plugin::options_submit(&$form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_row.inc on line 0.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter_boolean_operator::value_validate() should be compatible with views_handler_filter::value_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter_boolean_operator.inc on line 0.

ทุนแห่งเศรษฐกิจพอเพียง

เมื่อภาวการณ์เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในความหมายของทุนนิยม เจริญพัฒนาจนถึงระดับที่ทรัพยากรภายในประเทศไม่เอื้ออำนวยต่อการขยายตัว สิ่งที่ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้คือการรุกคืบไปยังดินแดนนอกพรมแดนของประเทศตนเอง เพื่อดูดกลืนทรัพยากรของประเทศอื่นต่อไป หากการรุกคืบนั้นเป็นไปเพื่อประโยชน์ของทุนฝ่ายเดียวโดยไม่คำนึงถึงประโยชน์ของชุมชนที่ตนรุกคืบเข้าไป ความขัดแย้ง ความรุนแรง ความไม่พอใจ การต่อต้านก็จะเป็นสิ่งที่ยากที่จะหลีกเลี่ยง แต่หากทุนที่รุกคืบเข้าไปมิได้มีเจตนาเพื่อไปดูดกลืน กอบโกย แต่คำนึงถึงความยั่งยืนระยะยาวทั้งต่อตนเองและชุมชน การข้ามพ้นพรมแดนไปยังประเทศอื่น ก็จะก่อเกิดประโยชน์มหาศาลทั้งตนเองและประเทศที่ตนเข้าไปอาศัยอยู่

บริษัท เคเอลแอล กรุ๊ป ภายใต้คำแนะนำของมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ เป็นตัวอย่างหนึ่งของทุนไทยที่ก้าวข้ามพรมแดนประเทศไทยไปยังประเทศเขมรเพื่อนบ้านเพื่อปลูกอ้อย ในการทำน้ำตาล ทำเอทานอลเพื่อผลิตพลังงาน ทำเยื่อกระดาษ สุดท้ายคือปุ๋ย พืชพลังงาน โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เป็นแนวทางในการเข้าไปใช้ประโยชน์ทรัพยากร

บริษัท เคเอสแอลได้รับสัมปทานจากรัฐบาลเขมรในเนื้อที่กว่า 125,000 ไร่ แต่ได้ใช้หลักคิดที่แตกต่างจากการปลูกอ้อยในประเทศไทย โดยการสร้างพื้นฐานที่มั่นคงของภาคการเกษตรดังต่อไปนี้

1. การคงไว้ของพื้นที่ป่า 30% นั่นหมายความว่า บริษัทจะต้องสละพื้นที่ถึง 37,500 ไร่ ให้เป็นพื้นที่ป่า และใช้พื้นที่ 80,000 ไร่เป็นพื้นที่ปลูกอ้อย แนวคิดนี้ดูจะสวนทางกับการทำเกษตรสมัยใหม่ที่ต้องใช้เนื้อที่เพาะปลูกให้เต็มประสิทธิภาพสูงสุด คือ 100% แต่การสงวนพื้นที่ป่ามากขนาดนี้เพื่อการดำรงอยู่อย่างสมดุลของระบบนิเวศ ความชื้นสัมพัทธ์ที่มากพอจากระบบนิเวศที่สมดุลนอกจากจะเป็นประโยชน์ของต่อพืชภายในบริเวณที่ปลูกแล้ว ยังเป็นผลดีต่อระบบนิเวศของประเทศด้วย
2. ใช้ระบบไถเฉียงตามเส้นชั้นความสูงและการใช้หญ้าแฝกเพื่อควบคุมการชะล้างของหน้าดิน (Erosion Control) ระบบไถเฉียงตามแนวคิดของพระเจ้าอยู่หัวไทยได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นระบบที่สามารถควบคุมการชะล้างของหน้าดินจากน้ำฝนที่หลากเข้ามาตามฤดูกาล และเป็นระบบที่กักเก็บความอุดมสมบูรณ์ให้กับดินได้อย่างดีและยั่งยืน
3. มีระบบเก็บกักน้ำตามธรรมชาติ มีแหล่งน้ำกระจายอยู่รอบๆ พื้นที่เพาะปลูก
4. ใช้ระบบเกษตรอินทรีย์เต็มรูปแบบ ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ชีวภาพ เพื่อบำรุงรักษาดิน ซึ่งนอกจากจะเพิ่มผลผลิตแล้ว เกษตรอินทรีย์ยังจะมีส่วนช่วยรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินให้กับประเทศนี้ต่อไปอย่างยั่งยืน
5. มีการปลูกป่า 3 อย่าง กระจายอยู่ตามเนื้อที่เพาะปลูก นอกจากเป็นการเพิ่มเติมเนื้อที่ป่า ป่า 3 อย่างยังเอื้อประโยชน์ให้กับผู้คนรอบชุมชนในการใช้ประโยชน์จากผลิตผลของป่า

นอกจากการสร้างเสาเข็มที่แข็งแรงด้านการเกษตรที่ยั่งยืนโดยการสร้างระบบนิเวศที่ดีแล้ว บริษัท เคเอสแอลยังมีนโยบายในการสร้างบ้านให้กับสัตว์ป่า เพราะการขยายเนื้อที่เพาะปลูกในปริมาณที่มากขนาดนั้น สัตว์ป่าที่เคยหากินอยู่ในบริเวณป่าย่อมต้องได้รับผลกระทบ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสอนให้มนุษย์เคารพสรรพสิ่ง ทั้งธรรมชาติ และสัตว์ การรุกคืบในพื้นที่ที่มีสัตว์ป่าจึงต้องกระทำด้วยจิตสำนึกและความรับผิดชอบ และให้สัตว์ป่าเจ้าของพื้นที่ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด การดำรงอยู่ของป่า แหล่งน้ำและการสร้างพื้นที่ให้มีอาหารสำหรับสัตว์ป่า การสร้างโป่งเทียมให้ช้าง การเตรียมพืชอาหารให้ควายของชาวบ้านที่อยู่รอบข้าง จึงเป็นสิ่งที่จะต้องเกิดขึ้นภายในพื้นที่เพาะปลูก การดูแลชุมชน การให้การศึกษา การดูแลสุขภาพ เป็นส่วนหนึ่งการของหลักคิดของทุนเพื่อเศรษฐกิจพอเพียงโดยบริษัทเคเอสแอล เพราะหากชุมชนไม่ได้รับประโยชน์สุขอย่างยั่งยืน ทุนที่ต้องอาศัยชุมชนก็ไม่อาจจะพัฒนาอย่างยั่งยืนได้เช่นกัน

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมิเพียงแต่เอื้อประโยชน์แก่ชุมชนชาวไทย แต่แนวคิดนี้ยังได้ขยายและเอื้อประโยชน์ต่อชุมชนคนของโลกแล้ว

แหล่งที่มา: 
คม ชัด ลึก 1 มีนาคม 2551