9 ฐานเรียนรู้
ความรู้ที่น่าสนใจ (Documents on web)
ติดต่อเรา
มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ
เลขที่ ๑๑๔ ซอย บี ๑๒ หมู่บ้านสัมมากร สะพานสูง กรุงเทพฯ ๑๐๒๔๐
สำนักงาน ๐๒-๗๒๙๔๔๕๖ (แผนที่)
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง 038-198643 (แผนที่)
User login
ลิงค์เครือข่าย
ภัยพิบัติเมืองไทย
ภัยพิบัติเมืองไทย
ข่าวคราวภัยพิบัติที่เกิดขึ้นกับโลกและเมืองไทยได้กลายเป็นข่าวประจำวัน และเป็นข่าวที่คนไทยเริ่มคุ้นเคย เริ่มชิน และเริ่มยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตในยุคโลกาภิวัฒน์ไปเสียแล้ว ข่าวน้ำท่วม ภัยแล้ง โคลนถล่ม แผ่นดินไหว ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตคนไทยสมัยใหม่ คนอยู่ตึกสูงที่เคยต้องซ้อมหนีไฟเพียงอย่างเดียว เดี๋ยวนี้ก็พ่วงเรื่องต้องซ้อมแผ่นดินไหวเพิ่มขึ้น ผู้คนที่ไม่เคยเชื่อว่าคำทำนายที่ว่ากรุงเทพฯ จะกลายเป็นเมืองบาดาลในอนาคต ตอนนี้ก็เริ่มเชื่อกันแล้วว่ามีโอกาสเป็นจริง
ภาพข่าวที่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงออกมาเตือนเรื่องน้ำท่วมกรุงเทพฯ และทรงกำชับแนวทางแก้ปัญหาให้กับผู้ว่ากรุงเทพมหานครไม่ว่าจะเป็นการเปิดปิดประตูระบายน้ำตามการขึ้นลงของระดับน้ำทะเล แก้มลิง การสร้าง flood way ทำให้อดนึกไม่ได้ว่าสิ่งที่พระองค์ท่านได้ทรงเตือน และตรัสถึงแนวทางแก้ปัญหานั้นมิใช่เพิ่งทรงตรัสวันนี้ แต่เป็นคำพูดเดียวกันที่ยาวนานกว่า 20 ปี ทุกคนเริ่มจะสดับตรับฟังอย่างตั้งใจ พินิจพิเคราะห์ ก็ยาม “เห็นโลงศพ” อยู่ตรงหน้า ภัยพิบัติร้ายแรงอีก 4 อย่างที่ได้ทรงเตือนให้คนไทยระวัง คือ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ โรคระบาด ข้าวยากหมากแพง ภัยขัดแย้งจนเป็นสงคราม
ปัจจุบันคนไทยได้พบเห็นภัยพิบัติทั้ง 4 อย่างพร้อมๆ กัน โดยเฉพาะภัยธรรมชาติที่ได้เห็นวัฏจักรแห่งความชั่วร้ายสลับกันไปสลับกันมาระหว่าง น้ำท่วม ภัยแล้ง ดินถล่ม และยังจะเพิ่ม หมอกควันพิษให้กลายเป็นอาหารจานหลักสำหรับเมนูชีวิตประจำวันของคนไทยยุคศตวรรษที่ 21 นี้ไปเรียบร้อยแล้วเมื่อหน่วยงานนักวิทยาศาสตร์ด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ หรือที่เราเรียกกันสั้นๆ ว่า IPCC (Intergovernmental Panel on Climate Change) ได้กล่าวถึงผลกระทบต่างๆ ที่มนุษย์จะได้รับจากภาวะโลกร้อน มีคำ 2 คำ ที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง mitigation (การลดความรุนแรง) และ adaptation (การปรับตัว) นักวิทยาศาสตร์แทบไม่ได้เอ่ยถึง การหยุดภาวะโลกร้อนเลย เพราะดูเหมือนจะยอมรับข้อเท็จจริงว่า กิจกรรมของมนุษย์ที่เป็นอยู่ทุกวันนี้คงไม่สามารถจะหยุดภาวะโลกร้อนได้ สิ่งที่มนุษย์จะสามารถทำได้วันนี้คือ การลดระดับความรุนแรงของผลกระทบ และ ปรับตัวให้เข้ากับสภาพธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงไป IPCCได้ออกมาเตือนให้รัฐบาล และผู้ที่มีหน้าที่ในการวางนโยบายต่างๆ ให้เตรียมแผนในการรับมือกับผลกระทบต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะประเทศยากจน และประเทศในโลกที่สามจะเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดเพราะระบบเตือนภัย ระบบการป้องกันภัย ระบบการจัดการกับภาวะวิกฤติยังไม่ดีพอ
มาถึงตรงนี้ก็เชื่อมั่นว่าประเทศไทยจะต้องเข้าไปอยู่ใน “โผ” ของกลุ่มประเทศที่เสี่ยงภัยสูงแน่นอน อาจารย์ยักษ์ขอ “ฟันธง” เพราะถ้าดูวิสัยทัศน์ของผู้นำ และเหล่าบรรดาอำมาตย์ผู้ที่มีหน้าที่แก้ปัญหาบ้านเมืองแล้ว ก็เห็นว่า “ล้วนจาริกอยู่ในโมหภูมิ” ทั้งนั้น บรรดาเหล่านักวิชาการที่มีดีกรีเป็นถึงดอกเตอร์จากเมืองนอกทั้งหลายก็ยังยึดติดกับวิธีคิดที่เป็น “ฝรั่ง” ยังไม่เห็นว่าจะเป็น “ที่พึ่ง” ของชาวบ้านได้อย่างไร ไม่รู้จะเป็นการ เรียกร้อง กันมากเกินไปหรือเปล่าที่ เหล่าปัญญาชนคนช่างคิดทั้งหลาย ถึงเวลาแล้วที่จะลงมาจากหอคอยงาช้างมาสัมผัสชีวิตที่เป็นจริงของชาวบ้าน ช่วยกันเตรียมการรับมือกับภัยพิบัติต่าง ๆ โดยเฉพาะการเตรียมปัจจัยสี่ที่จำเป็นในยามวิกฤตเช่น อาหาร ยา ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม พลังงาน ถึงเวลาที่ต้องกลับมาพึ่งตนเอง พึ่งภูมิปัญญาของตนเอง บนฐานทรัพยากรของตนเอง ลองนึกภาพง่าย ๆ ว่า ในยามที่น้ำท่วม ฝนแล้ง โรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารจะเป็นปัญหามากที่สุด เราจะแก้ปัญหาอย่างไร หากคนไทยค่อนประเทศเป็นอหิวาตกโรคสายพันธุ์ใหม่ นักวิชาการด้านเภสัชกรรมคิดออกไหมว่าจะทำอย่างไรจะเตรียมยาอะไร แต่ที่แน่ๆ ตอนนี้อาจารย์ยักษ์และลูกศิษย์ลูกหาได้เตรียม ถ่าน (activated carbon) เตรียมปลูกต้นกฤษณาที่จะเอามาทำยาแก้ท้องเสียไว้เป็นแสนๆ ต้นไว้เรียบร้อยแล้ว แล้วก็คอยดูกันว่า กฤษณากลั่น ถ่านคาร์บอน จากภูมิปัญญาไทย กับ โลโมติ้ว อันไหนจะช่วยชีวิตคนไทยได้มากกว่ากัน