โพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยของ "พ่อ"
ศูนย์เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง

ติดต่อเรา

มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ
เลขที่ ๑๑๔ ซอย บี ๑๒ หมู่บ้านสัมมากร สะพานสูง กรุงเทพฯ ๑๐๒๔๐
สำนักงาน ๐๒-๗๒๙๔๔๕๖ (แผนที่)
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง 038-198643 (แผนที่)


User login

เมื่อ ชาวนา ลุกขึ้นมาสร้าง มหาวิทยาลัย (2)

  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_handler_argument::init() should be compatible with views_handler::init(&$view, $options) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_argument.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter::options_validate() should be compatible with views_handler::options_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter::options_submit() should be compatible with views_handler::options_submit($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter_term_node_tid::value_validate() should be compatible with views_handler_filter::value_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/modules/taxonomy/views_handler_filter_term_node_tid.inc on line 0.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_style_default::options() should be compatible with views_object::options() in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_style_default.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_row::options_validate() should be compatible with views_plugin::options_validate(&$form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_row.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_row::options_submit() should be compatible with views_plugin::options_submit(&$form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_row.inc on line 0.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter_boolean_operator::value_validate() should be compatible with views_handler_filter::value_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter_boolean_operator.inc on line 0.

 

เมื่อ ชาวนา ลุกขึ้นมาสร้าง มหาวิทยาลัย (2)

ฉบับที่แล้วทิ้งท้ายไว้ถึงพันธะสัญญาใจของคนรัก “พ่อ” 5 กลุ่ม ที่เราเรียกว่า “เบญจภาคี” ที่ลุกขึ้นมาร่วมมือกันสร้างมหาวิทยาลัยต้นแบบ ที่จะ “คืนชีวิต” ให้กับท้องถิ่น เป็นที่พึ่งให้กับชุมชน สังคม มหาวิทยาลัยดังกล่าวกำลังจะเกิดขึ้นจริงในจังหวัดสระแก้ว

เบญจภาคีที่ว่าประกอบด้วย ภาคประชาชนที่มาจากกลุ่มคนต่างๆ ในท้องถิ่น ผู้ใหญ่บ้าน ผู้เฒ่า ผู้แก่ ชาวบ้านที่เป็นชาวนา ชาวไร่ หน่วยงานต่างๆ ที่ชาวบ้านเป็นคนจัดตั้งขึ้น รวมทั้ง ปราชญ์ชาวบ้าน และสื่อสร้างสรรค์เพื่อชุมชนประเภทต่างๆ ส่วนภาครัฐที่มีบทบาทนำ คือ กศน จังหวัดสระแก้ว ภาคประชาสังคมได้แก่ มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ ภาควิชาการที่เป็นตัวจักรสำคัญในขบวนเคลื่อนนี้ที่น่าตบมือให้คือ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ส่วนภาคเอกชนที่ขานรับอุดมการณ์อย่างคึกคัก คล่องแคล่วทั้งแนวคิด และเงินทุนนี้คือ

บริษัท เคเอสแอลการเกษตร คนทั้ง 5 กลุ่มต่างเห็นพ้องร่วมกันใน 5 แนวคิดการสร้างมหาวิทยาลัยเพื่อชาวบ้านว่าต้องอยู่บนพื้นฐาน 1 เน้นการเคารพกฎธรรมชาติ 2 พึ่งพาอาศัยกันอย่างเอื้ออาทร 3 ยึดถือวิถีจริยธรรม 4 ใช้ฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และที่สำคัญที่สุด 5 ผลทั้งมวลต้องตกอยู่กับชุมชน โดยยึดหลักที่ “พ่อหลวง” ของพวกเราทำมาตลอดชีวิตพระองค์ท่าน คือ “การพัฒนาคน" เพราะ “คน” คือหัวใจของการพัฒนาชาติ พัฒนาชุมชน เมื่อ “คน” คือ หัวใจหลัก ของการพัฒนา จึงต้องตั้งคำถามว่า เราต้องการ  “คน” แบบไหน  ที่จะออกมาจากระบบมหาวิทยาลัยทางเลือกของเรา เพื่อให้ “คน” ที่ว่านี้เป็น “ที่พึ่ง” ของชุมชนได้อย่างมั่นคง ถาวร ถ้าการศึกษา คือ ขบวนการ “หล่อหลอม” อย่างหนึ่ง และ “คน” ก็คือผลิตผลของขบวนการหล่อหลอมนั้น แล้วเราต้องการ “ผลิตผล” ที่ออกมาจากเบ้าหลอมนั้นให้มีหน้าตาอย่างไร  ตัว “เบ้าหลอม” ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร และ “วัตถุดิบตั้งต้น” ก่อนเข้าเบ้าหลอมนั้น ต้องมีคุณลักษณะ และ มีการคัดสรรมาอย่างไร

ผลิตผล คน ของ มหาวิทยาลัยเพื่อชุมชน นี้้จะต้องเป็นคนมี “วิถีจริยธรรม” ที่รักชุมชน รักสังคม รักประเทศ และรักมนุษยชาติ กอรปด้วยจิตวิญญาณนักพัฒนา มีความเพียร อดทน อดกลั้น ซื่อสัตย์ สุจริต มีเหตุมีผล ยึดมั่นในคุณธรรม และที่สำคัญรู้จักนำพาท้องถิ่นให้เจริญเติบโตก้าวหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืน

เราเริ่มต้นปั้นคนที่ความคิด ฝึกจิตให้มั่นคง หลังจากนั้นก็ลงหลักปักฐาน ความ “เป็นงาน” สร้าง “ทักษะชีวิต” ที่จำเป็น เช่นการกิน การอยู่  การดำรงชีวิต อย่างพอเพียงและพึ่งตนเอง ทักษะชีวิตที่จำเป็นอย่างน้อย 11 ทักษะที่ถือเป็นฐานของชีวิตในท้องถิ่น มีดังนี้

1 รู้จักปลูกข้าว 2 รู้จักทำปุ๋ยอินทรีย์ 3 รู้จักปลูกผัก 4 รู้จักสมุนไพร ยาพื้นบ้าน 5 รู้จักผลิตข้าวของเครื่องใช้พื้นฐาน เช่น น้ำยาซักผ้า น้ำยาถูพื้น น้ำยาล้างจาน 6 รู้จักฟื้นฟูเพาะพันธุ์พืช 7 รู้จักปลูกป่า 3 อย่าง 8 รู้จักเผาถ่าน และผลิตน้ำส้มควันไม้ 9 รู้จักบำบัดน้ำเสีย เปลี่ยนขยะให้กลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ 10 รู้จักผลิตไบโอดีเซล หรือพลังงานทดแทนให้กับชุมชน 11 รู้จักเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ปศุสัตว์ รวมทั้ง ความรู้ ด้านการอนุรักษ์ดิน อนุรักษ์น้ำ และสิ่งแวดล้อมของชุมชน

นอกจากต้อง “เป็นงาน” ที่เป็นพื้นฐานการใช้ชีวิตชุมชนแล้ว “ผลิตผล” ที่ออกจาก “เบ้าหลอม” มหาวิทยาลัยทางเลือกนี้ ยังต้องเป็น ผู้ “ชาญวิชา” ที่มีความสามารถเชี่ยวชาญในทักษะใดทักษะหนึ่งเป็นพิเศษ เป็นผู้ชำนาญการที่จะพัฒนาองค์ความรู้เฉพาะที่ตนถนัดให้แตกฉาน ถึงขั้น “ปราชญ์” อีกไม่นานเราจะได้เห็น ปราชญ์ผู้เยาว์ด้านสมุนไพร ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การเพาะพันธุ์ไม้ การผลิตพลังงาน เป็นต้น เป็นที่พึ่งทางปัญญาของท้องถิ่น สร้างภูมิคุ้มกันให้ท้องถิ่น และนำพาเศรษฐกิจที่เริ่มต้นจาก “ความพอเพียง” ของท้องถิ่นให้ก้าวหน้าเป็นลำดับขั้นต่อไป สิ่งที่จะไม่เกิดขึ้นกับ ผู้ “ชาญวิชา” เหล่านี้ คือ การละทิ้งถิ่นฐานเพื่อไปหาความเจริญก้าวหน้าเพื่อประโยชน์ส่วนตน เรากล้าให้หลักประกันหรือว่า “เบ้าหลอม” ที่เรากำลังพูดถึงนี้มีประสิทธิภาพสูงขนาดที่จะสามารถสร้าง “ปราการ” ป้องกันการละทิ้งถิ่นฐานของ เยาวชนคนหนุ่มสาว ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่น่าพึงประสงค์ แต่ทว่า กลายเป็นเรื่องธรรมดาที่ทุกคนต้องยอมรับเพราะหาทางออกไม่ได้เสียแล้ว ฉบับหน้าเราจะมาเจียระไนว่า “เบ้าหลอม” ของมหาวิทยาในฝันของพวกเรา มี “ความแตกต่าง” ที่กล้าพูดได้ว่า “แตกต่างอย่างสิ้นเชิง” กับ เบ้าหลอมของมหาวิทยาลัยในระบบทั่วไปอย่างไร

แหล่งที่มา: 
คม ชัด ลึก 20 มกราคม 2550