โพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยของ "พ่อ"
ศูนย์เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง

ติดต่อเรา

มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ
เลขที่ ๑๑๔ ซอย บี ๑๒ หมู่บ้านสัมมากร สะพานสูง กรุงเทพฯ ๑๐๒๔๐
สำนักงาน ๐๒-๗๒๙๔๔๕๖ (แผนที่)
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง 038-198643 (แผนที่)


User login

ฟื้นฟูปฐพีไทยด้วยศาสตร์พระราชา - คนอยู่ป่ายัง

  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_handler_argument::init() should be compatible with views_handler::init(&$view, $options) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_argument.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter::options_validate() should be compatible with views_handler::options_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter::options_submit() should be compatible with views_handler::options_submit($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter_term_node_tid::value_validate() should be compatible with views_handler_filter::value_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/modules/taxonomy/views_handler_filter_term_node_tid.inc on line 0.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_style_default::options() should be compatible with views_object::options() in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_style_default.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_row::options_validate() should be compatible with views_plugin::options_validate(&$form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_row.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_row::options_submit() should be compatible with views_plugin::options_submit(&$form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_row.inc on line 0.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter_boolean_operator::value_validate() should be compatible with views_handler_filter::value_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter_boolean_operator.inc on line 0.

ฟื้นฟูปฐพีไทยด้วยศาสตร์พระราชา - คนอยู่ป่ายัง

     การฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ ดิน น้ำ ป่าชายเลน ได้กลายเป็นภารกิจเร่งด่วนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แต่แนวคิด และวิธีการแก้ปัญหา ยังคงไม่แตกต่างจากแนวคิดเดิม ที่ยังอิงกับ งบประมาณ เครื่องไม้เครื่องมือ แต่แทบไม่ให้ความสำคัญในการพัฒนา “คน” เลย อันที่จริงพระราชดำรัสของทั้งสองพระองค์เกี่ยวกับการฟื้นฟูดูแลป่าไม้นั้นชัดเจนอยู่แล้ว และมีตัวอย่างของความสำเร็จให้เห็น เพียงแต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและมีหน้าที่โดยตรงจะสนใจเหลียวดูหรือไม่  หากจะลงให้ถึงรากของปัญหาก็จะพบว่า “คน” นั้นคือคำตอบของการรักษาป่าให้ยั่งยืน การเปลี่ยนคนจากผู้ทำลายมาเป็นผู้รักษา จุดเริ่มต้นคือการเปลี่ยนวิธีคิดของเจ้าหน้าที่รัฐที่มุ่งแต่การ ปราบปราม มาเป็นความร่วมมือ กับชุมชนคนอยู่ป่า

     ตัวอย่างความสำเร็จที่อยากจะนำมากล่าวในที่นี้คือ หน่วยอนุรักษ์และจัดการป่าต้นน้ำพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร โดยหัวหน้าหน่วยคือคุณพงศา ชูแนม เจ้าของรางวัลลูกโลกสีเขียว ที่ต้องดูแลรับผิดชอบผืนป่าต้นน้ำขนาด 4 แสนไร่  หน่วยอนุรักษ์และจัดการป่าต้นน้ำพะโต๊ะ ครั้งหนึ่งในอดีต มีหน้าที่ไม่แตกต่างจากหน่วยงานอนุรักษ์ป่าไม้อื่นๆ คือมีหน้าที่ปราบปรามการบุกรุกทำลายป่า ทั้งจากชาวบ้าน และจากนายทุน การปราบปราบจริงจังมากขึ้นตั้งแต่ปี 2533 แต่ผลปรากฏว่า ยิ่งปราบ การบุกรุกยิ่งมาก การปราบปรามประสบความล้มเหลวโดยสิ้นเชิง  ป่าอยู่ในสภาพที่เสื่อมโทรม แนวคิด คนอยู่ป่ายัง จึงเริ่มต้นขึ้น เปลี่ยนจากการปราบปรามมาเป็น ความร่วมมือ รณรงค์ ให้การศึกษา ประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับชาวบ้านถึงความสัมพันธ์ระหว่างระบบนิเวศ และป่าที่เป็นที่ทำมาหากินของชาวบ้าน ชี้ให้เห็นถึงหายนะและผลกระทบที่ชาวบ้านจะได้รับ หากระบบนิเวศถูกทำลาย ดึงชาวบ้านเข้าร่วมกิจกรรมปลูกป่า และอนุรักษ์ป่า นำพันธุ์ไม้พื้นเมือง และพันธุ์ไม้โตเร็วมาปลูก เช่น เหรียง ประดู่ สะตอ กระถินเทพา ซึ่งจะให้ผลประโยชน์กับชาวบ้านในระยะยาว พื้นที่ปลูกป่าจากเล็กๆ ต่อมาขยายเป็น 6000 ไร่ในปี 2536 พืชที่ปลูกก็แตกต่างหลากหลายมากขึ้นทั้ง ทุเรียนป่า พะยอม ตะเคียนหอม ตะเคียนราก ไข่เขียว ยาง ทุ้งฟ้า ชงโค

     ความร่วมมือของชาวบ้านเพิ่มขึ้น และขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จากความระแวงมาเป็นความไว้เนื้อเชื่อใจ  และเริ่มเห็นผลจากความเหน็ดเหนื่อยร่วมกันมา ต้นไม้ที่ปลูกใน 4-5 ปี แรกเริ่มหนาทึบ ป่าที่เคยเสื่อมโทรมเริ่มกลับมาอุดมสมบูรณ์ สัตว์ป่านานาชนิด นกนานาพันธุ์ เริ่มกลับมาให้เห็น  พืชสมุนไพร ชนิดต่างๆ เห็ด และอาหารจากป่า เริ่มกลับมาให้ชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์ น้ำท่าจากป่าต้นน้ำที่อุดมสมบูรณ์ขึ้น ความร่วมมือร่วมใจระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐ และชุมชนชาวบ้านคนอยู่ป่า ต่อมาได้พัฒนามาเป็นชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติสิ่งแวดล้อมพะโต๊ะ ร่วมประสานกันในการต่อสู้กับอิทธิพลของนายทุนบุกรุกป่า ทำแนวเขตป่าต้นน้ำของหมู่บ้านซึ่งครอบคลุมเนื้อที่ถึง 8,500 ไร่  มีชาวบ้านเป็นอาสาสมัครลาดตระเวนดูแลรักษาป่าของหมู่บ้านภายใต้ชื่อ “ชุดลาดตระเวนไพร” ที่มีหน้าที่ลาดตระเวนรอบหมู่บ้านทั้งทางบกและทางเรือ เมื่อพบผู้ตัดไม้ทำลายป่าก็จะแจ้งให้หน่วยอนุรักษ์เข้าจัดการ องค์ประกอบหลักที่ทำให้แนวคิด คนอยู่ป่ายัง ที่พะโต๊ะประสบความสำเร็จก็คือ ความเชื่อมั่นในหลักคิด วนศาสตร์ชุมชน ที่มองเห็นชุมชนเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาทรัพยากร และทำให้ชุมชนเห็นคุณค่าของสรรพสิ่งที่อยู่รอบๆ ตัวเอง มองเห็นการเกื้อกูลและพึ่งพาที่ชุมชนมีต่อป่า และประโยชน์อเนกอนันต์ที่ป่าจะให้กับชุมชน นำแนวคิดแปลงลงสู่การปฏิบัติโดยผ่านกิจกรรมต่างๆ การอบรม การทำงานร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐและชาวบ้าน อาทิ กิจกรรมปลูกป่า สร้างฝาย แปลงสาธิตการเกษตรเชิงอนุรักษ์ แปลงเพาะชำประจำหมู่บ้าน สร้างรายได้เสริมให้กับชุมชนผ่านกิจกรรมท่องเที่ยงเชิงอนุรักษ์ ความสำเร็จที่เกิดขึ้นจาก 1 หมู่บ้าน ขยายต่อไปอีก 1 หมู่บ้านไปเรื่อยๆ จากเยาวชนรุ่นต่อรุ่น เพิ่มพูนจิตสำนึกรัก ป่า ที่เป็น บ้าน ของตนเอง

     ทั้งหมดคือความสำเร็จที่พะโต๊ะใช้ในการดูแลรักษาป่าให้อยู่อย่างอย่างยั่งยืน ซึ่งอยู่บนฐานคิดที่แตกต่างจากภาครัฐทั่วไป ถ้าวิเคราะห์ให้ดี ปัญหาของรัฐในการดูแลป่าของประเทศ มิใช่ขาด งบประมาณ แต่ขาด “คน” ที่มีจิตสำนึก รักป่า ยิ่งชีวิต เช่น คุณพงศา ชูแนม ต่างหาก  (รายละเอียดเพิ่มเติมหาอ่านได้จาก “คนอยู่ป่ายัง” ที่พะโต๊ะ นวัตกรรมสร้างสุขภาพจากชุมชนโดยชวน เพชรแก้ว)

 

แหล่งที่มา: 
คม ชัด ลึก 1 กันยายน 2550