โพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยของ "พ่อ"
ศูนย์เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง

ติดต่อเรา

มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ
เลขที่ ๑๑๔ ซอย บี ๑๒ หมู่บ้านสัมมากร สะพานสูง กรุงเทพฯ ๑๐๒๔๐
สำนักงาน ๐๒-๗๒๙๔๔๕๖ (แผนที่)
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง 038-198643 (แผนที่)


User login

ตามรอยเท้า ”พ่อ” 4

  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_handler_argument::init() should be compatible with views_handler::init(&$view, $options) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_argument.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter::options_validate() should be compatible with views_handler::options_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter::options_submit() should be compatible with views_handler::options_submit($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter_term_node_tid::value_validate() should be compatible with views_handler_filter::value_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/modules/taxonomy/views_handler_filter_term_node_tid.inc on line 0.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_style_default::options() should be compatible with views_object::options() in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_style_default.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_row::options_validate() should be compatible with views_plugin::options_validate(&$form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_row.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_row::options_submit() should be compatible with views_plugin::options_submit(&$form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_row.inc on line 0.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter_boolean_operator::value_validate() should be compatible with views_handler_filter::value_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter_boolean_operator.inc on line 0.

ตามรอยเท้า "พ่อ" 4

ฉบับที่แล้ว เรากล่าวถึงการ “ให้” และการ “สร้าง” ความรู้ที่มีอยู่ทั้ง “ในระบบ” และ “นอกระบบ” การศึกษาที่ต้องทบทวนกันใหม่ วชิราวุธวิทยาลัยกำลังทำการทบทวน และปรับ “ฐาน” รวมทั้ง “วิธีการเรียนรู้” กันใหม่ทั้งระบบ และกำลังเป็นตัวอย่างความสำเร็จของการสร้าง “ความรู้ คู่คุณธรรม” อันเป็นหัวใจหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในระดับโรงเรียนมัธยม

ฉบับนี้ขอกล่าวถึง ขบวนการ ทบทวน และ การปรับฐานการสร้าง องค์ความรู้ตามทฤษฎีใหม่ ของภาคการศึกษา “ในระบบ”  อีกแห่งหนึ่งที่มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์ บางคล้า ฉะเชิงเทรา  นาม “ราชภัฎ”  แปลว่า “คนของพระราชา”  ที่พระองค์ท่านทรงพระราชทานให้กับมหาวิทยาลัยราชภัฎทั่วประเทศ 40 แห่ง โดยเฉพาะที่มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์ซึ่งได้ปารวณาตัวว่าเป็น “มหาวิทยาลัยของพ่อ” ที่มุ่งมั่นน้อมนำเอาศาสตร์ทุกศาสตร์ของ “พ่อ” มาใช้ในการบริหารจัดการเพื่อให้เป็น มหาวิทยาลัยแห่งการเรียนรู้ ปกปัก รักษา และทำนุบำรุงภูมิปัญญาท้องถิ่น พร้อมกันนี้ก็นำเอาแนวคิด จาก”ภูผา สู่ มหานที” ของศูนย์ภูมิรักษ์มาดัดแปลงตามลักษณะ “ภูมิสังคม” ของท้องถิ่นภาคตะวันออกที่มหาวิทยาลัยตั้งอยู่ และจำลองเป็นสถาปัตยกรรมผ่านแนวคิด “จากเขาใหญ่ ผ่านทุ่งข้าว สู่อ่าวไทย (Green Zone-Golden Zone-Blue Zone) ที่สะท้อนความอุดมสมบูรณ์ของท้องถิ่นภาคตะวันออก  อีกไม่นานที่เราจะได้เห็นสถาปัตยกรรม “จำลอง” ที่เต็มไปด้วยชีวิต ณ สถาบันแห่งนี้ อาจกล่าวได้ว่า ราชภัฎราชนครินทร์ เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกที่จัดตั้ง “ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ” ขึ้นและกำลังสร้างฐานการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น 9 ฐานอันประกอบด้วย

1 คนมีน้ำยา              2 คนเอาถ่าน

3 คนติดดิน               4 คนมีไฟ

5 คนรักแม่                6 นาข้าวอินทรีย์ โรงสีข้าว

7 ไบโอดีเซล            8 การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

9 ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง

นอกจากนี้ยังตั้งเป้าหมายที่จะเป็นศูนย์รวมความรู้ศาสตร์ด้านเศรษฐกิจพอเพียงของประเทศ ไม่เพียงเท่านี้ ราชภัฎราชนครินทร์ ยังเป็นผู้นำในการประสานความร่วมมือจาก 5 ภาคี (ราชการ เอกชน ประชาชน วิชาการ และ เอ็นจีโอ) ในการพัฒนาท้องถิ่น และการจัดการองค์ความรู้ของท้องถิ่นภาคตะวันออกอย่างยั่งยืน

อีกสถาบันอุดมศึกษาหนึ่งที่ควรค่าแก่การกล่าวถึงในการทำหน้าที่ปกปักการรักษา “องค์ความรู้ท้องถิ่น” คือ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่กำลังดำเนินโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยชุมชน โดยการรวบรวม “ปราชญ์ชาวบ้าน” รวบรวม “ราก” ความรู้ที่กระจัดกระจายของ “ท้องถิ่น” มาจัดเก็บ มาเจียระไนให้ตกผลึก และ “สานความรู้” พร้อมทั้ง “ส่งผ่านความรู้” ของบรรพบุรุษเราที่ทรงคุณค่าให้กับเยาวชน รุ่นต่อรุ่น นอกจากจะเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมองค์ความรู้ท้องถิ่น แล้ว มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒยังสร้างบทบาทนำในการ “ยกย่อง” ปราชญ์ชาวบ้าน ให้ได้รับการยอมรับในวิทยฐานะ องค์ความรู้แห่งประสบการณ์จากชีวิตจริงให้เทียบเทียมกับ “ปริญญา” ที่เล่าเรียนกันในมหาวิทยาลัย  อีกไม่ช้าเราจะมี “ใบปริญญา" ให้ “ปราชญ์ชาวบ้าน” และมี ปราชญ์ชาวบ้าน เป็น “อาจารย์” เป็น “ศาสตราจารย์” ที่ได้รับการยกย่องเชิดชูจากสังคม

อีกโครงการหนึ่งของมหาวิทยาลัยที่น่าได้รับการสนับสนุนคือ โครงการ ”ครูวิทยาศาสตร์คืนถิ่น” เป็นโครงการที่สนับสนุนและฝึกให้นักเรียนจากชุมชน เรียนปริญญาตรีทางวิทยาศาสตร์และกลับไปทำงานให้กับท้องถิ่นหลังจบการศึกษา จุดเด่นของโครงการคือ การไปคลุกคลีเรียนรู้กับปราชญ์ชาวบ้านในชุมชนจริง ๆ การประยุกต์ความรู้ เทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์ให้เข้ากับท้องถิ่น และดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

อีกไม่นานเกินรอ เราจะได้เห็นสิ่งดีๆ เกิดขึ้นในสังคมจากการขับเคลื่อนของภาคการศึกษาในการเดินตามรอย “พ่อ”

แหล่งที่มา: 
คม ชัด ลึก 30 ธันวาคม 2549