โพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยของ "พ่อ"
ศูนย์เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง

ติดต่อเรา

มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ
เลขที่ ๑๑๔ ซอย บี ๑๒ หมู่บ้านสัมมากร สะพานสูง กรุงเทพฯ ๑๐๒๔๐
สำนักงาน ๐๒-๗๒๙๔๔๕๖ (แผนที่)
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง 038-198643 (แผนที่)


User login

ตามรอย “พ่อ” 5

  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_handler_argument::init() should be compatible with views_handler::init(&$view, $options) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_argument.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter::options_validate() should be compatible with views_handler::options_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter::options_submit() should be compatible with views_handler::options_submit($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter_term_node_tid::value_validate() should be compatible with views_handler_filter::value_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/modules/taxonomy/views_handler_filter_term_node_tid.inc on line 0.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_style_default::options() should be compatible with views_object::options() in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_style_default.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_row::options_validate() should be compatible with views_plugin::options_validate(&$form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_row.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_row::options_submit() should be compatible with views_plugin::options_submit(&$form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_row.inc on line 0.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter_boolean_operator::value_validate() should be compatible with views_handler_filter::value_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter_boolean_operator.inc on line 0.

ตามรอย “พ่อ” 5

เราได้พูดถึงการทบทวน และปรับฐานการเรียนรู้ “ทฤษฎีใหม่” โดยยกตัวอย่างของโรงเรียน และมหาวิทยาลัยที่อยู่ “ในระบบ” ใน 2 ฉบับที่แล้ว วันนี้ขอหยิบยกบทบาท และภาระหน้าที่ของการศึกษา “นอกระบบ” ที่มีต่อการขับเคลื่อนองค์ความรู้ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

เมื่อพูดถึงการศึกษา “นอกระบบ” ทุกคนคงพุ่งเป้าไปที่ “กศน” การศึกษานอกโรงเรียน ที่เปิดโอกาสให้คนทุกระดับชั้น อายุ เพศ ได้เข้ามาศึกษาหาความรู้อย่างต่อเนื่อง เสียดายที่ “กศน” ปัจจุบันเหมือน “ลูกเมียน้อย” ภายในกระทรวงศึกษา ที่ถูกละเลยทอดทิ้ง ไม่ค่อยได้รับความสำคัญสักเท่าไหร่ ทั้งที่ยุทธศาสตร์ของการขับเคลื่อนเพื่อสร้างองค์ความรู้ ตามแนวทฤษฎีใหม่ จะละเลย “กลุ่มคน” ที่อยู่ภายใต้การดูแลของ “กศน” ไม่ได้เลย นักเรียน “กศน” มาจากหลากหลายอาชีพ หลากหลายพื้นฐาน และหลากหลายวัย กระจายอยู่ทั่วประเทศ “หลายคน” เป็นแหล่ง “ภูมิปัญญา” ท้องถิ่นที่ควรได้รับการดูแล ทำนุบำรุง และปกปักรักษา และการได้รับรู้ “ทฤษฎีใหม่เศรษฐกิจพอเพียง“ จะเป็นการสร้าง “ภูมิคุ้มกัน” ที่ดีเยี่ยมทั้งของท้องถิ่นและสังคมโดยรวม

ขอยกตัวอย่าง ขบวนการขับเคลื่อนปรับฐานการเรียนรู้ตามแนว “ทฤษฎีใหม่” ของผู้อำนวยการและครู กศน. จังหวัดสระแก้วร่วม 100 ชีวิต ที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรกสิกรรมธรรมชาติและเศรษฐกิจพอเพียง จากศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง ภายใต้มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ ทุกชีวิตที่ผ่านการฝึกอบรมได้เกิดเป็นแรงบันดาลใจ พลังใจที่จะร่วมกัน “สร้างภูมิคุ้มกัน” ให้กับท้องถิ่นของตนเองในจังหวัดสระแก้ว ซึ่งถือว่าเป็นจังหวัดที่มีความแห้งแล้งมากที่สุดจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย

โดยการกลับไป “ปลูกป่า” “จัดระบบอนุรักษ์น้ำ” “อนุรักษ์ดิน” แปรการเพาะปลูกจาก “เคมี” มาเป็น “เกษตรอินทรีย์” หัดพึ่งตนเองด้าน “พลังงาน” ผลิตตำรา “กศน” จาก “ชีวิตจริง” ที่ไม่ต้องอิง “ตำราฝรั่ง” มี “ครู” ที่พัฒนาองค์ความรู้จากการปฏิบัติจริงไม่ใช่แค่ได้ดีกรีจากการท่องตำราอย่างเดียว หาก “กศน” ทุกส่วนที่กระจายอยู่ทั่วประเทศร่วมกัน “สร้างภูมิคุ้มกัน” แบบนี้  มีองค์ความรู้ที่แน่นหนา ลึกซึ้ง ควบคู่กับ “คุณธรรม” ดำเนินชีวิตที่ พอเพียง รู้จักตนเอง รู้จักความพอดี เราคงเห็น “ทางรอด” ของสังคมได้ไม่ยากนัก

การศึกษา “นอกโรงเรียน” อีกระบบหนึ่งที่ทรงพลังยิ่ง ยากที่ใครจะปฏิเสธได้นั้นคือ “สื่อ” ดูเหมือน “สื่อ” จะมีอิทธิพลกับชีวิต วิธีคิด และจิตสำนึกมากกว่า หรือพอ ๆ กับการศึกษาในระบบด้วยซ้ำ ทั้ง สื่อวิทยุ ทีวี สิ่งพิมพ์ สื่อดิจิตัล อินเตอร์เน็ท ที่ “ถาโถม” ใส่เราทั้งวันทั้งคืนอย่างไม่มีวันหยุด ลองจินตนาการว่า หาก “สื่อ” ทั้งหมดถูกเบนเข็มมาเป็นการ “ให้ความรู้“ “สร้างคุณธรรม” ตามแนว “ทฤษฎีใหม่” ขบวนการเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงก็จะถือว่า “ครบ” สมบูรณ์อย่างที่สุด แต่น่าเสียดายที่ “สื่อ” เพื่อนำเสนอแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงถูกใช้อย่างผิวเผิน และ ถูกใช้เพื่อผล “ทางการค้า” เพื่อให้ดูว่า เจ้าของผลิตภัณฑ์ของสินค้านั้นไม่ “ตกขอบ” เข้าร่วมขบวนการเชิดชูปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนกัน  ดูแล้วก็ตลกที่ “สินค้า” หลายชนิดนำเสนอชีวิตที่ “พอเพียง” แต่ต้องบินข้ามประเทศ แปะยี่ห้อ Made in USA แถมต้องจ่ายในราคาหลักหลายพัน บางยี่ห้อก็เป็นหลักหมื่น ส่วน “สื่อ” ของรัฐที่ใช้เงินภาษีจากประชาชน โฆษณาประชาสัมพันธ์ ชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงแบบ “ตาบอดคลำช้าง” “ยิงไม่ถูกเป้า” “เกาไม่ถูกที่คัน” มองไม่เห็นภาพว่าจะนำเอาชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตจริงอย่างไร  ดูจะเป็นสื่อที่ทำตาม “กระแส” เสียมากกว่า

อันที่จริง เครือข่ายภาคประชาชนได้ผลิตสื่อที่ “กระชากใจ” ปลุกจิตสำนึก “ชีวิตที่พอเพียง” ออกมามากมาย ถ้าจะลองมาศึกษาดูเป็นตัวอย่าง ก็ไม่ว่ากัน

แหล่งที่มา: 
คม ชัด ลึก 6 มกราคม 2550