โพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยของ "พ่อ"
ศูนย์เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง

ติดต่อเรา

มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ
เลขที่ ๑๑๔ ซอย บี ๑๒ หมู่บ้านสัมมากร สะพานสูง กรุงเทพฯ ๑๐๒๔๐
สำนักงาน ๐๒-๗๒๙๔๔๕๖ (แผนที่)
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง 038-198643 (แผนที่)


User login

ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนเครือข่าย เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 2

  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_handler_argument::init() should be compatible with views_handler::init(&$view, $options) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_argument.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter::options_validate() should be compatible with views_handler::options_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter::options_submit() should be compatible with views_handler::options_submit($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter_term_node_tid::value_validate() should be compatible with views_handler_filter::value_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/modules/taxonomy/views_handler_filter_term_node_tid.inc on line 0.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_style_default::options() should be compatible with views_object::options() in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_style_default.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_row::options_validate() should be compatible with views_plugin::options_validate(&$form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_row.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_row::options_submit() should be compatible with views_plugin::options_submit(&$form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_row.inc on line 0.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter_boolean_operator::value_validate() should be compatible with views_handler_filter::value_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter_boolean_operator.inc on line 0.

ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนเครือข่าย เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 2

     ในตอนที่แล้วเราพูดถึงหลักการกำหนดยุทธศาสตร์ง่ายๆ แต่ลึกซึ้งโดยให้นึกถึงการกลัดกระดุม หากกลัดกระดุมเม็ดแรกผิด เม็ดต่อไปก็จะผิดและผิดไปเรื่อยๆ คำถามที่ต้องถามว่า ทำไมเราต้องกำหนดยุทธศาสตร์ และยุทธศาสตร์เพื่ออะไร เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ดูเหมือนโลกทั้งโลก กำลังเรียกหาคำว่า “ยั่งยืน” มนุษย์มักจะมองหาในสิ่งที่ตนเองขาดเสมอ มนุษย์กำลังขาดความยั่งยืนกระนั้นหรือ เด็กอนุบาลก็คงตอบคำถามนี้ได้อย่างไม่ต้องใช้เวลาคิดว่า มนุษย์ยุคดิจิตอลหาความยั่งยืนไม่ได้อีกแล้ว ถ้าไม่อย่างนั้นเราคงไม่ต้องมากังวล เรื่องภาวะโลกร้อน อาการน้ำท่วม ฝนแล้ง แผ่นดินถล่ม ที่เวียนวนเป็นวัฎจักรแห่งความชั่วร้าย ถ้าเปรียบเสมือนร่างกายก็เป็นอาการไข้ของร่างกายที่ขาดสมดุล จึงขาดความยั่งยืนเพราะไม่สามารถรักษาสภาวะที่เป็นปกติได้

     ในแง่ของทฤษฎี นักศึกษาทั้ง 28 คน จาก มศว.ได้เรียนรู้ว่า หากแบ่งการพัฒนาเศรษฐกิจของโลกที่ผ่านมาคงแบ่งได้ 2 ขั้ว เรียกให้เข้าใจง่ายๆ ว่า ขั้วหนึ่งคือ เศรษฐกิจหลังเขา อีกขั้วหนึ่งคือ เศรษฐกิจตาโต ในขั้วเศรษฐกิจหลังเขา เช่นประเทศของเจ้าชายจิ๊กมี่ ใช้หลัก ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก ในขั้วของเศรษฐกิจตาโต ซึ่งเป็นหลักที่ประเทศทุนนิยมส่วนใหญ่ใช้อยู่ มีเงินตราเป็นกลจักรสำคัญ ซื้อทุกอย่างที่กิน ทำทุกอย่างให้เป็นการค้า เพื่อให้ได้เงินตรา เห็นเงินแล้วอยากได้ ตาโต ทำทุกอย่างเพื่อแลกเงิน หากใช้หลัก “รู้เรา รู้เขา รู้สถานการณ์ รู้ฟ้าดิน” ของประเทศไทยมากำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ยั่งยืน ไทยไม่อาจยั่งยืนได้ทั้ง 2 ขั้ว นี่เป็นสาเหตุว่าทำไมองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ของไทยต้องทรงประกาศทางเลือกการพัฒนาที่เดินสายกลาง โดยประกาศทฤษฎีที่เป็นของพระองค์เอง นั่นคือปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อันเป็นทางที่ไม่สุดโต่งไปทางใดทางหนึ่ง เราใหญ่กว่าประเทศภูฏานของเจ้าชายจิ๊กมี่แต่ก็เล็กกว่าอเมริกา และมีฟ้าดินที่แตกต่างจากยุโรป มีประวัติศาตร์ที่ไม่เหมือนอังกฤษ เราต้องรู้จักตัดรองเท้าให้เหมาะสมกับเท้าของเราเอง ไม่ใช่ใส่รองเท้าตามคนอื่น

     นี่เป็นที่มาของหลักเศรษฐกิจพอเพียง และความยิ่งใหญ่ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไม่เพียงแต่ให้คำตอบ การพัฒนาที่ยั่งยืนของไทย เท่านั้น ปรัชญานี้จะเป็นคำตอบการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลกทั้งโลก เพราะปรัชญานี้คำนึงถึงความสัมพันธ์ที่ลงตัว สมดุลระหว่าง กิจกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์ (Economy) และธรรมชาติ ระบบนิเวศ (Ecology) เศรษฐกิจตาโตที่ครอบครองพื้นที่ค่อนโลกพิสูจน์ให้โลกเห็นแล้วว่า กำลังทำลายธรรมชาติ อันเป็นบ้านที่ให้ที่อยู่ ที่กิน ที่นอนแก่มนุษย์ หากมนุษย์ยังคงดำเนินกิจกรรมดั่งเช่นทุกวันนี้แบบ “ขุด ถอน โค่น” ใช้ทรัพยากรบำรุงบำเรอตนอย่างไม่มีขีดจำกัด ผลของความไม่สมดุลก็จะทำให้ “โลก” ไม่สามารถดำรงอยู่ในภาวะปกติได้ และมนุษย์ก็คงถึงจุดจบในไม่ช้า เศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ยั่งยืน เพราะคำนึงถึง ความพอดี พอประมาณ มีเหตุมีผล และที่สำคัญ มีภูมิคุ้มกัน โดยมีความรู้ และคุณธรรมเป็นเสาเอก โดยเฉพาะคุณธรรมแห่งการพึ่งตนเอง และทาน

     ทฤษฎีก็คือทฤษฎี เป็นหลักคิด หากไม่แปรให้เกิดผลในทางปฏิบัติก็คงไร้ประโยชน์ การขับเคลื่อนเครือข่ายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนบนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจึงก่อตัวขึ้น เพื่อนำพาให้ประเทศรอดพ้นจากภัยพิบัติ อันเป็นผลมาจากยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ผิด และกำลังพาประเทศเดินหลงทาง พระองค์ท่านตรัสเสมอว่า “ตัวอย่างของความสำเร็จนี่แหละ มันยิ่งกว่าคำสอนเป็นร้อยเป็นพันคำ” ขบวนการเศรษฐกิจพอเพียงจึงเริ่มต้นการสอนโดยการทำให้ดู สร้างตัวอย่างความสำเร็จเป็นร้อยเป็นพัน แทนเอกสารบนตำรา และด้วยการการดึงคุณธรรมแห่งการพึ่งตนเอง วิถีไทยในอดีตให้กลับมาอยู่เคียงข้างคนไทยอีกครั้ง ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงที่เป็นต้นแบบจึงมุ่งสร้างองค์ความรู้ สอนทักษะการพึ่งตนเอง พร้อมๆ ไปกับความรู้ด้านการฟื้นฟูฐานทรัพยากรที่มีค่าของประเทศ ดิน น้ำ ป่า ให้กลับมาอุดมสมบูรณ์เหมือนครั้งในอดีต เรามาติดตามกันต่อในฉบับหน้าว่า การเรียนรู้ศาสตร์การพัฒนาที่ยั่งยืนเชื่อมโยงอย่างไรกับการศึกษา แล้วนักศึกษา 28 คนจาก มศว.นำเอาหลักที่ได้เรียนมาไปปรับใช้อย่างไร

แหล่งที่มา: 
คม ชัด ลึก 5 มกราคม 2551