โพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยของ "พ่อ"
ศูนย์เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง

ติดต่อเรา

มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ
เลขที่ ๑๑๔ ซอย บี ๑๒ หมู่บ้านสัมมากร สะพานสูง กรุงเทพฯ ๑๐๒๔๐
สำนักงาน ๐๒-๗๒๙๔๔๕๖ (แผนที่)
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง 038-198643 (แผนที่)


User login

มาปลูกข้าวต้านภัยแล้งกันเถอะ

  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_handler_argument::init() should be compatible with views_handler::init(&$view, $options) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_argument.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter::options_validate() should be compatible with views_handler::options_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter::options_submit() should be compatible with views_handler::options_submit($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter_term_node_tid::value_validate() should be compatible with views_handler_filter::value_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/modules/taxonomy/views_handler_filter_term_node_tid.inc on line 0.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_style_default::options() should be compatible with views_object::options() in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_style_default.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_row::options_validate() should be compatible with views_plugin::options_validate(&$form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_row.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_row::options_submit() should be compatible with views_plugin::options_submit(&$form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_row.inc on line 0.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter_boolean_operator::value_validate() should be compatible with views_handler_filter::value_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter_boolean_operator.inc on line 0.

มาปลูกข้าวต้านภัยแล้งกันเถอะ

          ใครที่เคยเดินลัดเลาะไปตามท้องทุ่งในชนบทอาจจะเคยชินกับภาพที่ข้าวขึ้นข้างกองฟางโดยไม่มีใครเคยให้ปุ๋ยให้น้ำเลย แต่ข้าวกลับงอกงามแตกกอใหญ่โตแข็งแรง  นี่คือสิ่งที่ธรรมชาติได้สรรสร้างให้ หากเราเพียงเข้าใจและรู้จักเลียนแบบธรรมชาติเราก็จะได้ข้าวที่อุดมสมบูรณ์โดยไม่ต้องลงทุนลงแรงมากนัก และหากเราไม่ละโมบโลภมาก ตาโตต้องการแต่เงิน เราก็จะมีข้าวสะอาดปราศจากสารพิษกินอย่างเพียงพอ และไม่เบียดเบียนให้โลกใบนี้ต้องเดือดร้อนดังเช่นเหมือนที่เป็นอยู่ทุกวันนี้  แต่ก่อนอื่นเกษตรกรต้องมีความเชื่อที่ถูกต้อง และมีความรู้ ว่าข้าวเป็นหญ้าชนิดหนึ่งที่แข็งแรง สามารถขึ้นในที่ที่ไม่มีน้ำขังได้ แค่มีความชื้นเล็กน้อยก็สามารถแตกกอ ออกรวงให้ผลผลิตได้แล้ว ที่สำคัญเชื่อในหลักที่ “พ่อ” สอนในเรื่องการใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่ออยู่ เพื่อกิน เพื่อใช้ ทำบุญทำทาน เก็บรักษาไว้ ที่เหลือจึงขาย ในการป้องกันภัยพิบัติที่กำลังคืบคลานเข้ามา เกษตรกรจะต้องไม่หลงตกเป็นเหยื่อใช้ที่ดินปลูกพืชเพื่อการค้า หรือ ปลูกพืชเชิงเดี่ยวอย่างเดียว ควรจัดสรรพื้นที่ออกเป็น  3 ส่วน คือ ทำนา ส่วนหนึ่ง ทำป่า 3 อย่าง ในป่ามีแหล่งน้ำ และมีพืชพลังงาน รวมทั้งรู้จักพึ่งตนเองโดยการทำปุ๋ยชีวภาพใช้เอง ใช้หลักเลี้ยงดินให้ดินเลี้ยงพืช ในภาวะที่อากาศวิกฤต ภัยแล้งขาดน้ำ อาจารย์ยักษ์อยากขอย้ำว่า การทำนาระบบกสิกรรมธรรมชาติคือทางออกที่สวยงามทางหนึ่งของเกษตรกร ซึ่งเป็นการทำนาที่ง่ายใช้ทุนน้อย และสะดวกสบายแบบไม่น่าเชื่อ

          ระบบทำนาแบบกสิกรรมธรรมชาติแท้ๆ เริ่มจากการไม่ต้องไถ ให้หว่านข้าวลงในแปลงนาเลย และเอาฟางปูพรมลงในท้องนา โรยด้วยปุ๋ยอินทรีย์ผสมน้ำ ฉีดรดลงไปในแปลงนา ปล่อยให้ข้าวขึ้นเองตามธรรมชาติ มีหญ้าขึ้นก็ให้ปล่อย เพราะหญ้าก็จะตายภายใน 40 กว่าวัน ซึ่งก็จะกลายเป็นอาหารให้ดิน เวลาที่ข้าวเป็นเด็ก (อายุ 45 วัน) หญ้าจะคลุมต้นข้าว หลัง 45 วันไปแล้ว ข้าวจะเริ่มแตกเนื้อสาว ซึ่งจะแตกกอ สลัดใบเหลืองทับลงไปที่ต้นหญ้า 70-90 เมื่อต้นข้าวใกล้ตั้งท้อง ต้นหญ้าก็จะตายหมด เน่าย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยต่อไป เราเพียงแต่ดูแลไม่ให้สัตว์ลงไปทำลายแปลงนาเท่านั้น หรือถ้าทนไม่ได้ ก็ใช้วิธีปล่อยควายลงไปกินหญ้า ซึ่งควายก็อาจจะกินทั้งหญ้าและข้าว แต่ข้าวจะแทงยอดขึ้นมาใหม่เร็วกว่าต้นหญ้าเพราะมีระบบรากที่สมบูรณ์  แต่เงื่อนไขที่สำคัญคือต้องไม่ใส่ปุ๋ยเคมีเลย  การทำนำระบบนี้จะใช้น้ำน้อยมาก ไม่จำเป็นต้องสูบน้ำลงไปขัง เพียงให้น้ำพอให้ดินมีความชื้นเป็นใช้ได้  ในด้านผลผลิต การปลูกข้าววิธีนี้ก็มีผลผลตีสูงถึง 600-1100 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งให้ผลผลิตเท่ากับการทำนาแบบที่นิยมกันทั่วไป หรืออาจได้ผลมากกว่า  ตัวอย่างการปลูกข้าวแบบนี้ ดูได้ที่ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง และตามศูนย์เครือข่ายของมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ

          อันที่จริงการทำนาระบบนี้ไม่ใช่ของใหม่ ปราชญ์ชาวบ้านอย่างพ่อ คำเดื่อง ภาษี และเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านทั่วประเทศ ก็ได้ทำให้ดู และประสบความสำเร็จมาแล้ว และการทำนาระบบนี้ก็เป็นภูมิความรู้โบราณของบรรพบุรุษไทยมาแต่เก่าก่อน แต่ชาวนาในยุคนี้ที่ทำแล้วไม่ประสบความสำเร็จเพราะไม่เชื่อในหลักกสิกรรมธรรมชาติ หากคิดในแง่ต้นทุนก็ใช้ต้นทุนน้อยมาก คิดง่ายๆ ใช้เมล็ดพันธุ์ 20 กิโลต่อไร่ หากต้องลงทุนก็เพียง 200 บาทต่อไร่ (กิโลละ 10 บาท) ฟาง 200 บาท ปุ๋ย 200 บาท ค่าแรงก็ 100 บาท  แรง 1 คน ทั้งหว่านและห่มฟาง สบายๆ ก็ได้ถึง 5 ไร่ต่อวัน  การให้น้ำในหน้าแล้ง เฉลี่ยครั้งละ 20 บาท 10 ครั้ง ก็ 200 รวมเบ็ดเสร็จต้นทุนก็ไม่เกิน 1000 บาทต่อไร่ เปรียบเทียบกับการทำนาทั่วไปที่ต้นทุนสูงถึง ห้าหกพันบาทต่อไร่ การทำนาระบบกสิกรรมธรรมชาติจึงใช้ต้นทุนที่ต่ำมาก

          แต่ที่สำคัญ ในเนื้อที่เกษตรหนึ่งๆ เกษตรกรไม่ควรปลูกข้าวอย่างเดียว ควรกันส่วนพื้นที่สำหรับป่า 3 อย่าง ขุดแหล่งน้ำในป่า ป่า 3 อย่างควรมีพืชเพื่อกิน เพื่อใช้ เพื่อสร้างที่อยู่อาศัย พืชที่ปลูกก็ให้ดูตามความเหมาะสมของพื้นที่ หากทำได้เช่นนี้เกษตรกรก็ไม่ต้องกังวลกับภาวะข้าวยากหมากแพง และสามารถเผชิญกับภัยพิบัติอย่างมั่นคงปลอดภัย รวมทั้งได้ทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยโลกใบนี้ให้สงบร่มเย็นด้วยการปลูกต้นไม้อีกด้วย

          ถึงเวลาที่เกษตรกรต้องหาความรู้อย่างจริงจัง อย่าหลงเชื่อแต่พ่อค้าปุ๋ย พ่อค้ายาที่หลอกให้เชื่อว่า ไม่มีปุ๋ย ไม่มียา ก็ไม่มีข้าว ข้าวอยู่คู่กับสังคมไทยมาแต่ยุคโบร่ำโบราณเป็นพันๆ ปี ก็งอกงามเจริญเติบโตโดยไม่มีปุ๋ย ไม่มียา แถมในบางพื้นที่ที่ไม่มีแหล่งน้ำ ข้าวก็สามารถให้ผลผลิตงอกงามได้โดยไม่ต้องใช้น้ำมาก เกษตรกรต้องเชื่อมั่นในตนเอง เชื่อมั่นในองค์ความรู้ของบรรพบุรุษที่อาศัยหลักธรรมชาติในการทำกสิกรรม ซึ่งนอกจากจะให้ผลผลิตที่ปลอดภัย ยังทำให้ดินยังคงความอุดมสมบูรณ์ ทำหน้าที่เป็นแม่ธรณีเลี้ยงดูเกษตรกรต่อไปตราบนานเท่านาน

แหล่งที่มา: 
คม ชัด ลึก 12 เมษายน 2551