โพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยของ "พ่อ"
ศูนย์เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง

ติดต่อเรา

มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ
เลขที่ ๑๑๔ ซอย บี ๑๒ หมู่บ้านสัมมากร สะพานสูง กรุงเทพฯ ๑๐๒๔๐
สำนักงาน ๐๒-๗๒๙๔๔๕๖ (แผนที่)
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง 038-198643 (แผนที่)


User login

จิตวิทยาแห่งความพอเพียง 1

  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_handler_argument::init() should be compatible with views_handler::init(&$view, $options) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_argument.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter::options_validate() should be compatible with views_handler::options_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter::options_submit() should be compatible with views_handler::options_submit($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter_term_node_tid::value_validate() should be compatible with views_handler_filter::value_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/modules/taxonomy/views_handler_filter_term_node_tid.inc on line 0.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_style_default::options() should be compatible with views_object::options() in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_style_default.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_row::options_validate() should be compatible with views_plugin::options_validate(&$form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_row.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_row::options_submit() should be compatible with views_plugin::options_submit(&$form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_row.inc on line 0.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter_boolean_operator::value_validate() should be compatible with views_handler_filter::value_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter_boolean_operator.inc on line 0.

จิตวิทยาแห่งความพอเพียง 1

อาจารย์ยักษ์ขออนุญาตนำเอาเรื่องราวคำบรรยาย “จิตวิทยาแห่งความพอเพียง” ซึ่งได้บรรยายให้กับที่ประชุมนักวิชาการด้านจิตวิทยาแห่งเอเชีย เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมามาสรุปเล่าสู่กันฟัง เป็นที่น่ายินดีที่ปรัชญา “แห่งความพอเพียง” ซึ่งบรรพบุรุษของเราได้ใช้เป็นศาสตร์ในการดำรงชีวิตมาอย่างยาวนานอย่างมีความสุข ได้ขยายลุกลามไปยังศาสตร์ต่างๆ โดยเฉพาะศาสตร์ทางจิตวิทยาของตะวันตก

สิ่งที่ต้องย้อนคิดและตั้งคำถามก็คือ ทำไมนักวิชาการจิตวิทยาภายใต้กรอบแนวคิดตะวันตกจึงหันมาสนใจ “จิตวิทยาแห่งความพอเพียง” ของตะวันออกอันมีฐานรากแนวคิดมาจาก “พุทธศาสนา” ศาสตร์ทางจิตของตะวันตกเจอปัญหาอะไร ถ้าถามว่าความแตกต่างของจิตวิเคราะห์ของสองฟากความคิดนี้คืออะไร อาจตอบได้ว่า ความแตกต่างขั้นพื้นฐานของการวิเคราะห์ “จิต” ของตะวันตกและตะวันออกคือการยอมรับ “กิเลส” ของมนุษย์ที่แตกต่างกัน ในขณะที่ตะวันตกมองและยอมรับว่ามนุษย์มีชีวิตบน “กิเลส” คือความไม่พอ และการตอบสนอง “กิเลส” หรือความต้องการได้มากเท่าไหร่ก็จะทำให้มนุษย์พบความสุขมากเท่านั้น ในขณะที่ตะวันออกมองเห็นลึกไปกว่านั้นว่า การตอบสนอง “กิเลส” ที่ไม่มีที่สิ้นสุดของมนุษย์นั้นจะจบลงด้วย “น้ำตา” อย่างไม่มีทางเลือก มนุษย์จะพบสุขแท้ ด้วยความเข้าใจธรรมชาติข้อนี้ และ “ดับกิเลส” ให้ได้ด้วยการดำรงชีวิตที่รู้จัก “พอ”

อับบราฮัม มาสโลว์ เจ้าพ่อแห่งจิตวิทยาได้เสนอทฤษฏีที่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในซีกโลกตะวันตกว่า ความต้องการของมนุษย์นั้นเป็นเหมือนขั้นบันได ห้าขั้น เมื่อบรรลุขั้นที่หนึ่งแล้วก็ต้องการขั้นต่อไป และเมื่อบรรลุขั้นสุดท้ายคือขั้นที่ ห้า มนุษย์ก็จะพบกับความสุขอย่างที่ต้องการ ความต้องการห้าขั้นนี้ประกอบด้วยขั้นที่หนึ่งคือความต้องการพื้นฐานปัจจัยสี่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ขั้นที่สองคือความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย ทั้งชีวิต ทรัพย์สิน และ การงาน ส่วนขั้นที่สามคือความต้องการความรัก มิตรภาพ เพศสัมพันธ์ที่อบอุ่น ขั้นที่สี่ของความต้องการคือชื่อเสียงเกียรติยศ การได้รับการยอมรับ และประสบความสำเร็จ เป็นที่นับหน้าถือตา ส่วนขั้นสุดท้ายคือความสมหวังในทุกสิ่งที่ปรารถนา มีอิสระสูงสุด แต่ความเข้าใจที่ลึกซึ้งของความต้องการของมนุษย์นี้ก็มิได้ให้คำตอบและเสนอทางออกให้มนุษย์ได้ “พ้นทุกข์” และ “พบสุข” อย่างแท้จริงแต่อย่างใด กลับพบว่าผู้คนในสังคมตะวันตกที่ประสบความสำเร็จ มีสมบัติพัสถารพร้อมทุกอย่าง แต่ก็ยังพบกับความ “ว่างเปล่า” “เหงาหงอย” และ “ทุกข์มหันต์” ภายในจิตใจ อะไรทำให้เป็นเช่นนั้น สถิติของผู้คนที่ “ฆ่าตัวตาย” มีอัตราสูงขึ้นทุกปีในสังคมที่เต็มไปด้วยความเจริญทางวัตถุอย่างเช่นอเมริกา อังกฤษ และญี่ปุ่น มีรายงานว่า การฆ่าตัวตาย ในหมู่นักเรียนระดับประถมศึกษาในประเทศสิงคโปร์ได้เกิดขึ้นแล้ว และครูอาจารย์รวมทั้งนักเรียนมากถึงสิบเปอร์เซ็นต์ที่ต้องพบจิตแพทย์และต้องได้รับการบำบัดทางจิต ความผิดปกติทั้งหมดนี้ก็พบเห็นโดยทั่วไปในสังคมเมืองที่กำลังเดินก้าวตามตะวันตก อย่างเช่นกรุงเทพมหานครเมืองไทยของเรา

ในขณะที่ตะวันตกปล่อยให้ “วัตถุ” มากำหนด “จิต” ผู้นำความคิดตะวันออกอย่าง “พระพุทธเจ้า” กลับยก “จิต” ให้เป็นใหญ่เหนือ “วัตถุ” ทั้งปวง ตามคำสอนพุทธภาษิตที่ว่า “มโนปุบพังคมา ธรรมมา มโนเสฏฐา มโนมยา” ใจเป็นประธานเหนือสิ่งทั้งปวง ใจที่มีพอและรู้จักพอ จะนำความสุขแท้มาให้ นี่เป็น จิตวิทยาแห่งความพอเพียง ที่เป็นหลักยึดในการดำเนินชีวิตของบรรพบุรษของเรา ย้อนกลับไปเมื่อ 50 ปีก่อน สังคมที่มีความพอเพียงด้านจิตใจ แม้จะขาดแคลนด้านวัตถุ กลับไม่มีข่าวคราวการฆ่าตัวตายให้เป็นที่น่าตกอกตกใจ กลับไม่มีการตบตี แข่งขันแย่งชิงให้เป็นข่าวขึ้นหน้าหนึ่งเหมือนทุกวันนี้ “จิตแพทย์” เป็นสิ่งที่คนในสังคมที่มีความพอเพียงไม่รู้จัก จิตที่รู้จักพอของสังคมกลับแข่งกันสั่งสม “ทาน” และ “การให้”

โลกคงไม่ตกอยู่ในอาการ “ผวา” จากภัยสงคราม ภัยธรรมชาติ ภัยพิบัตินานัปการ หากโลกรู้จักหยุดและเรียนรู้ “จิตวิทยาแห่งความพอเพียง” ขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้าที่สอนกันมาถึงสองพันห้าร้อยกว่าปี บรมครูผู้รู้ท่านนี้มิเพียงแต่ชี้ให้เห็นถึงธรรมชาติที่แท้ของจิตเท่านั้น ยังเสนอแนะทางออกที่ทำให้ “จิต” พบ ความสุข ที่แท้ด้วยทางสายกลาง ลองมาติดตามกันในฉบับหน้าถึงมรรควิธีเพื่อให้บรรลุถึงความพอเพียงกัน

แหล่งที่มา: 
คม ชัด ลึก 16 กุมภาพันธ์ 2551