โพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยของ "พ่อ"
ศูนย์เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง

ติดต่อเรา

มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ
เลขที่ ๑๑๔ ซอย บี ๑๒ หมู่บ้านสัมมากร สะพานสูง กรุงเทพฯ ๑๐๒๔๐
สำนักงาน ๐๒-๗๒๙๔๔๕๖ (แผนที่)
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง 038-198643 (แผนที่)


User login

ถึงเวลาจัดตั้ง “ปูทะเลย์มหาวิชชาลัย” 3

  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_handler_argument::init() should be compatible with views_handler::init(&$view, $options) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_argument.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter::options_validate() should be compatible with views_handler::options_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter::options_submit() should be compatible with views_handler::options_submit($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter_term_node_tid::value_validate() should be compatible with views_handler_filter::value_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/modules/taxonomy/views_handler_filter_term_node_tid.inc on line 0.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_style_default::options() should be compatible with views_object::options() in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_style_default.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_row::options_validate() should be compatible with views_plugin::options_validate(&$form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_row.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_row::options_submit() should be compatible with views_plugin::options_submit(&$form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_row.inc on line 0.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter_boolean_operator::value_validate() should be compatible with views_handler_filter::value_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter_boolean_operator.inc on line 0.

 

ถึงเวลาจัดตั้ง “ปูทะเลย์มหาวิชชาลัย” 3 

ขอท้าวความไปถึงฉบับวันเสาร์ที่ 24 ก.พ. ที่เราพูดถึงความตั้งใจและความพยายามของ 5 ภาคี ในการระดมสรรพกำลังเพื่อจัดตั้ง “ปูทะเลย์มหาวิชชาลัย” ขึ้นในจังหวัดสระแก้ว ภายใต้กรอบความคิดเศรษฐกิจพอเพียงของพระเจ้าอยู่หัวของพวกเรา และหลักคิด “บัณฑิตรักถิ่น”เรียนรู้จากท้องถิ่น ไม่ละทิ้งท้องถิ่น อยู่ร่วมพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน และ สมดุลย์ เป็นผู้มีคุณสมบัติ “เป็นงานในถิ่นฐาน มีวิญญาณนักพัฒนา บางวิชาเชี่ยวชาญ”ซึ่งได้ขยายความแล้วในฉบับก่อน

ฉบับนี้เรามาพิจารณาว่า กระบวนการเจียรไน ให้ได้ “เพชรแท้”เพชรที่ไม่เปลี่ยนสี ไม่หลงในโมหภูมินั้นทำอย่างไร กระบวนการเจียรไนประกอบด้วยเงื่อนไขต่างๆที่สำคัญ 6 ประการ

     หลักสูตร  เนื้อหาสาระของหลักสูตรต้องสอดคล้องกับเป้าหมายการสร้างทักษะพื้นฐาน (เป็นงานในถิ่นฐาน) ทักษะความชำนาญเฉพาะทาง (บางวิชาเชี่ยวชาญ) และหลักคิด จิตวิญญาณ (นักพัฒนา)  ที่ได้วางเอาไว้ เมื่อพิจารณาถึง การสร้างทักษะพื้นฐานของการ “เป็นงานในถิ่นฐาน” เราจำเป็นต้องกลับมามองให้รอบด้านถึงการ ดำรงชีพที่พอเหมาะพอควรในถิ่นฐานว่าต้องอาศัย “ความรู้ ทักษะ” อะไร คำตอบง่ายสุดและเห็นเป็นรูปธรรมชัดสุด คือ ความรู้ ทักษะ ความสามารถในการสร้างปัจจัยสี่ สร้างอาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องใช้ไม้สอย พลังงาน และ ยารักษาโรค ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการรู้จักพึ่งตนเอง อันเป็นคุณธรรมขั้นพื้นฐานของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไม่เพียงรู้จักสร้าง บัณฑิตรักถิ่น ของ ปูทะเลย์มหาวิชชาลัยยังต้องรู้จัก “รักษา” ให้ปัจจัยสี่ที่สร้างขึ้น ดำรงอยู่อย่างสอดคล้อง และ สมดุลย์ กับ ธรรมชาติ ขอยืมข้อสรุปของ Dr. Gavin Kennyนักวิทยาศาสตร์ด้าน

การเปลี่ยนแปลงของโลกชาวนิวซีแลนด์ที่กล่าวถึงคำจำกัดความของ เศรษฐกิจพอเพียง สั้นๆ แต่ได้ใจความชัดเจนว่า  “a balance between  Ecology and Economy” (ความสมดุลย์ ระหว่าง ระบบนิเวศน์ และ ระบบเศรษฐกิจ ซึ่งหมายถึงวัตถุ การทำมาหากินนั่นเอง)  เราเคยตั้งคำถามกันไหมว่า มนุษย์ปัจจุบันพัฒนาความสามารถในการสร้างปัจจัยสี่ให้ก้าวหน้าทันสมัย  แต่มนุษย์กำลังเข้าตาจน ไม่สามารถ “ดำรงรักษา” ปัจจัยสี่ที่สร้างไว้ได้อย่างถาวร ยั่งยืน  ปัญหาอยู่ตรงไหน  คำตอบหาได้จากพระราชนิพนธ์ “พระมหาชนก”

           “นับแต่อุปราชจนถึงคนรักษาช้างคนรักษาม้า และนับแต่คนรักษาม้าจนถึงอุปราชและโดยเฉพาะเหล่าอมาตย์ ล้วนจาริกในโมหภูมิทั้งนั้น พวกนี้ขาดทั้งความรู้วิชาการ ทั้งความรู้ทั่วไป คือความสำนึกธรรมดา พวกนี้ไม่รู้แม้แต่ประโยชน์ส่วนตนพวกนี้ชอบผลมะม่วงแต่ก็ทำลายต้นมะม่วง”

การขาดทั้งความรู้วิชาการ ทั้งความรู้ทั่วไป คือ ความสำนึกธรรมดา ของมนุษย์ที่หลงอยู่ในโมหภูมิ ไม่เข้าใจแม้กระทั่งว่า จุดกำเนิดของมนุษย์ คือ ธรรมชาติ การดำรงอยู่ของมนุษย์ต้องอาศัยธรรมชาติ การสร้างปัจจัยสี่โดยไม่สอดคล้องกับธรรมชาติ จึงเป็นเหตุให้มนุษย์พาตนเองเข้าสู่ “วิกฤติ” อย่างยากที่จะแก้ไข

ด้วยเหตุนี้ นอกจากการสร้างความรู้วิชาการทักษะ “เป็นงาน” แล้ว เนื้อหาหลักสูตรของ ปูทะเลย์มหาวิชชาลัย ที่เป็นสาระสำคัญที่สุดที่ขาดไม่ได้คือ “การสร้างความรู้ทั่วไป คือสามัญสำนึกธรรมดา” หรือจิตวิญญาณของความรู้ดี รู้ชอบ รู้หลักเหตุ และผล รู้สร้าง รู้รักษา และรู้พัฒนา ว่ากันไปแล้ว

     ถ้าเปรียบเสมือนต้นไม้ สามัญสำนึก คือ “รากที่เป็นตัวกำหนด ความมั่นคงแข็งแรงของลำต้นกิ่ง ยอด และใบ  ซึ่งจะขอไปลงรายละเอียดในฉบับหน้า

แหล่งที่มา: 
คม ชัด ลึก 10 มีนาคม 2550