โพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยของ "พ่อ"
ศูนย์เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง

ติดต่อเรา

มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ
เลขที่ ๑๑๔ ซอย บี ๑๒ หมู่บ้านสัมมากร สะพานสูง กรุงเทพฯ ๑๐๒๔๐
สำนักงาน ๐๒-๗๒๙๔๔๕๖ (แผนที่)
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง 038-198643 (แผนที่)


User login

มหัศจรรย์แรงใจเพื่อ “พ่อ”

  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_handler_argument::init() should be compatible with views_handler::init(&$view, $options) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_argument.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter::options_validate() should be compatible with views_handler::options_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter::options_submit() should be compatible with views_handler::options_submit($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter_term_node_tid::value_validate() should be compatible with views_handler_filter::value_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/modules/taxonomy/views_handler_filter_term_node_tid.inc on line 0.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_style_default::options() should be compatible with views_object::options() in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_style_default.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_row::options_validate() should be compatible with views_plugin::options_validate(&$form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_row.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_row::options_submit() should be compatible with views_plugin::options_submit(&$form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_row.inc on line 0.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter_boolean_operator::value_validate() should be compatible with views_handler_filter::value_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter_boolean_operator.inc on line 0.

มหัศจรรย์แรงใจเพื่อ “พ่อ”

     ในวันศุกร์ที่ 28 กันยายน 2550 ณ ห้องประชุมปางสีดา ศูนย์ราชการจังหวัดสระแก้ว ถือเป็นวันหนึ่งที่วงการประวัติศาสตร์การศึกษาไทยต้องจารึกไว้ เพราะชาวบ้าน เกษตรกรทั้งจังหวัดร่วม 500 ชีวิต ได้เอาจิตใจที่เป็นหนึ่งเดียว เดินทางจากบ้านร่วม 100 กิโล ฝ่าสายฝนที่ตกหนักมากตั้งแต่เช้ามืดเพื่อมาแสดง ความรัก ของคนธรรมดาสามัญ ต่อพ่อหลวงที่ยิ่งใหญ่ โดยการมาร่วมสร้างมหาวิชชาลัยถวาย “พ่อ”

     เวลานัดหมาย คือ 8 นาฬิกาเช้า เมื่อถึงเวลานัด คณะผู้นัดประชุมก็ต้องอกสั่นขวัญแขวนเพราะแทบไม่เห็นเงาของชาวบ้านเลย ฝนที่เทลงมาห่าใหญ่ ทำให้ทุกคนเริ่มเตรียมใจว่าการประชุมวันนี้คงไม่เกิดขึ้น  แต่พอ 9 นาฬิกา ตรง ห้องประชุมปางสีดากลับดารดาษไปด้วยผู้คน และด้วยจำนวนมากกว่าที่คิดและเตรียมการไว้ นำมาซึ่งความปิติยินดีของผู้เตรียมงานเป็นอย่างยิ่ง ดั่งจะประกาศย้ำให้ผู้คนทั่วไปรับรู้ว่า “ความรัก” และ “ความดี” ที่ คนจน จะให้กับพ่อหลวงนั้น แม้ฟ้าจะถล่มดินจะทลาย ไม่มีความลำบากใดๆ จะมากีดขวางพวกเขาได้  ทุกคนมาเพื่อที่จะร่วมกันสร้าง โพธิวิชชาลัย มหาวิชชาลัย ถวาย “พ่อ” ด้วยสองมือ และน้ำพักน้ำแรงของตนเอง งานนี้ไม่มี เงิน เป็นอามิสสินจ้าง ทุกคนมาด้วย “ใจ” โดยมีอาคารทรงงาน สมเด็จพระเทพฯ และอาคารเอนกประสงค์ เป็นเป้าหมายของการก่อสร้าง เพื่อให้ทันวันที่ 28 มกราคม 2551 ซึ่งเป็นวันที่สมเด็จพระเทพฯ จะเสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์อาคารด้วยพระองค์เอง ที่สำคัญการก่อสร้างเป็นการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น หลักภูมิทัศน์ท้องถิ่น เทคโนโลยี “บ้านดิน” ของท้องถิ่น เป็นแนวคิดพื้นฐาน

     เกษตรกรทั้ง 500 คนได้ลงชื่ออาสาในงานต่างๆ ที่แบ่งออกเป็นทีมๆ ประกอบด้วยทีมช่าง ช่างดิน ช่างไม้  ทีมภูมิสถาปัตย์ ทีมปลูกต้นไม้ ใครที่มีไม้ก็จะเอาไม้มาช่วย ใครที่มีต้นไม้ก็เตรียมเพาะกล้าต้นไม้ และใครที่มีพันธุ์ไม้แปลกๆ ก็จะบริจาคต้นไม้ยกให้กับมหาวิชชาลัยให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพฤกษศาสตร์ท้องถิ่น ภาคการศึกษาภาคแรกจะเริ่มต้นที่เดือนพฤษภาคมปีหน้า สำหรับนักศึกษารุ่นแรกจะประกอบด้วยนักศึกษา 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นบัณฑิตคืนถิ่น ที่เลือกมาจากนักเรียนระดับมัธยมตามท้องถิ่นต่างๆ เมื่อจบการศึกษาก็พร้อมจะคืนถิ่นไปพัฒนาถิ่นฐานตนเอง กลุ่มที่สองเป็นชาวบ้านจากองค์การบริหารส่วนตำบล ส่วนจังหวัดตามท้องที่ต่างๆ เพื่อยกระดับความรู้ในการพัฒนาท้องถิ่นโดยอาศัยศาสตร์ของ “พ่อ” เป็นแนวในการพัฒนา งานนี้เรามีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒเป็นหัวเรือใหญ่ด้านวิชาการ และหลักสูตร คงพูดได้ว่านี่เป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของการสร้างมหาวิทยาลัยของประเทศไทย หรืออาจพูดได้ว่าของโลก ที่ชาวบ้านในท้องถิ่นร่วมกับภาคีอีก  4 ภาคีลุกขึ้นมา “สร้าง” สถาปัตยกรรม อันจะเป็นที่รวมของ “องค์ความรู้ศาสตร์พระราชา” ด้วยเครื่องไม้เครื่องมือ อุปกรณ์พื้นฐาน  แต่ด้วยจิตใจที่สูงส่ง และมุ่งมั่น

     เป็นไปได้ค่อนข้างมากที่ โพธิวิชชาลัย หากมองในมุมมองของมหาวิทยาลัย หอคอยงาช้าง ก็จะได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างแน่นอน ตั้งแต่รูปแบบ แนวคิด วิธีการ หลักสูตร การเรียนการสอน ไปจนถึงวิธีการรับผู้เรียน และการประเมินผล เพราะนี่เป็นการ ปฏิวัติ รูปแบบการศึกษาที่ประเทศไทยยึดถือมาตั้งแต่เราเริ่มมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นการนำพารูปแบบและแนวคิด การพัฒนาคน พัฒนาประเทศ ออกจากกรอบเดิมอย่างสิ้นเชิง  และดูเหมือนจะท้าทายและถึงขั้นจะพิสูจน์ให้เห็นว่า เมื่อการศึกษาที่เป็นอยู่ถึงทางตัน การศึกษาแบบโพธิวิชชาลัย จะเป็นทางรอดที่เหลืออยู่ของสังคมไทย

แหล่งที่มา: 
คม ชัด ลึก 6 ตุลาคม 2550